อนุชา บูรพชัยศรี
อนุชา บูรพชัยศรี (เกิด 23 มกราคม พ.ศ. 2510) เป็นนักการเมืองชาวไทย กรรมการใน คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย (รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง[1] อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[2] รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ) ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สองสมัย เป็นนักธุรกิจที่ก้าวสู่วงการการเมืองในปี พ.ศ. 2550 ประวัตินายอนุชา บูรพชัยศรี (ชื่อเล่น : เจมส์) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนอัสสัมชัญ (รุ่นเดียวกับอนุทิน ชาญวีรกูล) มัธยมศึกษาตอนปลายจาก วิทยาลัยเซเครทฮาร์ท (Sacred Heart College) ประเทศออสเตรเลีย จากนั้นเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาบัณฑิตที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล จากมหาวิทยาลัยอเดเลด ต่อจากนั้นเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่คณะวิทยาศาสตร์ สาขาการพลังงานและการเผาไหม้ มหาวิทยาลัยลีดส์ ประเทศอังกฤษ และปริญญาโทอีกใบจากคณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงินและการตลาด สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[3][4] จบการศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 63 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย งานการเมืองอนุชา ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อครั้งเขตเลือกตั้งยังเป็นแบบเขตใหญ่ (แบบทีม 3 คน) ร่วมกับนายกรณ์ จาติกวณิช และนายสมเกียรติ ฉันทวานิช และได้รับการเลือกตั้งเข้าสภาฯ ทั้งสามคน อนุชาลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 และได้รับการเลือกตั้งเข้าสภาฯเป็นสมัยที่สอง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 อนุชาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งที่สาม แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ณัฎฐพล ทีปสุวรรณ)[5] และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีตามลำดับ[6] อีกทั้งได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์[7] ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 เขาได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีอีกหน้าที่หนึ่ง[8] ภายหลังจาก ธนกร วังบุญคงชนะ ลาออกหลังได้รับการเลื่อนบัญชีรายชื่อเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ[9] และลงสมัครระบบบัญชีรายชื่อในการเลือกตั้งเดือนพฤษภาคม แม้เขาจะไม่ได้รับเลือกตั้งในการประกาศผลคราวแรก แต่เมื่อ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ลาออกจาการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อนุชาจึงได้รับการเลื่อนลำดับบัญชีรายชื่อเป็น ส.ส. สมัยที่สาม[10] งานภาคเอกชน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |