Share to:

 

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์
สมบัติ ใน พ.ศ. 2557
เกิด17 เมษายน พ.ศ. 2494 (73 ปี)
อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์

ศาสตราจารย์ สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ (เกิด 17 เมษายน พ.ศ. 2494) เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์[1]นายกสภามหาวิทยาลัย ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช[2]อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง[3] อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย[4] และอดีตเลขาธิการพรรคไท เมื่อปี พ.ศ. 2518[5] ปัจจุบันเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์[6]

ประวัติ

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2494 ที่อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ (เกษตรศาสตร์) คณะเกษตร จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระดับปริญญาโท รัฐศาสตร์ (การปกครอง) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาเอก สาขาการบริหารการพัฒนา จากสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ เป็นเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2516

การทำงาน

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เคยดำรงตำแหน่งคณบดี และผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาเอกนานาชาติ นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำหน่งกรรมการการเคหะแห่งชาติ และกรรมการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้อีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2550 นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์[7] และเป็นอธิการบดีที่มีความใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์ เคยได้รับการสนับสนุนให้เป็นประธานปฏิรูปการเมืองในช่วงที่ผ่านมา[8]

ในปี พ.ศ. 2559 ได้รับมติเอกฉันท์แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์[6]

เหตุการณ์ 14 ตุลา

ในเหตุการณ์วันมหาวิปโยค หรือเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ มีบทบาทเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ซึ่งร่วมในการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และขอให้รัฐบาลในขณะนั้นลาออกด้วย โดยเป็นผู้อ่านประกาศขอให้รัฐบาลปล่อยตัว 13 ขบถรัฐธรรมนูญและเรียกร้องรัฐธรรมนูญภายในเที่ยงของวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516 แต่เมื่อถึงเวลาแล้วรัฐบาลก็หาได้กระทำไม่ การเดินขบวนจึงเกิดขึ้นที่ถนนราชดำเนินยาวไปจนถึงลานพระบรมรูปทรงม้า นายสมบัติและแกนนำผู้ชุมนุมคนอื่น ๆ ได้เป็นตัวแทนของผู้ชุมนุมเข้าเจรจากับทางฝ่ายรัฐบาล และได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เป็นเวลาหลายชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาบ่ายจนถึงพลบค่ำ และเข้าสู่กลางดึก ฝูงชนที่รอคอยผลการเจรจาอยู่ภายนอกเริ่มกระสับกระส่าย และเริ่มที่จะควบคุมความสงบไม่อยู่แล้ว เมื่อนายสมบัติออกมา พบสภาพเช่นนั้น ก็ถึงกับเป็นลมล้มลงไป เนื่องจากเหน็ดเหนื่อยและหิว เพราะไม่ได้รับประทานอาหารติดต่อกันนานหลายชั่วโมงแล้ว[9]

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

ดูบทความหลักที่: วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เข้าร่วมเป็นแนวร่วมคนหนึ่งของกปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) และสนับสนุนแนวคิดปฏิรูปประเทศ ซึ่งนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นหนึ่งในแกนนำที่ถูกศาลอาญา อนุมัติหมายจับในคดีที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา[10] [11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์)
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  3. นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  4. นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  5. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการอำนวยการพรรคการเมืองราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 222ง วันที่ 28 ตุลาคม 2518
  6. 6.0 6.1 "มติเอกฉันท์ 'สมบัติ ธำรงธัญวงศ์' นั่งอธิการบดีม.วลัยลักษณ์". ประชาชาติธุรกิจ. 26 June 2016. สืบค้นเมื่อ 28 June 2016.
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 46ง วันที่ 31 พฤษภาคม 2550
  8. ปชป.ชูอธิการนิด้า ปธ.ปฏิรูปการเมือง สังคมยอมรับ[ลิงก์เสีย]
  9. ประวัติศาสตร์การศึกษา วันมหาวิปโยค 14 ตุลา 16 - 6 ตุลา 19 โดย แปลก เข็มพิลา ISBN 974-7753-87-1
  10. "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 17 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-17. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 17 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๐, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๘, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
Kembali kehalaman sebelumnya