สันตศักย์ จรูญ งามพิเชษฐ์
สันตศักย์ จรูญ งามพิเชษฐ์ อดีตที่ปรึกษาบริษัท เจ.เอ.เอ็น. อินเตอร์ ลอว์ จำกัด [2]อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังชล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 6 สมัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 9 จังหวัดชลบุรี อดีตแกนนำพรรคพลังชล และสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ประวัติสันตศักย์ จรูญ งามพิเชษฐ์ เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2484 ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรของนายเลี่ยงชั้น แซ่โง้ว กับนางเต้าหู้ แซ่เบ๊ จบการศึกษาชั้นมัธยมปลาย จากโรงเรียนชลราษฎรอำรุง จังหวัดชลบุรี และปริญญาด้านบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยบูรพา ระดับปริญญาโท ด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และจบปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี นอกจากนั้นยังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นแปซิฟิค แคลิฟอร์เนีย สันตศักย์ จรูญ งามพิเชษฐ์ สมรสกับนางพัชรา งามพิเชษฐ์ (เสียชีวิตแล้ว) มีบุตร 5 คน ได้แก่
สันตศักย์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่โรงพยาบาลวิมุต กรุงเทพมหานคร สิริอายุรวม 80 ปี 2 เดือน 9 วัน ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมฯ พระราชทานโกศแปดเหลี่ยม พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ต่อมาในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พระราชทานเพลิงศพ ณ ศาลา 3 วัดชัยมงคล อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี การทำงานสันตศักย์ งามพิเชษฐ์ เป็นนักการเมืองท้องถิ่น เคยดำรงตำแหน่งเทศมนตรีเมืองชลบุรี ในระหว่างปี พ.ศ. 2525 จนถึง 2526 จากนั้นได้เข้าสู่งานการเมืองระดับชาติ โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2526 เป็นสมัยแรก และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. อีกหลายสมัย ต่อมาในรัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร จึงได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข[3][4] ใน พ.ศ. 2549 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดชลบุรี กระทั่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับ ส.ส.กลุ่มชลบุรี ในนามพรรคพลังชล โดยนายจรูญ ได้ลงสมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 ของพรรค[5] และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60แต่งตั้งให้เป็นรองประธานกรรมการในคณะกรรมการประสานงานผู้แทนราษฎรคนที่ 8 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคพลังชล[6] แต่การเลือกตั้งครั้งดังกล่าว เป็นโมฆะตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ใน พ.ศ. 2561 สันตศักย์ พร้อมกับสมาชิกของพรรคพลังชลจำนวนหนึ่ง ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ[7] ในปี 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ลำดับที่ 51[8] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|