เกแบ็ก
ธง
ตราอาร์ม
คำขวัญ: พิกัด: 52°N 72°W / 52°N 72°W / 52; -72 ประเทศ แคนาดา เข้าร่วมสมาพันธ์ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1867 (1 ร่วมกับรัฐออนแทรีโอ , โนวาสโกเชีย และนิวบรันสวิก ) เมืองหลวง นครเกแบ็ก เมืองใหญ่สุด มอนทรีออล เขตมหานครใหญ่สุด เกรเทอร์มอนทรีออล
การปกครอง • ประเภท ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ • องค์กร รัฐบาลเกแบ็ก • Lieutenant Governor J. Michel Doyon • นายกเทศมนตรี François Legault (CAQ ) Legislature National Assembly of Quebec Federal representation Parliament of Canada สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 78 จาก 338 (23.1%) สมาชิกวุฒิสภา 24 จาก 105 (22.9%)
พื้นที่ • ทั้งหมด 1,542,056 ตร.กม. (595,391 ตร.ไมล์) • พื้นดิน 1,365,128 ตร.กม. (527,079 ตร.ไมล์) • พื้นน้ำ 176,928 ตร.กม. (68,312 ตร.ไมล์) 11.5% อันดับพื้นที่ อันดับที่ 2 ร้อยละ 15.4 ของแคนาดา ประชากร (2016)
• ทั้งหมด 8,164,361 [ 1] คน • ประมาณ (ไตรมาสที่ 4 ค.ศ. 2020)
8,575,779 [ 2] คน • อันดับ อันดับที่ 2 • ความหนาแน่น 5.98 คน/ตร.กม. (15.5 คน/ตร.ไมล์) เดมะนิม อังกฤษ: รัฐเกแบ็กเกอร์ ฝรั่งเศส: Québécois (ช)[ 3] Québécoise (ญ)[ 3] ภาษาราชการ ฝรั่งเศส [ 4] ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ • อันดับ 2 • ทั้งหมด (2015) C$380.972 พันล้าน[ 5] • ต่อหัว C$46,126 (อันดับที่ 10) ดัชนีการพัฒนามนุษย์ • HDI (2018) 0.908[ 6] — สูงมาก (อันดับที่ 5) เขตเวลา ส่วนใหญ่ของรัฐ UTC-05:00 (เขตเวลาตะวันออก ) • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง ) UTC-04:00 Magdalen Islands and Listuguj Mi'gmaq First Nation UTC-04:00 (เขตเวลาแอตแลนติก ) • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง ) UTC-03:00 รหัสไปรษณีย์ QC[ 7] คำนำหน้ารหัสไปรษณีย์ G, H, J รหัส ISO 3166 CA-QC ดอกไม้ บลูแฟล็กไอริส [ 8] ต้นไม้ ต้นเบอร์ชเหลือง [ 8] นก นกเค้าแมวหิมะ [ 8] * อันดับนับรวมทั้งรัฐและดินแดน
เกแบ็ก [ 9] (ฝรั่งเศส : Québec ) หรือ ควิเบก [ 9] (อังกฤษ : Quebec ) เป็นรัฐ ที่ใหญ่ที่สุดของแคนาดา อยู่ทางตะวันออกของประเทศ และเป็นรัฐเดียวที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาทางการในระดับรัฐ แต่ใช้ภาษาฝรั่งเศส แทน รัฐเกแบ็กมีเมืองหลวงในชื่อเดียวกันคือนครเกแบ็ก และเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือมอนทรีออล
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์และประชากรศาสตร์
รัฐเกแบ็กมีพื้นที่ 1,542,056 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าประเทศไทย ถึงสามเท่า (513,120 ตารางกิโลเมตร) หรือใหญ่กว่าประเทศญี่ปุ่น สี่เท่าตัว (377,944 ตารางกิโลเมตร) ตั้งอยู่ที่ละติจูด 17–22 องศาเหนือ
เมืองหลวงของรัฐเกแบ็กคือ นครเกแบ็ก ซึ่งมีประชากรมากเป็นอันดับสองของรัฐ
เมืองที่มีความสำคัญของรัฐคือ เมืองมอนทรีออล (Montreal) ซึ่งเป็นเมืองเศรษฐกิจและมีประชากรมากที่สุดของรัฐและยังเป็นเมืองที่ใหญ่และสำคัญเป็นอันดับสามของแคนาดารองจากโทรอนโต และแวนคูเวอร์
ความหนาแน่นของประชากรเบาบางมากมีประชากรห้าคนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร ทางตอนเหนือของเกแบ็กมีประชากรอาศัยอยู่น้อยมาก
ร้อยละ 8 จะอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ (St. Lawrence)
มีประชากรอาศัยอยู่ 7,669,100 คน
ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
ดินแดนนี้ค้นพบและสร้างเป็นอาณานิคม ฝรั่งเศส ใหม่โดยฝรั่งเศส เนื่องจากฝรั่งเศส เป็นชาติแรกที่ค้นพบดินแดนแคนาดา แต่ภายหลังได้มีปัญหากับอังกฤษ ดินแดนนี้จึงถูกโอนไปเป็นของอังกฤษ และเมื่ออังกฤษให้เอกราชจึงถูกรวมไปกับประเทศแคนาดา โดยปริยาย
ชาวเกแบ็กซึ่งเรียกตัวเองว่า Québécois (อ่าน เกเบกัว, ภาษาอังกฤษเรียก Quebecer อ่าน ควิเบเกอร์) รักชาติกำเนิดของตัวเองมากและค่อนข้างเป็นชาตินิยม เห็นได้จากประโยคหนึ่งบนป้ายทะเบียนรถยนต์ทุกคันของรัฐนี้ คือ Je me souviens (= ฉันยังจำได้)
ประชากรร้อยละ 83 ใช้ภาษาฝรั่งเศส ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกแบ็กเป็นดินแดนที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสมากที่สุดของอเมริกาเหนือ และประกาศให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ (ส่วนภาษาอังกฤษ เป็นภาษาทางการของประเทศแคนาดา)
นอกจากภาษาฝรั่งเศสแล้วยังมีการใช้ภาษาอื่นอยู่บ้างแต่ค่อนข้างน้อยมาก อย่างเช่นภาษาอังกฤษประมาณร้อยละ 8 ของประชากรเกแบ็ก
ชาวเกแบ็กยังคงใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่และยังบังคับใช้กฎหมายให้ห้างร้านหน่วยงานของรัฐใช้เป็นภาษาหลัก ด้วยเหตุนี้ภาษาทางการของแคนาดาจึงมีสองภาษาดังที่กล่าวข้างต้น
ด้านศิลปวัฒนธรรมของที่นี่จะเป็นแบบฝรั่งเศส แต่ชาวเกแบ็กส่วนใหญ่มักดำเนินชีวิตแบบผสมผสาน ทั้งในแบบฝรั่งเศสและอังกฤษ เช่น เวลาอาหารเย็นของชาวเกแบ็กจะเป็นแบบอังกฤษ คือจะเริ่มรับประทานตั้งแต่ประมาณ 6 โมงเย็นเป็นต้นไป แต่ก็นิยมดื่มกาแฟมากกว่าชา ชาวเกแบ็กบางส่วน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ยังนิยมรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดแบบอเมริกันด้วย
อย่างไรก็ดี ด้วยความเป็นชาตินิยมของชาวเกแบ็ก ได้มีการเรียกร้องขอเอกราชเพื่อแยกประเทศออกจากแคนาดาอยู่หลายครั้งแต่ก็ต้องล้มเหลวเนื่องมาจากผลการลงประชามติ กล่าวกันว่า ด้วยเหตุที่เกแบ็กเป็นรัฐที่ร่ำรวยมากของแคนาดาและมีเมืองมอนทรีออลซึ่งเป็นเมืองการค้าสำคัญที่กุมเศรษฐกิจในอเมริกาเหนือไว้ส่วนหนึ่ง หน่วยงานบางหน่วยของรัฐบาลกลางแคนาดาจึงใช้เงินในการจ้างและปล่อยโฆษณาชวนเชื่อให้ผู้อพยพต่างชาติที่พำนักในเกแบ็กให้โหวตว่าไม่ขอแยกจากประเทศแคนาดา
มอนทรีออล มหานครประเทศกลุ่มพูดภาษาฝรั่งเศสของทวีปอเมริกาเหนือ
อ้างอิง
↑ "Population and dwelling counts, for Canada, provinces and territories, 2016 and 2011 censuses" . Statistics Canada . February 8, 2017. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2017. สืบค้นเมื่อ February 12, 2017 .
↑ "Population by year of Canada of Canada and territories" . Statistics Canada . September 26, 2014. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ June 19, 2016. สืบค้นเมื่อ March 20, 2016 .
↑ 3.0 3.1 The term Québécois (feminine: Québécoise ), which is usually reserved for francophone Quebecers, may be rendered in English without both e-acute (é ) : Quebecois (fem.: Quebecoise ). (Oxford Guide to Canadian English Usage ; ISBN 0-19-541619-8 ; p. 335)
↑ Office Québécois de la langue francaise. "Status of the French language" . Government of Quebec. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 14, 2011. สืบค้นเมื่อ November 10, 2010 .
↑ "Gross domestic product, expenditure-based, by province and territory (2015)" . Statistics Canada. November 9, 2016. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ September 19, 2012. สืบค้นเมื่อ January 13, 2017 .
↑ "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab" . globaldatalab.org . สืบค้นเมื่อ 2020-06-18 .
↑ Canada Post (January 17, 2011). "Addressing Guidelines" . Canada Post Corporation. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2008. สืบค้นเมื่อ July 12, 2011 .
↑ 8.0 8.1 8.2 "Québec's Symbols - Le Québec à grands traits - Secrétariat du Québec aux relations canadiennes" . www.sqrc.gouv.qc.ca (ภาษาอังกฤษ).
↑ 9.0 9.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF) . ราชกิจจานุเบกษา . 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
แหล่งข้อมูลอื่น
รัฐเกแบ็ก ที่เว็บไซต์ Curlie
คู่มือการท่องเที่ยว Quebec จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
สถานที่ใกล้เคียงกับรัฐเกแบ็ก
การเป็นสมาชิก
สมาชิก สมาชิกภูมิภาค สมาชิกสมทบ ผู้สังเกตการณ์ ผู้ที่ถูกระงับ
องค์การ เลขาธิการ วัฒนธรรม