ประดิษฐ สินธวณรงค์
นายแพทย์ ประดิษฐ สินธวณรงค์ (เกิด 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2502) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประวัติน.พ.ประดิษฐ เกิดเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และปริญญาโท สาธารณสุขศาสตร์ สาขาบริหารงานสาธารณสุขระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา[1] น.พ.ประดิษฐ สมรสกับนางรัชนีกร สินธวณรงค์ มีบุตรสาว 1 คน คือ ด.ญ.พรู สินธวณรงค์ การทำงานน.พ.ประดิษฐ เคยรับราชการเป็นนายแพทย์ประจำโรงพยาบาลธัญญารักษ์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2528 ถึงปี พ.ศ. 2531 จากนั้นจึงได้ลาออกจากราชการเพื่อมาประกอบธุรกิจ เคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัทเดคคอร์มาร์ท จำกัด, บริษัทเจแอนด์ดับบลิว ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด และกรรมการบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)[1] น.พ.ประดิษฐ เริ่มเข้ามามีบทบาทในทางการเมืองเมื่อได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทย ในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555[2] น.พ.ประดิษฐ มีผลงานในการพัฒนาระบบสาธารณสุขที่สำคัญ โดยริเริ่มให้มีการปฏิรูปโครงสร้างกระทรวงสาธารณสุข และจัดทำแผนพัฒนาระบบสุขภาพ (Service Plan) พัฒนาขีดความสามารถใน 10 สาขาบริการที่เป็นปัญหาของประเทศ [3] ต่อยอดโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ลดความเหลื่อมล้ำระหว่าง 3 กองทุนสุขภาพ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และกองทุนประกันสังคม โดยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินรับการรักษาได้ทุกที่ ไม่ต้องสำรองจ่าย ซึ่งนโยบายนี้ประชาชนให้ความพึงพอใจเป็นอันดับหนึ่งได้คะแนนความพึงพอใจ 7.94 คะแนน (คะแนนเต็ม 10) จากผลสำรวจของเอแบคโพลล์[4] เพิ่มวงเงินรักษาพยาบาลประกันภัยบุคคลที่สามจาก 15,000 บาท เป็น 30,000 บาททำให้ผู้ประสบภัยได้รับการคุ้มครองมากขึ้น[5] จัดทำระบบหลักประกันสุขภาพให้ข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และครอบครัวกว่าเจ็ดแสนคน ได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนข้าราชการและให้อยู่ในความดูแลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ[6] ริเริ่มแนวคิดให้มีการประกันเจ็บป่วยฉุกเฉินแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยมีแนวคิดที่จะเก็บเงินรวมอยู่ในค่าเดินทางเข้ามาประเทศ (Landing Free)[7] ออกระเบียบข้อบังคับเพิ่มขนาดภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ให้ใหญ่ขึ้นร้อยละ 85 ของพื้นที่ซอง จนได้รับรางวัลพิเศษบุหรี่แห่งโลกจากองค์การอนามัยโลก ในปี 2556 โดยประเทศไทยเป็น 1 ใน 2 ประเทศจากทั่วโลกที่ได้รับรางวัล[8] ริเริ่มนโยบายการดูแลสุขภาพประชาชน 5 กลุ่มวัย ทั้งในกลุ่มเด็กและสตรี โดยให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ที่สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ตามนโยบายฝากท้องทุกที่ฟรีทุกสิทธิ์ และส่งเสริมทารกกินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน จนได้รับความชื่นชมจาก UNICEF และ WHO[9] กลุ่มเด็กปฐมวัย อายุ 3-5 ปี ให้ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ยกมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล รวม 46,000 แห่ง เป็นสถานที่ปลอดโรคปลอดภัย กลุ่มวัยรุ่นและวัยเรียน อายุ 6-15 ปี ให้ได้รับวัคซีนกระตุ้นตามเกณฑ์ เน้นการให้คำปรึกษาคุณภาพป้องกันปัญหาจากพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ อาทิ ยาเสพติด บุหรี่ สุรา ท้องไม่พร้อม และการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ฯลฯ กลุ่มวัยทำงาน อายุ 15- 60 ปี รักษาภูมิต้านทานต่อปัญหาด้านสุขภาพที่เป็นผลมาจากพฤติกรรม และให้มีการปรับพฤติกรรมลดเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง กลุ่มผู้สูงวัยและผู้พิการ โดยจัดระบบดูแลผู้สูงอายุในชุมชน LTOP (Long-Term Care Service Development for the Frail Elderly and Other Vulnerable People) ร่วมกับ JICA (Japan International Cooperation Agency) ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพแรงงานต่างชาติและครอบครัวที่อยู่ในไทยให้เข้าถึงบริการสุขภาพในพื้นที่ได้อย่างถ้วนหน้า รวมทั้งส่งเสริมการเข้าถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์แก่หญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มแรงงานต่างชาติที่ติดเชื้อเอชไอวี[10] เพื่อลดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกได้เป็นผลสำเร็จ นพ.ประดิษฐ ยังเป็นผู้ผลักดันให้มีการเพิ่มตำแหน่งข้าราชการ และพนักงานกระทรวงสาธารณสุขกว่า 30,000 ตำแหน่ง ทยอยจัดสรร ในปี พ.ศ. 2556-2558[11] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|