ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ
ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ (เกิด 29 มีนาคม พ.ศ. 2516) อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ธรรมนัส พรหมเผ่า) อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นอดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตวังทองหลาง อดีตพิธีกร และอดีตนักแสดงสังกัดดาราวิดีโอทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ประวัติดร.ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ เกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2516 โดยมีชื่อในวงการแสดงว่า หาญส์ หิมะทองคำ และมีชื่อเล่นว่า หาญส์ ดร.ภักดีหาญส์ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนศรีวิกรม์, มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี, ปริญญาตรีจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, ปริญญาโทจากรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาเอกจากรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต การทำงานนายภักดีหาญส์เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตวังทองหลาง และได้รับเลือก ซึ่งในขณะนั้นนายภักดีหาญส์สังกัดพรรคไทยรักไทย ต่อมาหลังจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทย นายภักดีหาญส์จึงได้ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชาชน ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย นายภักดีหาญส์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต 6 (หนองจอก, คลองสามวา, คันนายาว และ บึงกุ่ม) กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังประชาชน[1] แต่ไม่ได้รับเลือก ต่อมานายภักดีหาญส์มีชื่อเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สหัส บัณฑิตกุล)[2] แต่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เห็นว่าไม่เหมาะสมจึงแต่งตั้ง นางสาวศุภมาส อิศรภักดี อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร ดำรงตำแหน่งแทน[3] ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 15 สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับ ณัฎฐ์ บรรทัดฐาน บุตรชายของ บัญญัติ บรรทัดฐาน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[4] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[5] แทนนางสาวอนุตตมา อมรวิวัฒน์ และพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้เข้ามาควบคุมอำนาจการบริหารประเทศ ต่อมา นายภักดีหาญส์ได้ย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา ลำดับที่ 20[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง จากนั้นจึงได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนาและย้ายมาสังกัด พรรคเศรษฐกิจไทย[7] และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตของกรุงเทพมหานคร เขต 13 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ[8] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ผลงานละคร
พิธีกร
อ้างอิง
|