กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ
พลเอก กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ เป็นนายทหารชาวไทย และนักการเมือง ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยศรีวิไลย์ อดีตผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ชวน หลีกภัย) เคยเป็นอดีตเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ และประธานที่ปรึกษาพรรคประชาสันติ และพรรคต้นตระกูลไทย รวมถึงอดีตกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่[1] ประวัติชีวิตส่วนตัวกิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ มีชื่อเล่นว่า อู๊ด หรือ เสธ.อู๊ด เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2489 ที่ตำบลมะขามหย่ง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรชายของนายบุญยืน รัฐประเสริฐ (แซ่เตียว) กับนางสุพรรณี รัฐประเสริฐ (นามสกุลเดิม ยศไกร) พล.อ. กิตติศักดิ์ สมรสกับ ดร.บวรพรรณ รัฐประเสริฐ (นามสกุลเดิม วีระปรีย) บุตรสาวของ พล.อ. ประลอง วีระปรีย กับคุณหญิงวัลลีย์ วีระปรีย (เสนาณรงค์) มีบุตรชาย 2 คนคือ[2]
การศึกษากิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ จบการศึกษาดังนี้
การทำงานราชการทหารตำแหน่งแรกที่ พล.อ. กิตติศักดิ์ ที่รับราชการ คือ ผู้บังคับหมวดทหารช่าง กองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และไปราชการพิเศษที่สาธารณรัฐเวียดนาม ในปี พ.ศ. 2514 - 2515 ในตำแหน่งผู้บังคับหมวดกองร้อยขนส่ง กองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 5 เมื่อครั้งมียศ ร้อยตรี พล.อ. กิตติศักดิ์เคยได้รับโปรดเกล้าเป็นนายทหารราชองครักษ์เวร เคยเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักงานทหารพัฒนา ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2536 - 30 กันยายน พ.ศ. 2539 เมื่อครั้งมียศ พลตรี[3] เป็นผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (อัตรา "พลโท") และได้รับโปรดเกล้าฯเป็น พลเอก เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และเข้าโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดเมื่ออายุได้ 53 ปี โดยมีตำแหน่งสุดท้ายเป็นเลขานุการส่วนตัวและหน้าห้องของ ชวน หลีกภัย ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม การเมืองบทบาทในทางการเมือง พล.อ. กิตติศักดิ์ เคยลงรับเลือกตั้งในพื้นที่เขต 1 กรุงเทพมหานคร (เขตบางซื่อ, เขตดุสิต, เขตราชเทวี) ในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง จากนั้นได้ไปช่วยเหลือ ชิงชัย มงคลธรรม ฟื้นฟูพรรคความหวังใหม่ ขึ้นอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2545 และได้ลาออกไปเมื่อต้นปี พ.ศ. 2546 จากนั้นได้เข้าร่วมกับทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เข้าร่วมการชุมนุมทั้งในปี พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2551 หลังจากนั้นได้เข้าร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ของทางกลุ่มพันธมิตรฯ โดยมีชื่อเป็นกรรมการบริหารพรรคด้วย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ที่ประชุมของพรรคการเมืองใหม่ ได้มีมติส่ง กิตติศักดิ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต 6 กรุงเทพมหานคร (เขตบึงกุ่ม, เขตคลองสามวา, เขตคันนายาว, เขตหนองจอก ) ในการเลือกตั้งแทนที่ ทิวา เงินยวง ส.ส.เก่าของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ถึงแก่กรรมไป ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่ทางพรรคการเมืองใหม่ได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งด้วย แต่ทว่าในวันรุ่งขึ้น พล.อ. กิตติศักดิ์ ได้ประกาศถอนตัว เนื่องจากอ้างว่า สำรวจคะแนนเสียงแล้วไม่ดี และไม่ต้องการแข่งกับผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย คือ ก่อแก้ว พิกุลทอง เนื่องจากได้รับข้อหาผู้ก่อการร้ายในระหว่างเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ซึ่งเรื่องนี้ได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ต่อมามากมาย[4][5] ต่อมา พล.อ. กิตติศักดิ์ได้ลาออกจากพรรคการเมืองใหม่และยุติบทบาททั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแล้ว เพราะเหตุความไม่โปร่งใสในการเป็นกรรมการบริหารพรรคของสมาชิกบางคน[6][7]เป็นปัจจุบันมีตำแหน่งเป็น ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ (ปปช.ภาคประชาชน) และเป็นวิทยากรประจำรายการ ห่วงบ้านห่วงเมือง เป็นประจำทุกวันศุกร์ เวลา 21.00-22.00 น. ทางช่องไททีวี ต่อมาในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคประชาสันติ[8] โดยลงสมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 2 ของพรรค[9] ต่อมาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 10/2558 มีขอเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พล.อ. กิตติศักดิ์ ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นกรรมาธิการวิสามัญและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญฯในเวลาต่อมา เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |