Share to:

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
Sisaket Rajabhat University
ตราพระราชลัญจกร
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อเดิมสถาบันราชภัฏศรีสะเกษ
ชื่อย่อมรภ.ศก. / SSKRU
คติพจน์ความรู้คู่คุณธรรม น้อมนำศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา15 มิถุนายน พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-06-15)
สังกัดการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สังกัดวิชาการ
งบประมาณ373,089,600 บาท
(พ.ศ. 2567)[1]
นายกสภาฯวิจารย์ สิมาฉายา
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ ประกาศิต อานุภาพแสนยากร
อาจารย์266 คน (พ.ศ. 2567)
บุคลากรทั้งหมด551 คน (พ.ศ. 2567)
ผู้ศึกษา9,136 คน (พ.ศ. 2565)
ที่ตั้ง
เลขที่ 319 ถนนไทยพันทา ตำบลโพธิ์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ 33000
เพลงลำดวนงามตา
ขาว-ทอง ผ่องพรรณ
ต้นไม้ลำดวน
สี████ สีขาว สีทอง
เว็บไซต์เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (เดิมชื่อ สถาบันราชภัฏศรีสะเกษ) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาต่างๆ รวมทั้งดำเนินงานวิจัยและให้บริการทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ เพื่อตอบสนองความต้องการของจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง [2]

ประวัติ

การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาขึ้นในจังหวัดศรีสะเกษเริ่มดำเนินการตั้งแต่ใน พ.ศ. 2537 ตามข้อเสนอของจังหวัดศรีสะเกษและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีประชากรจำนวนมาก ในแต่ละปีจึงมีนักเรียนนักศึกษา ที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าเป็นจำนวนมากแต่ยังไม่มีสถาบันอุดมศึกษาภายในจังหวัดเพื่อการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ประกอบกับเป็นจังหวัดทีมีศักยภาพสูงสามารถพัฒนาเป็นศูนย์กลางแห่งการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม โดยมีความพร้อมทั้งที่ดินและงบประมาณสนับสนุนการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา ดังนั้น วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2540 นายสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้เสนอคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้จัดตั้ง "สถาบันราชภัฏศรีสะเกษ" ขึ้น และในปี พ.ศ. 2542 "โครงการจัดตั้งสถาบันราชภัฏศรีสะเกษ" ได้เริ่มรับนักศึกษาเป็นปีแรก โดยได้รับความร่วมมือสนับสนุนในระยะแรกจาก สถาบันราชภัฏสุรินทร์

ต่อมา เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง "สถาบันราชภัฏศรีสะเกษ" [3] ขึ้น และได้รับพระกรุณาจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯ ยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ" ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2547[4]

ตารางการแข่งขัน"พนมรุ้งเกมส์" กีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 41 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษครองแชมป์เจ้าเหรียญทอง

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

  • ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย คือ รูปตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่พระราชทานให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีลักษณะเป็นตรางา รูปไข่ ประกอบด้วยวงกงจักร กลางวงกงจักรมีอักขระเป็นตัว อุ หรือเลข ประดิษฐานอยู่ร่วมกับรูปพระที่นั่งอัฏฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ภายใต้เศวตฉัตร ๗ ชั้น องค์ประกอบดังกล่าวรายล้อมด้วยรัศมี อันมีความหมายว่า "มีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน" ตราพระราชลัญจกร อยู่ภายในวงล้อมของกรอบรูปทรงรี 2 วง พื้นที่ด้านบนของกรอบมีอักษรภาษาไทยข้อความว่า "มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ" ด้านล่างเป็นอักษรภาษาอังกฤษข้อความว่า "SISAKET RAJABHAT UNIVERSITY" [5] ตราสัญลักษ์ดังกล่าวประกอบด้วยสี 5 สี แต่ละสีสื่อความหมายดังนี้
  • ██ สีน้ำเงิน หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทานนาม “มหาวิทยาลัยราชภัฏ” อันแปลว่า นักปราชญ์แห่งพระราชา
  • ██ สีเขียว หมายถึง แหล่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
  • ██ สีทอง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
  • ██ สีส้ม หมายถึง ความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ก้าวไกล
  • ██ สีขาว หมายถึง ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สอดคล้องกับคำว่า ราชภัฏ ซึ่งมีความหมายว่า ปราชญ์ของพระราชา
  • สีประจำมหาวิทยาลัย คือ ขาว - ทอง หมายถึง มหาวิทยาลัยที่พร้อมด้วยความสงบ ร่มเย็น มีระเบียบและสมานสามัคคี สมกับเป็นสถานศึกษา แหล่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และคุณธรรม
  • พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย คือ พระพุทธราชภัฏมุนีศรีสะเกษ ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • ต้นไม้และดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ "ต้นลำดวนและดอกลำดวน"
รองศาสตราจารย์ ดร.ประกาศิต อานุภาพแสนยากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ

การศึกษา

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษเปิดดำเนินการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรต่างๆ ครอบคลุมสาขาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ทั้งระดับอนุปริญญา ระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา โดยมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพในการแข่งขัน ตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วย 5 คณะ 1 วิทยาลัย และ 43 สาขาวิชาต่างๆ ดังนี้ [6][7]

  1. คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  2. คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  3. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  4. คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  5. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ **หลักสูตรเช่นเดียวกันกับ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  6. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  7. โครงการจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์
ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต

  • วิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง 2561)

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.)

  • สาขาวิชาการประถมศึกษา
  • สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (ชื่อเดิมคือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ )
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาสังคมศึกษา
  • สาขาวิชาดนตรีศึกษา
  • สาขาวิชาพลศึกษา
  • สาขาวิชาการสอนภาษาจีน

หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)

  • สาขาวิชาบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
  • สาขาวิชาวิจัยและประเมินผล

หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.)

  • สาขาวิชาบริหารการศึกษา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ)

  • สาขาวิชานิเทศศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • สาขาวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
  • สาขาวิชาศิลปะการและออกแบบ
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์
  • สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
  • สาขาวิชาภาษาจีน
  • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

หลักสูตรการพัฒนามนุษย์ (ศศ.บ.)

  • สาขาการพัฒนาชุมชน

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา


คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟแวร์ (หลักสูตรปรับปรุง ปี 2564)

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ชื่อเดิมคือ สาขาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีโยธาและสถาปัตยกรรม

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (ชื่อเดิมคือ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ )
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
  • สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (หลักสูตรใหม่ เปิดรับนักศึกษา ปีการศึกษา 2564)


คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต

  • สาขาวิชาบัญชี

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)

  • สาขาวิชาการจัดการ
  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินและการคลัง
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • สาขาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ (เปิดใหม่ปีการศึกษา 2563)

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ

หลักสูตรบัญชมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาการบัญชี


วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชานิติศาสตร์ ( รับนักศึกษารุ่นแรกปี 2549 )

หลักสูตรรัซศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชารัฐศาสตร์ ( รับนักศึกษารุ่นแรกปี 2556 )

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (ชื่อเดิมคือ สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น) ( รับนักศึกษารุ่นแรกปี 2548 )

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (ชื่อเดิมคือ สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น)


โครงสร้างการบริหารและหน่วยงานภายใน

  • สำนัก/สถาบัน/กองงาน
    • สำนักงานอธิการบดี
    • กองกลาง
    • กองนโยบายและแผน
    • กองวิทยบริการ
    • กองวิเทศสัมพันธ์
    • งานอำนวยการ
    • งานบริการการศึกษา
    • งานพัฒนานักศึกษา
    • งานนโยบายและแผน
    • งานวิจัยและพัฒนา
    • งานศิลปวัฒนธรรม [8]
  • ฝ่าย
    • ธุรการและสารบัญ
    • บริหารงานบุคคล
    • การคลัง
    • พัสดุ
    • อาคารสถานที่ ยานพาหนะ ภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม
    • ประชุมและพิธีการ
    • ประชาสัมพันธ์
    • หลักสูตรและแผนการเรียน
    • มาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา
    • ส่งเสริมวิชาการ
    • วิทยบริการและสารสนเทศ
    • เทคโนโลยรสารสนเทศและเครือข่าย
    • หอพักนักศึกษา[8]
  • ศูนย์
    • ศูนย์ศรีสะเกษศึกษา
    • ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (โรงแรมศรีพฤทธาลัย และสัมมนาคาร)
    • ศูนย์เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN)
    • ศูนย์นวัตกรรมสื่อเพื่อการพัฒนา (CMID) [9]
    • สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ระบบ เอฟ.เอ็ม. ความถี่ 91.0 MHz)[10]
  • สำนัก/สถาบัน/กองงาน
    • ศูนย์อาหาร
    • ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
    • ศูนย์ศรีสะเกษศึกษา
    • ศูนย์ภาษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    • ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
    • ฝ่ายประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
    • สำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
    • หอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
    • กลุ่มงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
    • กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
    • ฝ่ายรักษาความปลอดภัยและจราจร
    • ฝ่ายทุนการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
    • วินัยและพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
    • งานคลัง มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ
    • งาน บริหารบุคคล
    • กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
    • สำนักงานอธิการบดี
    • กลุ่มงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ(ห้องสมุด) มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
    • กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
    • สนามกีฬาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
    • คลินิกกฎหมาย วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง
    • ฝ่ายพัสดุ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี
  • คณะ/วิทยาลัย/โรงเรียน/โรงแรม'
    • บัณฑิตวิทยาลัย
    • คณะครุศาสตร์
    • คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
    • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    • คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
    • วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง
    • โรงแรมศรีพฤทธาลัย ราชภัฏสัมมนาคาร ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาการอเนกประสงค์ บุญชงวีสมหมาย
    • โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษฝ่ายอนุบาล ประถมศึกษา (คณะครุศาสตร์)
    • คณะพยาบาลศาสตร์ จัดตั้ง 1 มีนาคม 2564
    • ศูนย์สุขภาพศรีสะเกษแบบองค์รวม(ร่วมมือกับภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศูนย์ศรีสะเกษ)
    • (โครงการจัดตั้ง)คณะสาธารณสุขศาสตตร์
    • (โครงการจัดตั้ง) คณะวิศวกรรมศาสตร์
    • (โครงการจัดตั้ง) คณะเกษตรศาสตร์
    • (โครงการจัดตั้ง) คณะสหเวชศาสตร์

[8]

  • องค์การนักศึกษา
    • สภานักศึกษา ภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ
    • องค์การบริหารนักศึกษา ภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ
      • ชมรมในสังกัด องค์การบริหารนักศึกษา ภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ
    • สโมสรนักศึกษาคณะครุศาสตร์
    • สโมสรนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
    • สโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    • สโมสรนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
    • สโมสรนักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

ทำเนียบนายกสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดี

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
นายกสภามหาวิทยาลัย
ลำดับ
(สมัย)
รูป รายนาม ตำแหน่ง สถานะสถานศึกษา วาระการดำรงตำแหน่ง
1 นายบุญชง วีสมหมาย นายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2547
2 นายจิโรจน์ โชติพันธ์ นายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2555
3 รองศาสตราจารย์ธง รุญเจริญ นายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2558
4 ดร.ศรีวรรณ เกียรติสุรนนท์ นายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2562
5 ดร.วิจารย์ สิมาฉายา นายกสภา

มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏ

ศรีสะเกษ

พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน
รายนามอธิการบดี
ลำดับ
(สมัย)
รูป รายนาม ตำแหน่ง สถานะสถานศึกษา วาระการดำรงตำแหน่ง
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนก โตสุรัตน์ รักษาการแทน อธิการบดี สถาบันราชภัฏศรีสะเกษ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 - 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนก โตสุรัตน์ อธิการบดี สถาบันราชภัฏศรีสะเกษ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 - 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนก โตสุรัตน์ รักษาการแทน อธิการบดี สถาบันราชภัฏศรีสะเกษ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 - 24 มกราคม พ.ศ. 2548
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนก โตสุรัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 24 มกราคม พ.ศ. 2548 - 22 มกราคม พ.ศ. 2555
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประกาศิต อานุภาพแสนยากร อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 23 มกราคม พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๒๙, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.(2552).รายงานการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้ทาง http://www.ku.sskru.ac.th/songserm/book/report_s.pdf เก็บถาวร 2013-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. ประกาศจัดตั้งสถาบันราชภัฏศรีสะเกษ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 118 ตอนที่ 59 ก ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
  4. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.(2553).ประวัติมหาวิทยาลัย. [ออนไลน์] เข้าถึงได้ทาง http://www.sskru.ac.th/2010/history/history.php[ลิงก์เสีย]
  5. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.(2553). สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.sskru.ac.th/2010/history/Symbol.php[ลิงก์เสีย]
  6. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.(2553).หลักสูตรระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.sskru.ac.th/2010/kana/index.php เก็บถาวร 2012-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.(2553).หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.graduate.sskru.ac.th/?name=page&file=page&op=curr เก็บถาวร 2011-03-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. 8.0 8.1 8.2 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.(2553).คณะและหน่วยงานภายใน.[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.sskru.ac.th/2010/kana/index.php เก็บถาวร 2012-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.(2552).ศูนย์นวัตกรรมสื่อเพื่อการพัฒนา.[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.cmid.sskru.ac.th/ เก็บถาวร 2010-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.(2552).สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.radio.sskru.ac.th/radio/ เก็บถาวร 2013-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya