อุทัย วุฒิกุล เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตสมาชิกวุฒิสภา และเป็นอดีตอธิบดีกรมทางหลวง
ประวัติ
อุทัย วุฒิกุล เป็นข้าราชการพลเรือนชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในกระทรวงคมนาคม อาทิ อธิบดีกรมทางหลวง[1] และเคยมีผลงานเป็นนายช่างใหญ่ผู้ควบคุมงาน ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง ที่อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก และได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติว่า "สะพานวุฒิกุล"[2][3]
ในปี พ.ศ. 2512 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาเพิ่มขึ้น เพื่อให้มีจํานวนสมาชิกสามในสี่ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งนายอุทัย วุฒิกุล ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในครั้งนั้น ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2514 อุทัย พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีการจับฉลากตามข้อบังคับว่าด้วยการจับสลากของสมาชิกวุฒิสภา แต่ก็ได้รับแต่งตั้งกลับเข้ามาแทนตำแหน่งว่าง ในวันรุ่งขึ้น[4]
อุทัย วุฒิกุล ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร ในปี พ.ศ. 2515 และพ้นจากตำแหน่งเมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ "รายนามผู้บริหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-09.
- ↑ RAth.News. เก็บถาวร 2019-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนปีที่ 17 ฉบับที่ 5 เดือนกันยายน-ตุลาคม 2561
- ↑ 10 สะพานชื่อดัง ที่มาจาก “นามสกุล” บุคคลสำคัญในไทย
- ↑ "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2020-06-09.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓, ๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๔๘ ง หน้า ๓๙๔๖, ๑๒ กันยายน ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๐๐, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำตักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๒