Share to:

 

คตินิยมเชื้อชาติในประเทศไทย

คตินิยมเชื้อชาติในประเทศไทย เป็นเรื่องที่แพร่หลาย[1] แต่มีการกล่าวถึงในที่สาธารณะไม่บ่อยนัก สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ไม่ได้กำหนดเป็น "คตินิยมเชื้อชาติ"; อย่างไรก็ตาม นิยามนี้กำหนดเป็น "การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ": ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ พ.ศ. 2508 ของยูเอ็น "...คำว่า "การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ" จะหมายถึง การจำแนก การกีดกัน การจำกัด หรือการเลือกโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของเชื้อชาติ สีผิว เชื้อสายหรือชาติกำเนิดหรือเผ่าพันธุ์กำเนิด ซึ่งมีเจตนาหรือผลให้เกิดการระงับหรือกีดกั้นการเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และในด้านอื่น ๆ ของการดำรงชีวินในสังคม รวมทั้งการระงับหรือกีดกั้นการใช้สิทธิเหล่านั้นอย่างเสมอภาคของบุคคล"[2] ประเทศไทยได้ยื่นเสนออนุสัญญาสองครั้ง [3][4]กับประเด็นต่อเนื่องรวมถึงนโยบายของรัฐบาลที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายมลายูและการขาดกฎหมายว่าด้วยการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติของประเทศ[4]

การเหยียดชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย

ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทยเป็นกลุ่มที่ถูกเลือกปฏิบัติมาเป็นเวลานานแล้ว โดยเฉพาะชาวเขากว่าหนึ่งล้านคนที่ยังถูกมองว่าเป็นพวกคนขายยาเสพติดที่ไม่รู้หนังสือหรือพวกปลูกฝิ่นอยู่ โดยมีสื่อในประเทศส่งเสริมภาพลักษณ์นี้ ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กล่าวไว้ว่าความคิดแบบนี้นั้นไม่ได้เป็นมาตลอด

"ก่อนหน้านี้ พวกเขา (ชาวเขา) ถูกคนทั่วไปที่อาศัยอยู่บนพื้นราบมองว่าเป็นทั้งเพื่อนและคู่ค้า รวมไปถึงมีความสัมพันธ์แบบการอยู่ร่วมกัน ทว่าปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นหลังเริ่มใช้แผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจเมื่อประมาณช่วงปีพ.ศ. 2503 ไปจนถึงพ.ศ. 2523 และการอพยพเข้ามาของชาวเวียดนามในช่วงสงครามเวียดนาม ได้เปลี่ยนความสัมพันธ์นี้ตลอดไป ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพวกชาวเขากลายเป็นศัตรู หรือ 'พวกนั้น' การมองว่าคนที่ไม่ใช่คนไทยนั้นไม่ได้เป็นพวกเดียวกันกับ 'พวกเรา' และการมองพวกเขาเป็นผู้ร้าย นั้นฝังอยู่ในตำราเรียน ในประวัติศาสตร์ไทย และในสื่อทั่วไป" [5]

การวิสามัญฆาตกรรม การทรมาน การหายตัวไป และการข่มขู่ชาวเขาโดยตำรวจและทหารไทยนั้นไร้ความปราณีมากกว่าทั่วไปภายใต้นโยบายต้านยาเสพติดของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเริ่มต้นในปีพ.ศ. 2546 [6]

มุสลิม มลายู อาณาจักรปัตตานีของภาคใต้ของประเทศไทยได้ถูกรวมเป็นประเทศไทยในปี พ.ศ. 2329 ชาวไทยเชื้อสายมลายูมักถูกเรียกว่าแขกและตกเป็นเป้าของการเหยียดและกดขี่ทางการเมืองโดยเฉพาะในช่วงของที่ปกครองโดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม และนโยบายการแผลงเป็นไทยในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยโดยกลุ่มผู้ก่อการร้ายมลายูในสิบปีทีผ่านมาถูกตอบโต้อย่างเด็ดขาดโดยรัฐบาลไทย โดยเฉพาะภายใต้การบริหารของทักษิณ ชินวัตร[7][8]

ชาวไทยเชื้อสายจีนซึ่งจำนวนประมาณ 14% ของประชากรไทยทั้งหมด เคยถูกเลือกปฏิบัติจากคนไทยในอดีตเช่นกัน โดยมีช่วงหนึ่งที่โรงเรียนสอนภาษาจีนถูกปิด และพวกที่มีต้นตระกูลจีนยังถูกบังคับให้เปลี่ยนนามสกุลให้เหมือนภาษาไทย อย่างไรก็ดีชาวจีนในประเทศไทยปัจจุบัน ได้รับความสำเร็จอย่างสูงทั้งในสังคมและทางเศรษฐกิจ และมีอิทธิพลทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมากในปัจจุบัน​

ประเทศไทยยังมีปัญหาเรื่องการเหยียดเชื้อชาติชาวตะวันออกกลางอีกด้วย[citation needed] พวกเขาถูกเรียกรวม ๆ ว่าแขก ซึ่งหมายถึงคนต่างชาติ หรือ คนนอก คำนี้เป็นคำที่เคยใช้ในสมัยอยุธยาและยังใช้ได้ในปัจจุบันทั้งในเชิงทั่วไป และในเชิงเหยียด[9]

ความเดียดฉันท์ต่อคนผิวเข้ม

"ความคิดที่ว่าผิวขาวดีและผิวดำไม่ดีนั้นถูกฝังอยู่ในวัฒนธรรมไทย โดยไม่มีทีท่าว่าจะเปลี่ยน[10]"
—ยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์สาขามานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เช่นเดียวกับส่วนใหญ่ในทวีปเอเชีย ผิวเข้มนั้นถูกโยงเข้ากับการทำงานใช้แรงงานกลางแจ้งและชนชั้นล่าง ทว่าไม่ได้ถูกเชื่อมโยงกับทาสอย่างทางตะวันตก[10][11] ส่วนใหญ่แล้วคนไทยไม่เคยพบกับชาวแอฟริกา ดังนั้นอคติต่อชาวแอฟริกาจึงถูกซึมซับผ่านภาพยนตร์ของชาวตะวันตก[12]

แม้สังคมไทยในปัจจุบันได้นำอุดมคติหลายอย่างเกี่ยวกับความสวยแบบตะวันตกและความสวยแบบเอเชียตะวันออก (โดยเฉพาะญี่ปุ่นและเกาหลีใต้) มาใช้ ทัศนคติของชาวเอเชียเกี่ยวกับสีผิวนั้นมีอยู่เป็นเวลานานแล้ว วัฒนธรรมอินเดียได้ซึมซาบไปในอารยธรรมแรกเริ่มของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมไปถึงอุดมคติที่ว่าผิวขาวดีกว่าผิวเข้ม สินค้าสกินไวเทนนิงซึ่งช่วยทำให้ผิวขาวขึ้นได้รับความนิยมเป็นวงกว้างในทวีปเอเชีย รวมไปถึงประเทศไทย และยังส่งเสริมความคิดที่ว่าผิวขาวนั้นสวยและมีเสน่ห์[13]

ความเกลียดกลัวชาวต่างชาติ

ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 พระมหากษัตริย์และเจ้านายหลายพระองค์ชักชวนให้ราษฎรเกลียดคนจีน โดยยกว่าเป็นเจ้าภาษีนายอากรที่ขูดรีดภาษีสูง ทำให้ประชาชนยากลำบาก รัชกาลที่ 6 ทรงเรียกคนจีนว่า "ยิวในบูรพทิศ" การต่อต้านคนจีนออกมาเป็นนโยบายในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม[14]: 226–8 

ทัศนคติของคนไทยต่อประเทศพม่าเกิดจากสื่อที่ชี้นำโดยประเทศแม่ (ethnocentric) ในช่วงปี พ.ศ. 2533 ถึง 2543 และระบบการศึกษาแบบชาตินิยมซึ่งสอนว่าประเทศพม่าเป็นศัตรูกับประเทศไทยมานานบนฐานของสงครามครั้งแล้วครั้งเล่าระหว่างสองประเทศตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา มุมมองด้านลบนี้ถูกเพิ่มความนิยมผ่านนิยายและภาพยนตร์ โดยการแสดงวีรบุรุษชาวไทยต่อสู้กับตัวโกงชาวพม่า ตัวอย่างของภาพยนตร์แนวนี้มีเรื่องบางระจัน (พ.ศ. 2543),  สุริโยไท (พ.ศ. 2544)[15] ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2550–2558) และสียามา (พ.ศ. 2551)

บทวิจารณ์แรง ๆ ต่อรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 โดยประเทศอย่างสหรัฐและออสเตรเลียก่อให้เกิด "ทัศนคติต่อต้านชาวต่างชาติ" ในหมู่ชาวไทยซึ่งสนับสนุนรัฐประหาร[16] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ผู้ตรวจการแผ่นดิน ศาสตราจารย์ ศรีราชา วงศารยางกูร โทษชาวต่างชาติว่าเป็นต้นเหตุให้ชาวไทยเป็นเจ้าของที่ดินได้ยากขึ้น โดยอ้างผิด ๆ ว่าหนึ่งในสามของพื้นที่ประเทศไทยประมาณ 100 ล้านไร่ หรือ 160,000 ตารางกิโลเมตร ของพื้นที่ซึ่งเคยเป็นรีสอร์ทชายทะเล ตอนนี้มีเจ้าของเป็นชาวต่างชาติผ่านตัวแทน และได้มาจากการทุจริตและการใช้ช่องโหว่ทางกฎหมาย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เป็นผู้ให้ข้อมูลตัวเลขเหล่านี้[17][18]

เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียและชาวยุโรปตะวันออกเข้าจังหวัดภูเก็ตจำนวนมาก ทำให้เกิดการประท้วงโดยมีป้ายที่เขียนว่า "ชาวรัสเซียจงออกไป" ในจังหวัดภูเก็ต[19] ประเด็นอื่น ๆ ได้แก่ การที่คณะกรรมการการท่องเที่ยวสิงคโปร์จัดงานสงกรานต์ในประเทศสิงคโปร์โดยทั้งคนไทยในสิงคโปร์และทางการไทยไม่สนับสนุน[20] สิงคโปร์ถูกกล่าวหาว่า "ขโมยสงกรานต์ของพวกเราชาวไทย"[21] โดยทางการขู่ฟ้อง[22]

ใน พ.ศ. 2557 ทางการไทยเริ่มตรวจหนังสือเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวจีนซึ่งต้องการเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยในเชียงใหม่เนื่องจากนักท่องเที่ยวใช้รถประจำทางของนักศึกษา เข้าไปนั่งเรียน และรับประทานอาหารในโรงอาหารนักศึกษา[23] ทัศนคตินิยมการต่อต้านชาวกัมพูชา (ซึ่งสูงอยู่แล้วจากปัญหาเรื่องเขตชายแดนที่ปราสาทพระวิหาร) ได้ถูกสุเทพ เทือกสุบรรณ (เลขาธิการ กปปส.) ปลุกเร้า เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองใน พ.ศ. 2557[24]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Draper, John; Sobieszczyk, Teresa; Crumpton, Charles David; Lefferts, H. L.; Chachavalpongpun, Pavin (2019-07-03). "Racial "Othering" in Thailand: Quantitative Evidence, Causes, and Consequences". Nationalism and Ethnic Politics. 25 (3): 251–272. doi:10.1080/13537113.2019.1639425. ISSN 1353-7113. S2CID 202284379.
  2. "International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination". United Nations. Adopted December 1965, entered into force January 1969. สืบค้นเมื่อ 22 February 2016.
  3. International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination; Reports submitted by States parties under article 9 of the Convention : Thailand (PDF) (ภาษาอังกฤษ และ ไทย). United Nations Committee on the Elimination of Racial Discrimination. 28 July 2011. pp. 3, 5, 95. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-09. สืบค้นเมื่อ 8 October 2016.
  4. 4.0 4.1 Committee on the Elimination of Racial Discrimination. Reports Submitted by States Parties under Article 9 of the Convention. Combined Fourth to Eighth Reports Submitted by Thailand under Article 9 of the Convention, Due in 2016: Thailand. United Nations Committee on the Elimination of Racial Discrimination. 2019.
  5. "Asia Times: Thai hilltribes battling discrimination". atimes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
  6. "THAILAND: Crime of the State: Enforced disappearance, killings and impunity — Asian Human Rights Commission". humanrights.asia. สืบค้นเมื่อ 2014-06-27.
  7. "The Muslim Insurgency in Southern Thailand - Council on Foreign Relations". cfr.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-05. สืบค้นเมื่อ 2014-06-08.
  8. "Asia Research Institute Working Paper Series No. 32 Origins of Malay Muslim "Separatism" in Southern Thailand" (PDF). 22 October 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
  9. "Review of Southern Thai Encyclopedia". asiapacific.anu.edu.au. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
  10. 10.0 10.1 "Images Spark Racism Debate in Thailand : The New Yorker". newyorker.com. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
  11. "Thailand's Racism Problem - Black Listed - EBONY". ebony.com. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
  12. "NPR: Racism on the Silver Screen". npr.org. สืบค้นเมื่อ 2014-06-08.
  13. Napat Chaipraditkul (6 August 2013). "Thailand: beauty and globalized self-identity through cosmetic therapy and skin lightening" (PDF). ETHICS IN SCIENCE AND ENVIRONMENTAL POLITICS. 13: 27–37. doi:10.3354/esep00134. สืบค้นเมื่อ 2014-06-08.
  14. จิตร ภูมิศักดิ์. (2550). โฉมหน้าศักดินาไทย, กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, พิมพ์ครั้งที่ 9, ISBN 9789748075242. (สาธารณสมบัติ)
  15. Glen Lewis: Virtual Thailand, published 2006, p. 53-54
  16. "Xenophobia no solution | Bangkok Post: opinion". bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
  17. "Foreigners own one third of Thailand? | Bangkok Post: learning". bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
  18. "Office of the Ombudsman Thailand". ombudsman.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-13. สืบค้นเมื่อ 2014-06-27.
  19. "Xenophobia strikes out in Phuket". phuketgazette.net. สืบค้นเมื่อ 2018-09-29.
  20. "Songkran Water Festival Goes Waterless in Singapore · Global Voices". globalvoices.org. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
  21. "Thailand's Fragile Face". chiangmaicitynews.com. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
  22. "Official threatens to sue Singapore over Songkran | Bangkok Post: news". bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
  23. "Anti-Chinese feelings in Thailand high as influx of tourists angers locals | South China Morning Post". scmp.com. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
  24. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ 2016-03-11.
Kembali kehalaman sebelumnya