Share to:

 

มรกต กรเกษม

มรกต กรเกษม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
7 มีนาคม พ.ศ. 2550 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ก่อนหน้าอนุทิน ชาญวีรกูล
ถัดไปวิชาญ มีนชัยนันท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 ตุลาคม พ.ศ. 2476 (91 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสวันดี กรเกษม

นายแพทย์ มรกต กรเกษม เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของพลเอกสุรุยทธ์ จุลานนท์ และอดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ประวัติ

มรกต กรเกษม เกิดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2476 เป็นบุตรของนายชุมพร กับนางแถมสิน กรเกษม[1] สำเร็จการศึกษาแพทย์ศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ. 2501 และปริญญาโท สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2507 ด้านครอบครัวสมรสกับนางวันดี กรเกษม มีบุตร 4 คน คือ นายกุลดิลก กรเกษม นายอลงกรณ์ กรเกษม นายศรันย์ กรเกษม และนางสาวปาริฉัตร กรเกษม

การทำงาน

มรกต กรเกษม เริ่มรับราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในตำแหน่งหัวหน้าหน่วยแพทย์พระราชทานรักษาประชาชน ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี พ.ศ. 2501 จากนั้นได้รับตำแหน่งหัวหน้าสถานีอนามัย ในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อจากนั้นได้รับราชการและได้รับการเลื่อนตำแหน่งเรื่อยมาเป็น นายแพทย์อนามัยจังหวัดสมุทรสงคราม นายแพทย์ตรวจราชการสาธารณสุข ผู้อำนวยการกองอนามัยครอบครัว

ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้รับตำแหน่งนายแพทย์ใหญ่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองอธิบดีกรมอนามัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการ คือ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

งานการเมือง

มรกต กรเกษม เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ร่วมลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540[2]

ใน พ.ศ. 2549 ได้รับตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์มงคล ณ สงขลา)[3] และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายมรกต กรเกษม[ลิงก์เสีย]
  2. นายกรัฐมนตรีพระราชทาน
  3. ประวัตินายแพทย์มรกต กรเกษม[ลิงก์เสีย]
  4. ราชกิจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑๗๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
Kembali kehalaman sebelumnya