Share to:

 

โชคสมาน สีลาวงษ์

โชคสมาน สีลาวงษ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2542
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 (77 ปี)
พรรคการเมืองกิจสังคม (2539–2544)
เสรีธรรม (2544–2550)
รวมใจไทยชาติพัฒนา (2550–2553)
ประชาธิปัตย์ (2554–2561)
พลังพลเมืองไทย (2561)
พลังปวงชนไทย (2561–2566)
ก้าวไกล (2566–2567)

โชคสมาน สีลาวงษ์ (เกิด 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 1 สมัย และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดอุดรธานี

ประวัติ

โชคสมาน เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490[1] จบการศึกษาชั้นมัธยมปลายจาก กศน.

การทำงาน

โชคสมาน สีลาวงษ์ เป็นนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี เข้าสู่งานการเมืองระดับชาติโดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคกิจสังคม และนับเป็นสมัยเดียวที่ได้รับการเลือกตั้ง แต่แม้ว่าจะได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก แต่นายโชคสมาน กลับได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย (ชวน.1)[2] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเสรีธรรม แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

โชคสมาน เข้าร่วมงานกับพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และรับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ระบบสัดส่วน กลุ่ม 3 เป็นผู้สมัครรับลำดับแรกสังกัดพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา[3][4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ภายหลังได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[5] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง ในนามพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เขต 8 โดยการชักชวนของนายไชยยศ จิรเมธากร แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง[6]

ใน พ.ศ. 2561 นายโชคสมานได้ย้ายมาสังกัด พรรคพลังพลเมืองไทย[7] ซึ่งมีนาย สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ต่อมาปลายปี 2561 เขาได้ร่วมเปิดตัวกับพรรคพลังปวงชนไทย และรับตำแหน่งประธานยุทธศาสตร์พรรค โดยมีบุตรชาย ธราพงษ์ สีลาวงษ์ ร่วมเป็นรองหัวหน้าพรรค[8]

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 นายโชคสมาน ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคพลังปวงชนไทย แต่ได้คะแนนเพียง 100 คะแนน ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 นายโชคสมาน ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.จังหวัดอุดรธานี เขต 9 ในนามพรรคก้าวไกล แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  2. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 53 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-31. สืบค้นเมื่อ 2018-03-09.
  3. "รายชื่อผู้สมัครแบบสัดส่วน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-09-04. สืบค้นเมื่อ 2013-02-18.
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน (พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา)
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/D/017/75.PDF
  6. ‘เนวิน’หน้าแหกแพ้ราบคาบ พท.ยกพลครองอีสาน
  7. “สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์” แถลงตั้งพรรคพลังพลเมือง
  8. น้องใหม่ขอลุ้น 'พลังปวงชนไทย' มั่นใจล้มช้างอุดรธานี
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๓๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๕๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
Kembali kehalaman sebelumnya