Share to:

 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi
ชื่อเดิมสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ชื่อย่อมทร.ส / RMUTSB
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา18 มกราคม พ.ศ. 2548; 19 ปีก่อน (2548-01-18)
สังกัดการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สังกัดวิชาการ
งบประมาณ837,507,400 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
นายกสภาฯศาสตราจารย์พิเศษ ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ ประมุข อุณหเลขกะ
อาจารย์516 คน (พ.ศ. 2567)
บุคลากรทั้งหมด875 คน (พ.ศ. 2567)
ผู้ศึกษา10,161 คน (พ.ศ. 2566)[2]
ที่ตั้ง
เลขที่ 60 หมู่ที่ 3 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
วิทยาเขตศูนย์การศึกษา
เพลงมาร์ช มทรส.
สี  สีเหลืองทอง
เว็บไซต์เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ จัดการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปริญญาตรี และปริญญาโท ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีศูนย์พื้นที่ในสังกัด 4 แห่ง เปิดทำการสอนด้านวิชาชีพและเทคโนโลยีชั้นสูงส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ[3]

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ถูกจัดให้เป็นอันดับ 2 มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e- University ในกลุ่มราชมงคล จากการจัดอันดับของ กลุ่มวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติ ประเทศสเปน[4]

ประวัติ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จัดตั้งขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 โดยพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พ.ศ. 2518 ใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา” และโอนวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยเกษตรกรรม และวิทยาลัยต่างๆ ในสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เข้ามาสังกัด ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “ราชมงคล” เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 (วันราชมงคล) พร้อมทั้งมีพระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2532 ทำให้วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล"

ในระยะต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดให้สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาต้องเป็นนิติบุคคล[5] ทำให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเริ่มมีแนวคิดในการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยนิติบุคคล กระทั่งเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548[6] ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นผลให้มีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเกิดขึ้นใหม่ จำนวน 9 แห่ง เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี จัดการศึกษาด้านวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ ผลิตครูวิชาชีพ และให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญาเป็นหลัก

วิทยาเขตในสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 มาตรา 65 กำหนดให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุวรรณภูมิ ประกอบด้วย วิทยาเขตนนทบุรี วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา วาสุกรี วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา หันตรา และวิทยาเขตสุพรรณบุรี[5]

วิทยาเขตนนทบุรี

วิทยาเขตนนทบุรี ตั้งอยู่ที่ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี จัดตั้งขึ้นในปี 2518 โดยการยุบรวม "โรงเรียนช่างกลนนทบุรี" และ "โรงเรียนการช่างนนทบุรี" เป็นวิทยาลัยเทคนิคนนทบุรี ซึ่งมีที่ตั้งห่างกันเพียง 1 กิโลเมตร

วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา วาสุกรี

วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา วาสุกรี ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมเป็นโรงเรียนการช่างสตรี ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2481 โดยเปิดสอนชั้นมัธยมการช่างสตรี

วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา หันตรา

วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา หันตรา ตั้งอยู่ที่ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อมาถูกกำหนดให้เป็นที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

เริ่มแรกก่อตั้งเป็นโรงเรียนประถมวิสามัญเกษตรกรรม เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ต่อมาในปี 2483 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนเกษตรกรรมอยุธยา" และรับนักเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มาเรียนต่อ 2 ปี และอบรมเพิ่มเติม 1 ปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2487 ได้ขยายเปิดรับนักเรียนเกษตรกรรมชั้นกลาง ในปี พ.ศ. 2504 ได้ขยายการจัดการเรียนการสอนมาเป็นหลักสูตร ประโยคอาชีวชั้นสูง แผนกเกษตรกรรม และขยายการจัดการเรียนการสอนมาเป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกเกษตรกรรม และยกฐานะเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรม สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้ชื่อ "วิทยาลัยเกษตรพระนครศรีอยุธยา"

วิทยาเขตสุพรรณบุรี

วิทยาเขตสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ที่ตำบลย่านยาว อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เดิมจัดตั้งขึ้นเป็นวิทยาเขตในสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 [7] โดยแนวความคิดของนายบรรหาร ศิลปอาชา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี (ในขณะนั้น) ได้เสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการให้จัดตั้งวิทยาเขต สังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย ซึ่งจังหวัดสุพรรณบุรี มีเส้นทางในการคมนาคมที่สะดวกและติดต่อกับจังหวัดที่มีความเจริญด้านอุตสาหกรรม เช่น กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท และเพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาออกสู่ชนบท

วิทยาเขตสุพรรณบุรี ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 โดยนายบรรหาร ศิลปอาชา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี

รายนามอธิการบดี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ผศ.จริยา หาสิตพานิชกุล 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548[8] - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552
15 สิงหาคม พ.ศ. 2552 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556
2. ผศ.ไพศาล บุรินทร์วัฒนา 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556[9] - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560
28 ตุลาคม พ.ศ. 2560[10] - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2564
3. รศ.ดร.ประมุข อุณหเลขกะ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564[11] - ปัจจุบัน

คณะ

  • คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
  • คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
  • คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์

และมีโครงการจัดตั้งคณะ ได้แก่

  • คณะพยาบาลศาสตร์ (โครงการจัดตั้ง) **ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา**
  • คณะสารสนเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชน (โครงการจัดตั้ง) **ศูนย์นนทบุรี (เหนือ)**
  • โรงเรียนเตรียมเทคโนโลยีและนวัตกรรม (โครงการจัดตั้ง)[12]

หน่วยงานสายสนับสนุน

พื้นที่จัดการศึกษา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มีพื้นที่จัดการศึกษา 6 แห่งคือ

  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา วาสุกรี
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี (เหนือ)
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี (ใต้)
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี (เขต 1)
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี (เขต 2)

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๓๓, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  3. มทร.สุวรรณภูมิจาก ไทยรัฐออนไลน์
  4. เจ๋ง! "มทร.สุวรรณภูมิ" คว้าอันดับ 2 มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ ในกลุ่มนี้
  5. 5.0 5.1 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอน 74ก ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2542
  6. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 122 ตอน 6ก ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548
  7. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งวิทยาเขตสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
  8. ประกาศวำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 ราย เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจานุเบกษา เล่ม 122 ตอน 88ง วันที่ 20 ตุลาคม 2548
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (นายไพศาล บุรินทร์วัฒนา)
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  12. "มทร.สุวรรณภูมิ" คลอด "ร.ร.เตรียมเทคโนโลยี" สร้างนักนวัตกรรมมืออาชีพ ป้อนตลาด

แหล่งข้อมูลอื่น

13°51′50″N 100°28′57″E / 13.86387°N 100.48243°E / 13.86387; 100.48243

Kembali kehalaman sebelumnya