อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม[1] เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังธรรม เป็นประธานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าและเครือข่ายลดอุบัติเหตุ, ที่ปรึกษาคณะกรรมการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. และนักจัดรายการวิทยุคลื่น FM 96.5 MHz คลื่นความคิด"รายการดนตรีและชีวิต" ประวัติศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2485 เป็นบุตรของนายประชา กับนางพาณี ศรีแสงนาม จบการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ และ สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิตจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ. 2511, Fellowship of the Royal College of Physicians, มหาวิทยาลัยเอดินบะระ (University of Edinburgh) ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางมรกต ศรีแสงนาม (สกุลเดิม:ดวงพัตรา) มีบุตร-ธิดา 4 คน ศ.นพ.อุดมศิลป์ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2566 สิริอายุรวม 80 ปี[2] การทำงานศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม เป็นอดีตรองคณบดีฝ่ายพัฒนาบุคลากร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล อดีตเลขาธิการพรรคพลังธรรม เขาเคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 5 เขตห้วยขวาง และเขตพระโขนง (บางส่วน) ครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 สังกัดพรรคพลังธรรม โดยได้รับเลือกตั้งพร้อมกับ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคพลังธรรมเช่นเดิม ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย[3] พร้อมกับนายรักเกียรติ สุขธนะ และนายเอนก ทับสุวรรณ ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2537 เป็นบุคคลริเริ่มผลักดันจนสามารถตั้งสถาบันสุขภาพจิต (กรมสุขภาพจิต) และ สถาบันแพทย์แผนไทย (กรมแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก), เป็นผู้ก่อตั้งและนายกสมาคมสะมาริตันส์ แห่ง ประเทศไทย (Samaritans Thailand) เมื่อ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นสมาคมที่ให้บริการเป็นเพื่อนพูดคุยทางโทรศัพท์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย [4] อีกทั้งเป็นผู้จุดประกายกระแสการวิ่งเพื่อสุขภาพ เขียนหนังสือสร้างแรงบันดาลใจ "วิ่งสู่ชีวิตใหม่" (พ.ศ. 2539) จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน [5] ต่อมาเขาได้เข้าร่วมงานกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ในตำแหน่งรองผู้จัดการ และตำแหน่งที่ปรึกษาคณะกรรมการ[6] เขาได้รับรางวัล "สังข์เงิน" ผลงานดีเด่นด้านส่งเสริมสุขภาพพลานามัย รางวัล "บุคคลตัวอย่างแห่งปี 2541" รางวัล "บุคคลยอดเยี่ยมด้านการบำบัดฟื้นฟูและพัฒนาผู้ติดยาเสพติด" รางวัล "มหิดลทยากร" ปี 2551 [7] อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม มีบทบาทในการรณรงค์ "วิ่งสู่ชีวิตใหม่" โดยการสร้างความตระหนักให้คนหันมาออกกำลังกายมากขึ้น[8][9] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|