Share to:

 

ศรีเมือง เจริญศิริ

ศรีเมือง เจริญศิริ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้าสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ถัดไปจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 (82 ปี)
จังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสรังสิมา เจริญศิริ

ดร.ศรีเมือง เจริญศิริ อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดมหาสารคาม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคพลังประชาชน

ประวัติ

ศรีเมือง เจริญศิริ เกิดเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 ที่ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นบุตรของนายเสี่ยวเพ็ง กับ นางแก่น เจริญศิริ สมรสกับนาง รังสิมา เจริญศิริ มีบุตร 2 คน คือ ดร.มติ เจริญศิริ และ ดร.ชนาวีร์ เจริญศิริ[1] จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสารคามพิทยาคม จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (รุ่นที่ 1 ในสมัยที่ยังเป็น วิทยาลัยโทรคมนาคม นนทบุรี) ต่อมา จบการศึกษาในระดับปริญญาโท พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจบการศึกษาในระดับปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และยังได้เกียรติคุณทางด้านรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม อีกด้วย

นอกจากนี้ยังได้รับประกาศนียบัตรในด้านต่างๆ จากหลายสถาบัน อาทิ

  • ประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 9 จากสถาบันพระปกเกล้า
  • ประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน รุ่นที่ 4 จากสถาบันพระปกเกล้า
  • ประกาศนียบัตร Telecommunication Senior management จากประเทศแคนาดา โดยทุนรัฐบาลแคนาดา
  • ประกาศนียบัตร Telephone Outside Plant Engineering จากประเทศญี่ปุ่น โดยทุนโคลัมโบ
  • ประกาศนียบัตร Optical Fiber Cable จากประเทศญี่ปุ่น
  • ประกาศนียบัตร PCM Transmission System จากประเทศญี่ปุ่น

การทำงาน

ดร.ศรีเมือง เจริญศิริ เริ่มรับราชการในสังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม จากนั้นจึงย้ายมาเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดการสื่อสารแห่งประเทศไทย และเป็นผู้ก่อตั้งสหภาพแรงงานการสื่อสารแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2520 ได้รับตำแหน่งสำคัญ ๆ หลายตำแหน่ง อาทิผู้อำนวยการกองขนส่ง ผู้อำนวยการฝ่ายโทรคมนาคมภูมิภาค จนตำแหน่งสุดท้าย คือ ผู้ตรวจการใหญ่ ฝ่ายโทรคมนาคม การสื่อสารแห่งประเทศไทย

ต่อมาได้ลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดมหาสารคาม ในปี พ.ศ. 2543 และได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม วุฒิสภา ต่อจากนั้นได้เข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน และได้รับตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค ระหว่างวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ดร.ศรีเมือง ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน ในสังกัดพรรคพลังประชาชน ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2551[2] กระทั่งถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองในคดียุบพรรคพลังประชาชน เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551[3] ภายหลังพ้นจากการถูกตัดสิทธิทางการเมือง ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาที่จังหวัดมหาสารคาม ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557 และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 11 ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศรับรองผลในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2557

ดร.ศรีเมือง เจริญศิริ เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติที่เวทีสะพานผ่านฟ้า เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553 [4]

นอกจากหน้าที่การราชการแล้ว ยังเคยมีหน้าที่ทางสังคมอีกหลายหน้าที่ อาทิ ประธานชมรมสมาชิกวุฒิสภาอีสาน ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาชาวมหาสารคาม ประธานสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสารคามพิทยาคม กรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และนายสมาคมศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ข้อมูลแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการศึกษาธิการ ครบ 1 ปี 2 ธันวาคม 2552[ลิงก์เสีย]
  2. "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-05.
  3. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  4. "อากาศเป็นใจม็อบเสื้อแดงแน่นผ่านฟ้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-31. สืบค้นเมื่อ 2011-07-15.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๑, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๑๐, ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒
ก่อนหน้า ศรีเมือง เจริญศิริ ถัดไป
สมชาย วงศ์สวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(24 กันยายน พ.ศ. 2551 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
Kembali kehalaman sebelumnya