Share to:

 

เทศบาลเมืองพัทลุง

เทศบาลเมืองพัทลุง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Mueang Phatthalung
เขาอกทะลุ
เขาอกทะลุ
ทม.พัทลุงตั้งอยู่ในจังหวัดพัทลุง
ทม.พัทลุง
ทม.พัทลุง
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองพัทลุง
ทม.พัทลุงตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทม.พัทลุง
ทม.พัทลุง
ทม.พัทลุง (ประเทศไทย)
พิกัด: 7°37′06″N 100°04′23″E / 7.61833°N 100.07306°E / 7.61833; 100.07306
ประเทศ ไทย
จังหวัดพัทลุง
อำเภอเมืองพัทลุง
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีวาทิต ไพศาลศิลป์
พื้นที่
 • ทั้งหมด13.34 ตร.กม. (5.15 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)[1]
 • ทั้งหมด35,039 คน
 • ความหนาแน่น2,626.61 คน/ตร.กม. (6,802.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04930102
ที่อยู่
สำนักงาน
49 ถนนสุรินทร์ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 93000
เว็บไซต์www.phatthalungcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

พัทลุง เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งที่เป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลต่าง ๆ ในอำเภอเมืองพัทลุง ได้แก่ ตำบลคูหาสวรรค์ทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลเขาเจียก ตำบลท่ามิหรำ ตำบลปรางหมู่ ตำบลลำปำ ตำบลตำนาน และตำบลควนมะพร้าว ในปี พ.ศ. 2557 เทศบาลเมืองพัทลุงมีประชากร 35,039 คน

ประวัติ

เทศบาลเมืองพัทลุงจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2479[2] มีพื้นที่แรกเริ่ม 3.068 ตารางกิโลเมตร โดยมีคณะผู้บริหารชุดแรกที่มาจากการแต่งตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 โดยมีหลวงสาราลักษณ์ประพันธ์เป็นนายกเทศมนตรีคนแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ได้มีการขยายเขตความรับผิดชอบของเทศบาลโดยพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2523 มีผลทำให้เทศบาลเมืองพัทลุงมีพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 13.342 ตารางกิโลเมตร[3]

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้งและอาณาเขต

เทศบาลเมืองพัทลุงอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 เป็นระยะทางประมาณ 858 กิโลเมตร และตามเส้นทางรถไฟ ระยะทางประมาณ 846 กิโลเมตร ปัจจุบัน มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 13.342 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้[3]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลเขาเจียก ตำบลปรางหมู่ ตำบลพญาขัน และตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับทะเลสาบลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลลำปำ ตำบลควนมะพร้าว ตำบลตำนาน และตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลเขาเจียก และตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง

ภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงและบริเวณพื้นที่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเขตผังเมืองรวมเมืองพัทลุง มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบต่ำกว้างใหญ่รอบทะเลสาบ ส่วนที่เป็นทะเลหลวงมีพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 0-15 เมตร[3]

ภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศมี 2 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 29.3 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 26.7 องศาเซลเซียส ในเดือนธันวาคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 28.14 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ระหว่าง 75-83 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉลี่ย 78.7 เปอร์เซ็นต์ และความเร็วลมประมาณ 1-2 เมตรต่อวินาที ปริมาณการระเหยของน้ำประมาณ 3.3-5.5 มิลลิเมตรต่อวัน[3]

อ้างอิง

  1. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองพัทลุง". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53: 1294–1299. 14 มีนาคม 2479.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 ข้อมูลทั่วไป เทศบาลเมืองพัทลุง

แหล่งข้อมูลอื่น

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya