อำมาตย์โท พระตีรณสารวิศวกรรม นามเดิม ตี๋ ศรีสุข (1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 – 8 เมษายน พ.ศ. 2516) ปลัดกระทรวงธรรมการและกระทรวงศึกษาธิการ[1] ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2] นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[3] อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดไทย[4] และสมาชิกวุฒิสภา[5][6]
ประวัติ
พระตีรณสารวิศวกรรม เดิมชื่อว่า ตี๋ ศรีศุข เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2440 (นับแบบปัจจุบัน พ.ศ. 2441) ที่อำเภอสัมพันธวงศ์ เมืองพระนคร เป็นบุตรของนายหล่อ และนางพ่วง ศรีศุข พระตีรณสารวิศวกรรม ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2516 เวลา 08.00 น. ด้วยโรคหัวใจวาย ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
การศึกษา
พระตีรณสารวิศวกรรมเริมการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์ ต่อมาที่โรงเรียนวัดประทุมคงคา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยตามลำดับ จนจบมัธยมปีที่ 8 เมื่อ พ.ศ. 2457 ก็เดินทางไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ ที่ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ได้วุฒิทางวิศวกรรมศาสตร์ (เครื่องกล) ในพ.ศ. 2463
การทำงาน
งานราชการ
เริ่มรับราชการที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สังกัดกระทรวงธรรมการ ตำแหน่งอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นระยะเวลา 3 ปี คือ ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2467 จนถึงวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2470 โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านการสอน เป็นอนุศาสก(ตำแหน่งอาจารย์ผู้ควบคุมดูแลนิสิตในหอพัก) หอพักนิสิตชาย และเป็นบรรยเวกษก์ (ตำแหน่งอาจารย์ผู้มีหน้าที่ดูแลสโมสรนิสิตจุฬาฯ หรือ สจม.)[7] แห่งสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2468 จนถึง พ.ศ. 2470
ต่อมารับราชการที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย (สังกัดกระทรวงธรรมการ) ในตำแหน่งอาจารย์ ระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่ 10 มกราคม พ.ศ. 2470 ถึง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านการสอน และเป็นผู้กำกับคณะตีรณสาร (ปัจจุบันเรียกคณะพญาไท)
หลังจากนั้นได้รับราชการที่กระทรวงธรรมการ ตำแหน่งเลขานุการกระทรวง ระยะเวลา 4 ปี ตั้งแต่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ถึง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบช่วยงานของเสนาบดี เช่น งานการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง งานประชาสัมพันธ์ งานติดต่อ ฯลฯ
รับราชการที่กระทรวงธรรมการ ตำแหน่งผู้ทำการแทนหัวหน้ากองสารบรรณ กรมปลัดกระทรวงระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2476 ถึง 10 เมษายน พ.ศ. 2477
รับราชการที่กระทรวงธรรมการและกระทรวงศึกษาธิการ ตำแหน่งปลัดกระทรวงระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ 19 เมษายน พ.ศ. 2477 ถึง 2 กันยายน พ.ศ. 2486 และ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488
รับราชการที่กระทรวงอุตสาหกรรม ตำแหน่งปลัดกระทรวงระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่ 3 กันยายน พ.ศ. 2488 ถึง 10 มีนาคม พ.ศ. 2489
งานด้านการเมือง
พระตีรณสารวิศวกรรม ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรี ในพ.ศ. 2488 ในคณะรัฐมนตรี คณะที่ 12 สมัยทวี บุณยเกตุเป็นนายกรัฐมนตรี[8] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างปี พ.ศ. 2488 - พ.ศ. 2489 ใน คณะรัฐมนตรี คณะที่ 13[9] สมัยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชเป็นนายกรัฐมนตรี และ คณะรัฐมนตรี คณะที่ 14 สมัยพันตรี ควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรี[10]
พระตีรณสารวิศวกรรม ยังดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 2 และ 3 ระหว่างปี พ.ศ. 2490 ถึง พ.ศ. 2515
ตำแหน่งพิเศษ
ครอบครัว
ด้านครอบครัว พระตีรณสารวิศวกรรม ได้สมรสกับ นางสาวประไพ วัชราภัย (ต่อมาคือ คุณหญิงตีรณสารวิศวกรรม) ธิดาพระยาพิจารณาปฤชามาตย์ (สุหร่าย วัชราภัย) องคมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2467 มีบุตรธิดารวม 6 คน ดังนี้[12]
- นายกระมล ตีรณสาร สมรสกับ นางเฉลิมสุข (ภัทรนาวิก)
- นายชุมพล ตีรณสาร (ถึงแก่กรรม) สมรสกับ นางจิตราภา (อากาศฤกษ์)
- นายอรรถพล ตีรณสาร (ถึงแก่กรรม) สมรสกับ นางสมสิริ (กระแสสินธุ์)
- นายกุศล ตีรณสาร สมรสกับ นางโยโกะ (คาตาคีรี)
- รศ.นิรมล (ตีรณสาร) สมรสกับ ดร.เผด็จ สวัสดิบุตร
- นางอุบล (ตีรณสาร) สมรสกับ นายสุธรรม เอกะหิตานนท์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ "แนะนำกระทรวง - กระทรวงศึกษาธิการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-09. สืบค้นเมื่อ 2013-12-08.
- ↑ ทำเนียบนายกสภามหาวิทยาลัย - สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ "ทำเนียบนายกสภามหาวิทยาลัย, อธิการบดี - สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-12-08.
- ↑ "อุปนายก - อุปนายิกา ผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม - สภากาชาดไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-01. สืบค้นเมื่อ 2013-12-08.
- ↑ "วุฒิสภา ชุดที่ ๒ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๔๘๙)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-12-08.
- ↑ "วุฒิสภา ชุดที่ ๓ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๑๑)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-12-08.
- ↑ มหาวิทยาลัยและคำขวัญ - หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๑ ราย)
- ↑ "ทำเนียบนายกสมาคมนักเรียนเก่าปทุมคงคา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-27. สืบค้นเมื่อ 2013-12-08.
- ↑ ทำเนียบสายสกุล ณ สงขลา สายเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) - ชมรมสายสกุล ณ สงขลา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๔๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๗ พฤษภาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๙, ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๗๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๖๐ ง หน้า ๑๘๙๒, ๒๖ กันยายน ๒๔๘๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2022-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๗๒๑, ๒๒ มีนาคม ๒๔๗๓
|
---|
เสนาบดีกระทรวงธรรมการ (พ.ศ. 2435–2475) |
---|
|
| |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ (พ.ศ. 2475–2484) |
---|
|
|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2485 – ปัจจุบัน) |
---|
|
|
|
---|
ปลัดทูลฉลอง กระทรวงธรรมการ (พ.ศ. 2435 – พ.ศ. 2476) |
---|
|
| |
ปลัดกระทรวงธรรมการ (พ.ศ. 2476 – พ.ศ. 2484) |
---|
|
|
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2484 – ปัจจุบัน) |
---|
|
|
|
|
---|
| |
(ตัวเลขในวงเล็บ) หมายถึง สมัยดำรงตำแหน่งของบุคคลนั้น (กรณีสมัยการดำรงตำแหน่งไม่ติดต่อกัน) ตัวหนา หมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่งปัจจุบัน |