เทศบาลเมืองหนองคาย เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมืองในอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาแม่น้ำโขงและมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาว โดยมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว เชื่อมต่อจากเมืองหนองคายไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ เทศบาลเมืองหนองคายเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดหนองคาย มีพื้นที่ 35.15 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 47,949 คน[1] ทำให้เป็นเทศบาลที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัดหนองคาย
ประวัติ
เทศบาลเมืองหนองคายจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2478 ตามพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งเทศบาลเมืองหนองคาย มีพื้นที่ประมาณ 4.5 ตารางกิโลเมตร[2] ต่อมาคงเหลือประมาณ 3.2 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากเขตเทศบาลส่วนหนึ่งติดกับแม่น้ำโขง เมื่อถึงฤดูฝนระดับน้ำขึ้นสูงและเชี่ยวมาก เป็นเหตุให้ริมตลิ่งพังลงน้ำ จึงทำให้พื้นที่ของเทศบาลน้อยลงทุกปี
สำนักงานเทศบาลเมืองหนองคายเดิมตั้งอยู่ถนนมีชัย โดยเช่าห้องแถวชั้นเดียวอยู่ติดกับบ้านพักปลัดจังหวัดทางด้านตะวันออก ตรงข้ามธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ จำกัด (ปัจจุบันได้รื้อออกปลูกสร้างใหม่เป็นอาคารพาณิชย์) ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 ได้ย้ายสำนักงานมาอยู่ที่ปัจจุบัน เลขที่ 251 ถนนประจักษ์ศิลปาคม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองหนองคาย เดิมเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวซึ่งเป็นอาคารโรงเรียนช่างไม้ของเทศบาล ในปี พ.ศ. 2499 ได้ก่อสร้างสำนักงานใหม่เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ทรงไทย ตามแบบแปลนของกรมโยธาธิการ จากเงินกู้ ก.ส.ท. 420,000 บาท
เมื่อปี พ.ศ. 2537 ได้ขอขยายเขตจากเดิม 3.2 ตารางกิโลเมตรเป็น 35.13 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 7 ตำบล คือ ตำบลในเมือง ตำบลมีชัย บางส่วนของตำบลโพธิ์ชัย บางส่วนของตำบลหาดคำ ตำบลกวนวัน ตำบลเมืองหมี และบางส่วนของตำบลหนองกอมเกาะ ประกอบด้วย 43 ชุมชน[3]
ที่ตั้งและอาณาเขต
เทศบาลเมืองหนองคายตั้งอยู่ริมฝั่งขวาแม่น้ำโขง ในอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ จรดแม่น้ำโขง ติดต่อกับเมืองหาดทรายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลหาดคำ
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลโพธิ์ชัย และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกอมเกาะ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี และเทศบาลตำบลกวนวัน
สัญลักษณ์
ดวงตราเทศบาลเมืองหนองคายเป็นดวงตรารูปวงกลมซ้อนกันสองชั้นวงในด้านขวามือมีรูปกอไผ่อยู่ในหนองน้ำด้านซ้ายมือมีรูปพระธาตุ ตรงกลางมีหนองน้ำและดอกบัว ด้านหลังมีภูเขาและก้อนเมฆอยู่ ส่วนวงนอกมีข้อความรอบรูปด้านบนว่า "เทศบาลเมืองหนองคาย" และด้านล่างมีข้อความว่า "จังหวัดหนองคาย"
การขนส่ง
การคมนาคมขนส่งในเขตเทศบาล
- การคมนาคมทางบก สามารถให้บริการได้ 2 เส้นทาง คือ
- เส้นทางคมนาคมทางรถไฟ เป็นเส้นทางการคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดหนองคาย - กรุงเทพฯระยะทาง 642 กิโลเมตร และมีเส้นทางคมนาคมติดต่อเชื่อมไปยังบ้านท่านาแล้ง เมืองหาดทรายฟอง แขวงกำแพงนครเวียงจันทน์ สปป.ลาว
- เส้นทางคมนาคมทางรถยนต์ เป็นเส้นทาง 4 ช่องจราจร เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดหนองคาย – กรุงเทพฯระยะทาง 615 กิโลเมตร และมีเส้นทางคมนาคมติดต่อเชื่อมไปยังบ้านท่านาแล้ง เมืองหาดทรายฟอง แขวง กำแพงนครเวียงจันทน์ สปป.ลาว ผ่านสะพานมิตรภาพไทย – ลาว
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 หรือ ถนนมิตรภาพ
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 หรือ ถนนชยางกูร
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 233 หรือ ถนนมิตรภาพสายเก่า
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 242 หรือ ถนนพนังชลประทาน
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 243 หรือ ถนนเสด็จ
และมีถนนสายหลัก 4 สาย คือ ถนนมีชัย ถนนประจักษ์ศิลปาคม ถนนแก้ววรวุฒิ และถนนพนังชลประทานเป็นถนนเรียบแนวเขตเทศบาลเมืองหนองคาย และมีถนนสายสั้น ๆ ที่เรียบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงตลอดแนวริมฝั่งแม่น้ำโขง มีการปรับปรุงพื้นที่เป็นพื้นที่นันทนาการ ชมทัศนียภาพของแม่น้ำโขงและประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
จุดผ่านแดนที่ติดต่อกับประเทศลาว
ในเขตเทศบาลเมืองหนองคายมีจุดผ่านแดน 2 จุด คือ
- จุดผ่านแดนด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ระหว่างอำเภอเมืองหนองคายและนครหลวงเวียงจันทน์
- จุดผ่านแดนด่านท่าเสด็จ ระหว่างอำเภอเมืองหนองคายและกำแพงนครเวียงจันทน์
การคมนาคมทางน้ำ
ใช้แม่น้ำโขงสำหรับขนส่งถ่ายสินค้าและคนโดยสารข้ามฟากระหว่างไทย-ลาว มีท่าเรือ 1 จุดคือ ท่าเรือหายโศก
การคมนาคมทางอากาศ
ปัจจุบันจังหวัดหนองคายไม่มีท่าอากาศยาน การเดินทางโดยเครื่องบินจึงต้องไปใช้ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีของจังหวัดอุดรธานี ซึ่งอยู่ห่างกับจังหวัดหนองคายประมาณ 54 กิโลเมตร และบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)ได้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย โดยจัดให้มีรถยนต์บริการรับส่งระหว่างจังหวัดหนองคายกับท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ตลอดจนมีการให้บริการจำหน่ายตั๋วสำรองที่นั่งในพื้นที่จังหวัดหนองคาย
การปกครอง
ประชากรเทศบาลเมืองหนองคายแบ่งตามปีปี | ประชากร | ±% |
---|
2536 | 25,451 | — |
---|
2539 | 45,892 | +80.3% |
---|
2542 | 48,646 | +6.0% |
---|
2545 | 48,367 | −0.6% |
---|
2548 | 47,564 | −1.7% |
---|
2551 | 49,104 | +3.2% |
---|
2554 | 48,267 | −1.7% |
---|
2557 | 48,274 | +0.0% |
---|
2560 | 47,949 | −0.7% |
---|
ที่มา: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย |
เทศบาลเมืองหนองคายมีเนื้อที่ 35.15 ตารางกิโลเมตร มีเขตเทศบาลครอบคลุมพื้นที่ 7 ตำบลของอำเภอเมืองหนองคาย ได้แก่ ตำบลในเมืองและตำบลมีชัยทั้งตำบล รวมทั้งบางส่วนของตำบลโพธิ์ชัย ตำบลกวนวัน ตำบลหาดคำ ตำบลหนองกอมเกาะ และตำบลเมืองหมี
ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองหนองคายประกอบด้วย 43 ชุมชน ดังตารางข้างล่าง ซึ่งใน 43 ชุมชนนี้ ชุมชนที่อยู่บริเวณเขตตำบลในเมืองทั้งหมด และตำบลหาดคำบางส่วนที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย
ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย
|
ลำดับที่ |
ชุมชน |
หมู่ที่ |
ตำบล
|
1 |
ชุมชนมีชัย |
1 |
ในเมือง
|
2 |
ชุมชนชัยพร |
2 |
ในเมือง
|
3 |
ชุมชนหายโศก |
3 |
ในเมือง
|
4 |
ชุมชนศรีชื่นชม |
4 |
ในเมือง
|
5 |
ชุมชนศีรษะเกษ - ศรีเมือง |
5 , 6 |
ในเมือง
|
6 |
ชุมชนศรีคุณเมือง - ลำดวน |
7 , 8 |
ในเมือง
|
7 |
ชุมชนศรีสุมังคล์ |
9 |
ในเมือง
|
8 |
ชุมชนโพธิ์ชัย - ศรีบุญเรือง |
10 |
ในเมือง
|
9 |
ชุมชนหอก่อง |
11 |
ในเมือง
|
10 |
ชุมชนยอดแก้ว |
12 |
ในเมือง
|
11 |
ชุมชนสระแก้ว |
13 |
ในเมือง
|
12 |
ชุมชนโพธิ์ศรี |
14 |
ในเมือง
|
13 |
ชุมชนป่าหลวง |
15 |
ในเมือง
|
14 |
ชุมชนป่าพร้าว |
16 |
ในเมือง
|
15 |
ชุมชนวัดธาตุ |
17 |
ในเมือง
|
16 |
ชุมชนจอมมณี |
1 |
มีชัย
|
17 |
ชุมชนมีชัยเหนือ |
2 |
มีชัย
|
18 |
ชุมชนดอนแดงเหนือ |
3 |
มีชัย
|
19 |
ชุมชนดอนแดงใต้ |
4 |
มีชัย
|
20 |
ชุมชนดอนโพธิ์ |
5 |
มีชัย
|
21 |
ชุมชนบ้านเหล่า |
6 |
มีชัย
|
22 |
ชุมชนโคกแมงเงา - สามัคคี |
7 , 8 |
มีชัย
|
23 |
ชุมชนดอนกลาง |
9 |
มีชัย
|
24 |
ชุมชนบ้านเนินพระเนาว์ |
4 |
โพธิ์ชัย
|
25 |
ชุมชนดอนมน |
5 |
โพธิ์ชัย
|
26 |
ชุมชนบ่อหิน |
9 |
โพธิ์ชัย
|
27 |
ชุมชนเนินสวรรค์ |
10 |
โพธิ์ชัย
|
28 |
ชุมชนกุดแห่ |
11 |
โพธิ์ชัย
|
29 |
ชุมชนหนองบัว |
1 |
กวนวัน
|
30 |
ชุมชนหนองบัวทอง |
7 |
กวนวัน
|
31 |
ชุมชนวัดธาตุใต้ |
1 |
หาดคำ
|
32 |
ชุมชนสามัคคี |
5 |
หาดคำ
|
33 |
ชุมชนดอนสวรรค์ |
9 |
หาดคำ
|
34 |
ชุมชนเนินหงส์ทอง |
10 |
หาดคำ
|
35 |
ชุมชนจอมเสด็จ |
11 |
หาดคำ
|
36 |
ชุมชนสวนอ้อย |
12 |
หาดคำ
|
37 |
ชุมชนหนองไผ่ |
13 |
หาดคำ
|
38 |
ชุมชนดอนดู่ |
1 |
หนองกอมเกาะ
|
39 |
ชุมชนนาไก่ |
2 |
หนองกอมเกาะ
|
40 |
ชุมชนนาทา - โนนธาตุ |
5 , 6 |
หนองกอมเกาะ
|
41 |
ชุมชนหนองขาม |
10 |
หนองกอมเกาะ
|
42 |
ชุมชนหนองเดิด |
6 |
เมืองหมี
|
43 |
ชุมชนเคหะเอื้ออาทร |
11 |
หาดคำ
|
การศึกษา
- สถาบันอาชีวศึกษา
- สถาบันของรัฐ ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคหนองคาย, วิทยาลัยอาชีวศึกษาหนองคาย, วิทยาลัยการอาชีพหนองคาย และวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองหนองคาย
- สถาบันของเอกชน ได้แก่ วิทยาลัยเทคโนโลยีอาเซียน ,วิทยาลัยเทคโนโลยีเอเชีย และโรงเรียนเจมส์บริหารธุรกิจ
- โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองหนองคาย
- โรงเรียนเทศบาล 1 สว่างวิทยา
- โรงเรียนเทศบาล 2 ชำนาญอนุเคราะห์
- โรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง
- โรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน
- โรงเรียนเทศบาล 5 มีชัยวิทยา
- โรงเรียนมัธยม สพม.เขต 21
- โรงเรียนประถม สพป.นค.เขต 1
- โรงเรียนอนุบาลหนองคาย
- โรงเรียนอนุบาลอรุณรังษี
- โรงเรียนเนินพระเนาว์วิทยา
- โรงเรียนบ้านโคกแมงเงา
- โรงเรียนอักษรอดุลวิทยา
|
- โรงเรียนเอกชน
- โรงเรียนฮั่วเคียวกงฮัก
- โรงเรียนอนุบาลนิจจานุเคราะห์
- โรงเรียนราชตั้งใจวิทยา
- โรงเรียนอนุบาลน้ำผึ้ง
- โรงเรียนอนุบาลสาริกา
- โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย
- โรงเรียนกีฬาจังหวัดหนองคาย
|
การท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวของเมืองหนองคายโดยหลักแล้วมาจากการเป็นจุดแวะพักกลางทางช่วงสั้น ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปและกลับจากประเทศลาว และตามเส้นทางทางหลวงสายสำคัญจะเป็นที่ตั้งของร้านค้า ธนาคาร และร้านทองจำนวนมาก ใจกลางเมืองมีตลาดท่าเสด็จหรือที่นิยมเรียกกันว่า "ตลาดอินโดจีน" เป็นแหล่งรวมสินค้าที่พลุกพล่านและมีขนาดใหญ่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ซึ่งนักท่องเที่ยวยังจะได้รับความสะดวกสบายจากที่พักหลากหลายรูปแบบที่ตั้งอยู่ในตัวเมือง ตั้งแต่ห้องพักราคาประหยัดไปจนถึงโรงแรมระดับนานาชาติอีกด้วย
แหล่งท่องเที่ยวสำคัญในเมืองหนองคาย ได้แก่
- อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ ที่เห็นในปัจจุบันนี้เป็นอนุสาวรีย์ที่จำลองขึ้นมาใหม่ ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่า (ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์และศูนย์วัฒนธรรม) ส่วนอนุสาวรีย์ดั้งเดิมนั้นตั้งอยู่ในสถานีตำรวจภูธรหนองคาย เป็นที่บรรจุอัฐิของผู้ที่เสียชีวิตในการปราบกบฏฮ่อเมื่อปี พ.ศ. 2429
- วัดโพธิ์ชัย เป็นสถานที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใส พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดหนองคาย และเป็นพระอารามหลวงประจำจังหวัดหนองคาย
- หาดจอมมณี หรือ "พัทยาอีสาน" เป็นหาดทรายริมแม่น้ำโขงเป็นระยะทางประมาณ 200 เมตร เกิดขึ้นเฉพาะช่วงหน้าแล้ง
- ถนนคนเดินเมืองหนองคาย เป็นงานถนนคนเดินที่เปิดทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 16.00น.-22.00น.ที่ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งโขง ตั้งแต่ท่าเทียบเรือหายโศก ถึง ตลาดท่าเสด็จ (ด้านหลังของตลาด) ภายในงานถนนคนเดินมีการจำหน่ายสินค้า Otop งานหัตถกรรม งานศิลปะ อาหารและเครื่องดื่ม สินค้าเบ็ดเตล็ดทั่วไปและยังมีการแสดงดนตรี การละเล่นและศิลปะพื้นบ้าน รำวงย้อนยุค รำวงบาสโลป กิจกรรมของเด็กและเยาวชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนทั่วไป
- แลนด์มาร์คเมืองหนองคาย เป็นจุดสังเกต (Landmark) แห่งใหม่ของเมืองหนองคาย ตั้งอยู่ที่บริเวณเขื่อนป้องกันตลิ่ง ถนนริมโขง อยู่ระหว่างวัดลำดวนถึงวัดศรีสุมังคล์
- ศาลาแก้วกู่ หรือ "วัดแขก" เป็นอุทยานจัดแสดงประติมากรรมทางศาสนา ผลงานของหลวงปู่บุญเหลือ สุรีรัตน์ซึ่งเป็นทั้งผู้นำทางจิตวิญญาณและประติมากร ท่านได้สร้างพระพุทธรูปปางต่าง ๆ พญานาค 7 เศียร และรูปปั้นคนครึ่งสัตว์ในตำนาน และนางอัปสรโดยผสมผสานระหว่างแนวคิดทางพระพุทธศาสนากับศาสนาฮินดูเข้าด้วยกัน
- พระธาตุหล้าหนอง หรือ "พระธาตุกลางน้ำ" เดิมเป็นพระธาตุที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงของฝั่งไทย แต่ตลิ่งได้พังลงไปในปี พ.ศ. 2160 ทำให้พระธาตุหล้าหนองจมลงไปเกือบจะอยู่กึ่งกลางของแม่น้ำโขง ปัจจุบันได้สร้างพระธาตุหล้าหนองจำลองขึ้นมา
- ตลาดสินค้าอินโดจีน หรือ "ท่าเสด็จ" หรือ "ท่าด่าน" เดินทีก่อนการสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ประชาชนจะใช้เรือในการสัญจรไปมา ทำให้มีการค้าระหว่างชายแดนกันอย่างคึกคัก ตลาดสินค้าอินโดนจีน จึงกลายเป็นด่านตรวจคนเข้าเมือง และมีจำหน่ายสินค้า ของที่ระลึกมากมายด้วย รวมไปถึงร้านอาหารต่างๆ เช่นร้านดังของจังหวัดหนองคาย อย่าง แดงแหนมเนือง
นอกจากนี้ หลายปีที่ผ่านมา เทศบาลเมืองหนองคายและสถานที่อื่น ๆ ในจังหวัดหนองคายได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางที่มีชื่อเสียงระหว่างเทศกาลวันออกพรรษา (ซึ่งเป็นช่วงเวลาเฉพาะที่ลูกไฟลึกลับหรือ "บั้งไฟพญานาค" จะพุ่งขึ้นจากแม่น้ำโขง) โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและหน่วยงานต่าง ๆ ของท้องถิ่น
เศรษฐกิจ
การอุตสาหกรรม
ลักษณะของกิจกรรมอุตสาหกรรมในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย จะเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อมในครัวเรือน มีทั้งประเภทเพื่อการบริโภคและการบริการ เช่น ผลิตและจำหน่ายอาหารพื้นเมือง ประเภทหมูยอ แหนม ร้านผลิตภัณฑ์พื้นเมือง อู่ซ่อมรถยนต์/รถจักรยานยนต์ โรงน้ำแข็งและน้ำดื่ม ร้านอาหาร ร้านอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
การเกษตรกรรม
การเกษตรกรรมภายในเขตเทศบาลเมืองหนองคายมีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะมีอยู่นอกเขตเทศบาลฯ โดยมีแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายหลักในการประกอบอาชีพ เช่น สวนผัก ไร่ข้าวโพด สวนดอกไม้ยาสูบ ผลไม้ การเลี้ยงสัตว์ และการปลูกข้าว เป็นต้น
การประกอบอาชีพอิสระ
เทศบาลเมืองหนองคายเป็นเมืองชายแดนที่มีศักยภาพในหลายด้าน จึงทำให้สามารถประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวในหลากหลายสาขาอาชีพ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น