สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี บางแห่งสะกดว่า สมเด็จพระรูปสิริโสภาคย์มหานาคนารี[2] มีพระนามเดิมว่า สั้น หรือ มาก (ราว พ.ศ. 2254 — พ.ศ. 2344) เป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี[3] เป็นพระสัสสุ (แม่ยาย) ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระราชประวัติ
สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี มีพระนามเดิมว่า สั้น หรือ มาก[3][4][5] พระมารดาชื่อถี แต่ไม่ปรากฏนามบิดา[6][7] พระมารดาเป็นธิดาของแสน มีพี่สาวชื่อเมือง ซึ่งเป็นยายของเจ้าพระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์) พระองค์มีพระเชษฐา 1 องค์ และพระเชษฐภคินี 2 องค์[8]
ขณะที่ยังเป็นสามัญชนนั้นพระองค์ได้สมรสกับทอง ณ บางช้าง บุตรของพรและชี และเป็นหลานปะขาวพลาย พี่น้องร่วมบิดามารดาของแสน[9] ทั้งสองมีโอรสธิดาด้วยกัน 10 คน ได้แก่[10]
- เจ้าคุณหญิงแวน
- เจ้าคุณหญิงทองอยู่ สมรสกับขุนทอง มีธิดา คือ เจ้าจอมหงส์ ในรัชกาลที่ 1
- เจ้าคุณชายชูโต (ต้นสกุลชูโต, แสง-ชูโต และสวัสดิ์-ชูโต)
- สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี (มีพระนามเดิมว่า นาค หรือ นาก)
- เจ้าคุณชายแตง
- เจ้าคุณหญิงชีโพ
- เจ้าคุณชายพู
- เจ้าคุณหญิงเสม
- เจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล สมรสกับเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ต้นสกุลบุนนาค[11]
- เจ้าคุณหญิงแก้ว ภรรยาพระแม่กลองบุรี (ศร)
พระกรณียกิจ
สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี ได้ถวายนิวาสนสถานเดิมของพระองค์อุทิศให้สร้างวัดขึ้นก่อนในขณะที่ยังมีพระชนมชีพอยู่ สันนิษฐานกันว่าพระองค์ผนวชเป็นรูปชีแล้วในขณะนั้น เดิมเรียกกันว่าวัดอัมพวา ตามชื่อคลองอัมพวา ต่อมาสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี และบรรดาเหล่าราชินิกุลบางช้าง ได้โดยเสด็จพระราชกุศลสร้างเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ขึ้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระปรางค์ขึ้นประดิษฐานพระบรมราชสรีรังคารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสร้างกุฎีใหม่ทั้งพระอาราม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบูรณะพระอุโบสถ สร้างเสมาขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า วัดอัมพวันเจติยาราม[12]
นอกจากวัดอัมพวันเจติยารามแล้ว สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารีทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดโบราณอีกวัดหนึ่ง ซึ่งทรุดโทรมสิ้นสภาพแล้ว ชื่อ วัดทอง ต่อมาภายหลังพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์ พระราชทานนามว่า วัดกาญจนสิงหาสน์
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีทรงสถาปนาวัดโบราณในคลองบางพรหม ซึ่งเดิมชื่อ วัดเงิน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์เช่นกัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์เพิ่มเติม แล้วพระราชทานชื่อว่าวัดรัชฎาธิษฐาน เพื่อให้คล้องจองกับวัดกาญจนสิงหาสน์ ทั้งสองวัดจึงเป็นวัดเงิน-วัดทอง คู่กันของสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารีและสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี[12]
สิ้นพระชนม์
เมื่อสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารีได้สิ้นพระชนม์ในรูปชี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชทานพระโกศไม้สิบสองหุ้มทองคำ สำหรับทรงพระศพเจ้านาย ทำให้สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ทรงปลื้มปิติ ถึงกับเอ่ยพระโอษฐ์ด้วยความชื่นพระทัยว่า "แม่ข้าได้เป็นเจ้า"[12]
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสถาปนาพระอัฐิเป็น สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี[12]
พระเกียรติยศ
ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี |
---|
การทูล | ใต้ฝ่าละอองพระบาท |
---|
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
---|
การขานรับ | พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ |
---|
พระอิสริยยศ
- ไม่ปรากฏ : สั้น หรือ มาก
- สมัยรัชกาลที่ 4 : สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี (สถาปนาพระอัฐิ)
พงศาวลี
พงศาวลีของสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี
|
| | | | | | | | | | | | | | | | |
| 1. สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี | |
|
| | | | | | | | | | | | | | | | |
| 6. แสน | |
|
| | | | | | | | | | |
| 3. ถี | |
|
| | | | | | | | | | | | | |
|
อ้างอิง
- ↑ ปฐมวงศ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้พระศรีสุนทรโวหาร (ฟัก สาลักษณ์) จดหมายเหตุตามพระราชนิพนธ์
"...ได้ปรากฏพระนามว่า สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี เป็นที่คำนับบูชาของพระราชวงศานุวงศ์ ดำรงพระชนม์อยู่ ๙๐ ปีเศษจึงสิ้นพระชนม์เมื่อ ปีระกานักษัตรตรีศก แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พุทธศาสนกาล ๒๓๔๔ พรรษา จุลศักราช ๑๑๖๓..."
- ↑ คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ และสายไหม จบกลศึก (บรรณาธิการ) (2555). ราชาศัพท์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. p. 37.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 3.0 3.1 กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2015-09-03.
- ↑ ราชินิกูลในรัชกาลที่ 5. พระนคร : ราชบัณฑิตยสภา, 2476, หน้า 10, 12
- ↑ อธิบายราชินิกูลบางช้าง. พระนคร : ราชบัณฑิตยสภา, 2471, หน้า 1
- ↑ ลำดับราชินิกูลบางช้าง. พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร. 2501. p. 63.
- ↑ เทพ สุนทรศารทูล. พงศาวดารราชินีกุลบางช้าง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พระนารายณ์, พ.ศ. 2540. 232 หน้า. หน้า 22.
- ↑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปฐมวงศ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย, 2470. 57 หน้า. หน้า 10.
- ↑ เทพ สุนทรศารทูล. ประวัติวัดอัมพวันเจติยาราม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พระนารายณ์, พ.ศ. 2541. 192 หน้า. หน้า 34.
- ↑ ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
- ↑ "ชมรมสายสกุลบุนนาค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-28. สืบค้นเมื่อ 2010-02-18.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 "สกุลไทย:วัดที่เจ้านายฝ่ายในสร้าง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-07-04. สืบค้นเมื่อ 2010-02-18.
|
---|
สมเด็จพระ / กรมสมเด็จพระ | | |
---|
กรมพระยา | |
---|
กรมพระ | |
---|
กรมหลวง | |
---|
กรมขุน | |
---|
กรมหมื่น | |
---|
- = สืบราชสมบัติ
- = สยามมกุฎราชกุมาร
- * = กรมพระราชวังบวร
- ตัวเอียง = ฝ่ายใน
- ตัวหนา = ยังทรงพระชนม์
- † = หลังสิ้นพระชนม์
- X = ถอดจากฐานันดรศักดิ์
|
|