สาธิต เซกัล
สาธิต เซกัล (ฮินดี: सतीश सहगल; อังกฤษ: Satish Sehgal) เป็นนักธุรกิจสิ่งพิมพ์ชาวอินเดีย[1] ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เคยดำรงตำแหน่งประธานหอการค้าอินเดีย-ไทย[2][3] หอการค้าไทย-อิสราเอล[4] และประธานสมาคมนักธุรกิจอินเดีย-ไทย[5] เซกัลเกิดที่เมืองเดลี ประเทศอินเดีย[ต้องการอ้างอิง] เข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่อายุ 5 ปี[6] ครอบครัวเป็นชาวไทยฮินดูเชื้อสายอินเดียจากรัฐปัญจาบ[7][8] และเคยใช้ชีวิตอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานีมาก่อน โดยสามารถพูดภาษาอีสานได้อย่างคล่องแคล่ว[9][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] จบการศึกษาจาก Hansraj College, University of Delhi[10] เคยทำงานที่หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ก่อนจะมาเปิดธุรกิจนิตยสารภาษาอังกฤษเป็นของตัวเอง[11] วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557ในช่วงการชุมนุมทางการเมืองในปี พ.ศ. 2556 นายสาธิตได้เข้าร่วมชุมนุมกับกปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) โดยเข้าร่วมชุมนุมตั้งแต่ต้นที่สถานีรถไฟสามเสน ด้วยการแจกพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้แก่ผู้ชุมนุม และถูกเชิญมาขึ้นเวทีปราศรัย จึงได้เป็นที่รู้จักกันโดยทั่ว[12] และต่อมายังได้เป็นแนวร่วมคนสำคัญของกปปส. โดยมีบทบาทเป็นผู้นำกลุ่มผู้ชุมนุมเดินขบวนจากถนนสีลมเข้าปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ที่เป็นการชุมนุมใหญ่ และต่อมายังเป็นผู้รับผิดชอบเวทีปราศรัยที่แยกศาลาแดง และสวนลุมพินี ร่วมกับนายวิทยา แก้วภราดัย แกนนำกปปส.ด้วย[13] ต่อมานายสาธิตได้ถูกดำเนินการทางกฎหมายโดยหน่วยงานกำกับดูแลสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐบาล ศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) โดยสั่งการให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ต.ม.) เนรเทศออกจากประเทศไทย[14][15] โดยศาลอาญามีหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา[16] [17] และมีความพยายามจะล้อมจับนายสาธิตด้วยถึงที่คอนโดมิเนียมที่พักอาศัย แต่ไม่สำเร็จ[18] แต่ท้ายสุดก็มีคำสั่งจากศาลแพ่งไม่ให้มีการเนรเทศ โดยชี้ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ[19] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|