Share to:

 

ตุลย์ สิทธิสมวงศ์

ตุลย์ สิทธิสมวงศ์
เกิด19 ตุลาคม พ.ศ. 2508 (59 ปี)
สัญชาติไทย
อาชีพอาจารย์, แพทย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ (เกิดวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2508) นักเคลื่อนไหวทางการเมือง นักวิชาการ และ แพทย์ชาวไทย จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล เป็นอาจารย์ประจำภาควิชา สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา หน่วยมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความชำนาญ ทางด้านมะเร็งวิทยาทางนรีเวช

ประวัติ

ตุลย์ ศึกษาในชั้นประถมต้นจนถึงมัธยมต้นที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ศึกษามัธยมปลาย 3 ปีที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2526 จนจบ แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2532 ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้หรือความชำนาญในการประกอบ วิชาชีพเวชกรรม สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา แพทยสภา พ.ศ. 2536, ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางคลินิกสาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2534 และบรรจุเป็นอาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์เมื่อ ปี พ.ศ. 2538[1]

การเคลื่อนไหวทางการเมือง

ตุลย์เป็นหนึ่งในผู้ประสานงานเครือข่ายจุฬาฯ เชิดชูคุณธรรมนำประชาธิปไตย (จคป.) และเคยร่วมขึ้นเวทีร่วมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เป็นผู้ประสานงานกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชนหลายกลุ่ม ในช่วงวิกฤตการเมืองท้ายสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เช่น เครือข่ายวิชาการเพื่อประชาธิปไตย (ควป.), เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคม, กลุ่มนักวิชาการเพื่อประชาชน, เครือข่ายสมัชชาประชาชนทั่วประเทศ, กลุ่มนักวิชาการนักธุรกิจและประชาชน, แนวร่วมประชาชนต้านการนิรโทษกรรมฯ, ผู้นำกลุ่มประชาชนผู้รักชาติและความถูกต้อง, เครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน (เสื้อหลากสี) เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นผู้ที่รักษา อิทธิพล สรวิทย์สกุล ที่บาดเจ็บจากการถูกรุมสหบาทาที่เซ็นทรัลเวิลด์[2] เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ในเหตุการปะทะกันของฝ่ายผู้สนับสนุนนายกฯและฝ่ายต่อต้านฯ (ดูเพิ่ม "การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี") รวมถึงยังเข้าร่วมกับการชุมนุมของกปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ด้วย (ดูเพิ่ม "วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557" )[3]

นอกจากนั้น ตุลย์ ยังเป็นหนึ่งในคณะผู้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เป็นกรรมาธิการและโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและส่งเสริมการสร้างคุณธรรมและจริยธรรมแก่นักการเมือง ข้าราชการและประชาชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, กรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นผู้นำร่วมกับสภาคณาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คัดค้าน สนช. ในการผ่านร่าง พ.ร.บ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างเร่งรีบโดยไม่ฟังเสียงประชาคมจุฬาฯ[4][5][6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ข้อมูล ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ จากเว็บไซต์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสัมภาษณ์พิเศษ ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ "ป๋าเปรมย้ำปัญหาต้องแก้ที่ต้นตอเท่านั้น"[ลิงก์เสีย], 16 กันยายน 2549 15:05 น.
  3. ม็อบหมอก่อตัวเตรียมเคลื่อนไปสามเสน[ลิงก์เสีย] จากสำนักข่าวไทย
  4. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์.ประชาคมจุฬาฯยื่น สนช.ค้านออกนอกระบบ. เก็บถาวร 2007-12-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2550
  5. บทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์แทบลอยด์ เรื่องปก 'ถอนร่างออก' นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์[ลิงก์เสีย] 17 ธันวาคม 2549
  6. ณศักต์ อัจจิมาธร, หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์. ผ่าความคิด 'ตุลย์ สิทธิสมวงศ์' หัวหอกต้าน 'จุฬาฯ' ออกนอกระบบ[ลิงก์เสีย]วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕๔, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๐๓, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๑๗, ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕
Kembali kehalaman sebelumnya