ประเทศอิเควทอเรียลกินี
อิเควทอเรียลกินี (อังกฤษ: Equatorial Guinea; สเปน: Guinea Ecuatorial;[a] ฝรั่งเศส: Guinée équatoriale; โปรตุเกส: Guiné Equatorial) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิเควทอเรียลกินี (อังกฤษ: Republic of Equatorial Guinea; สเปน: República de Guinea Ecuatorial, ฝรั่งเศส: République de Guinée équatoriale, โปรตุเกส: República da Guiné Equatorial)[b] เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก มีอาณาเขตติดกับประเทศแคเมอรูนทางทิศเหนือ ประเทศกาบองทางทิศใต้และทิศตะวันตก อ่าวกินีทางทิศตะวันตก และอยู่ใกล้ ๆ ประเทศเซาตูแมอีปริงซีปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประวัติศาสตร์เดิมอิเควทอเรียลกินีเคยอยู่ภายใต้การปกครองของโปรตุเกส และต่อมาตกเป็นอาณานิคมของสเปนเป็นเวลาถึง 190 ปี ตั้งแต่ปี 2321 จนได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2511 การเมืองนาย Macias Nguema ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกและเป็นผู้สถาปนาระบบการปกครองแบบพรรคเดียวในปี 2513 ภายใต้ระบบการปกครองเผด็จการของประธานาธิบดี ประชาชนกว่า 1 ใน 3 ของประเทศถูกสังหารหรือหนีออกนอกประเทศ จนเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2515 นาย Macias Nguema ได้สถาปนาตนเองเป็นประธานาธิบดีตลอดกาล (President-for-Life) แต่ต่อมา ได้ถูกโค่นล้มโดยรัฐประหารในเดือนสิงหาคม 2522 ภายใต้การนำของพันเอก Teodoro Obiang Nguema Mbasogo รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นหลานชายของนาย Macias Nguema จากนั้น คณะนายทหารจึงเป็นองค์กรทางการเมืองที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการบริหารปกครองประเทศ รัฐธรรมนูญ ฉบับวันที่ 12 ตุลาคม 2525 เปิดโอกาสให้มีการจัดตั้งพรรคฝ่ายค้านที่ถูกต้องตามกฎหมาย หลังจากนั้น ในปี 2534 ประธานาธิบดี Obiang ได้สถาปนาระบบการเมืองหลายพรรคขึ้น โดยจัดให้มีการเลือกตั้งแบบหลายพรรคขึ้นครั้งแรกในปี 2539 อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติแล้ว พรรค Partido Democrático de Guinea Ecuatorial (PDGE) ของนาย Obiang ยังคงเป็นพรรคการเมืองที่ถือครองเสียงข้างมากเพียงพรรคเดียว และมักมีรายงานข่าวเกี่ยวกับการจำกัดคู่แข่งทางการเมืองและความไม่โปร่งใสในการเลือกตั้งเสมอ ๆ ความสัมพันธ์กับต่างประเทศหลังจากที่นาย Obiang ยึดอำนาจไว้ได้ในปี 2522 อิเควทอเรียลกินีได้ดำเนินการปรับความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสเปนกับฝรั่งเศส โดยความสัมพันธ์กับสเปนนั้น ทั้งสองฝ่ายมีการลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการอย่างถาวร ในส่วนของความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสนั้น ประธานาธิบดี Obiang ออกกฎบังคับให้เรียนภาษาฝรั่งเศสในโรงเรียนเพื่อให้ทั้งภาษาฝรั่งเศสและสเปนเป็นภาษาราชการ ต่อมา ในปี 2543 ฝรั่งเศสดำเนินโครงการลดความยากจนและปรับปรุงสาธารณูปโภคในท้องถิ่นเพื่อช่วยเหลืออิเควทอเรียล และส่งที่ปรึกษาชาวฝรั่งเศสไปทำงานในกระทรวงการคลังและการวางแผนเพื่อให้คำปรึกษาด้านโครงการ ความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศทางตะวันตกเริ่มสั่นคลอน เนื่องมาจากข้อสงสัยจากหลายฝ่ายที่ว่าอิเควทอเรียลกินีไม่ได้ปรับปรุงพัฒนาการเมืองให้ดีขึ้นแม้จะได้รับความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาแล้วก็ตาม อย่างไรก็ดี การค้นพบทรัพยากรน้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญที่ปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างอิเควทอเรียลกินีกับประเทศตะวันตกอย่างรวดเร็ว สหรัฐอเมริกาเปิดสถานทูตที่กรุงมาลาโบอีกครั้งในเดือนตุลาคม ปี 2546 หลังจากได้ปิดทำการไปเมื่อปี 2539 เนื่องจากสาเหตุด้านสิทธิมนุษยชน ในขณะเดียวกัน การค้นพบน้ำมันสำรองนอกชายฝั่งทะเลได้กลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทางลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างอิเควทอเรียลกินีกับหลายประเทศในภูมิภาค มีกรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตทางทะเลกับประเทศรอบบ้านหลายประเทศ อิเควทอเรียลกินีเคยโต้แย้งกับไนจีเรียเรื่องการแบ่งเขตน่านน้ำ และยังมีข้อพิพาทเรื่องการครอบครองดินแดนกับกาบอง โดยทั้งสองฝ่ายต่างอ้างกรรมสิทธิ์เหนือเกาะ Mbanie Cocotier และ Conga และอิเควทอเรียลกินียังไม่ยอมรับข้อเสนอของกาบองในการตกลงการจัดสรรทรัพยากรร่วมกัน ความสัมพันธ์กับประเทศไทย1. ความสัมพันธ์ทั่วไป 1.1 การทูต ไทยและอิเควทอเรียลกินีสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2534โดยไทยมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา มีเขตอาณาครอบคลุมอิเควทอเรียลกินี ในขณะที่อิเควทอเรียลกินีมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตอิเควทอเรียลกินี ณ กรุงปักกิ่ง มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย ที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอิเควทอเรียลกินียังห่างเหิน ไม่ปรากฏการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับสูงระหว่างกัน 1.2 เศรษฐกิจ ในปี 2551 ไทยและอิเควทอเรียลกินีมีมูลค่าการค้ารวม 4.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 2.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2550 โดยไทยเป็นฝ่ายส่งออกและได้ดุลการค้าทั้งสิ้น และไม่ปรากฏข้อมูลการนำเข้าจากอิเควทอเรียลกินี สินค้าส่งออกของไทยไปยังอิเควทอเรียลกินี ได้แก่ ข้าว เครื่องจักรกลและส่วนประกอบเครื่องจักร ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 2. ความตกลงที่สำคัญ ๆ กับไทย ยังไม่มีการทำความตกลงใด ๆ ระหว่างกัน 3.การเยือนที่สำคัญ ไม่ปรากฏข้อมูลการเยือนระหว่างไทยกับอิเควทอเรียลกินี การแบ่งเขตการปกครองประเทศอิเควทอเรียลกินี แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 จังหวัด (provinces) โดยแต่ละจังหวัดจะมีเมืองหลวง ได้แก่
ภูมิศาสตร์ประเทศนี้ตั้งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร ตอนกลางของทวีปแอฟริกา โดยทิศเหนือติดกับแคเมอรูน ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับกาบอง ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณอ่าวกินี มีพื้นที่ 28,051 ตารางกิโลเมตร โดยมีเมืองหลวงคือ กรุงมาลาโบ (Malabo) ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะ Bioko จำนวนประชากร 6.6 แสนคน (ปี 2551) ภูมิอากาศ อากาศร้อนชื้น ฝนตกชุก ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยกว่า 2,000 มิลลิเมตร อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 25 องศาเซลเซียส เมืองสำคัญ เมืองบาทา (Bata) ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญ เศรษฐกิจข้อมูลเศรษฐกิจ ปี 2551 หน่วยเงินตรา ฟรังก์เซฟา (CFAfr) อัตราแลกเปลี่ยน 1 บาท ประมาณ 13.17 CFAfr (พฤศจิกายน 2552) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 17.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2551) รายได้ประชาชาติต่อหัว 34,045 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2551) การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 10.6 (ปี 2551) สภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไป ก่อนการได้รับเอกราชของอิเควทอเรียลกินี องค์ประกอบสำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การเกษตร โดยเฉพาะการปลูกโกโก้ และกาแฟ การทำปศุสัตว์ ป่าไม้และการประมง แต่ในปัจจุบัน การพัฒนาภาคการเกษตรของอิเควทอเรียลกินีไม่ได้รับการเอาใจใส่จากภาครัฐ ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้ลดลงและมีการส่งขายภายในตลาดท้องถิ่นเท่านั้น จากที่เคยผลิตโกโก้ได้มากถึง 36,161 ตัน ในปี 2512 เหลือเพียง 76 ตัน ในปี 2547 นอกจากนี้ ผลผลิตอื่น ๆ มีการผลิตลดลงเรื่อยมา ในปี 2538 มีการค้นพบแหล่งสำรองน้ำมันขนาดใหญ่ในอ่าวกินี ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของอิเควทอเรียลกินีอย่างมาก โดยการส่งออกน้ำมันกลายเป็นรายได้หลักของประเทศ นอกจากนี้ อิเควทอเรียลกินียังได้ค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติ และมีการจัดตั้งบริษัท Sonagaz ในปี 2548 จากการค้นพบแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินี้ ทำให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนในอิเควทอเรียลกินี เช่น สหรัฐฯ ลงทุนในสาขาน้ำมันตั้งแต่ปี 2540 ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศร้อยละ 93 มาจากแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และเป็นรายได้ของรัฐบาลร้อยละ 94 และส่งออกร้อยละ 99 ในปี 2548 การเติบโตในภาคธุรกิจน้ำมันทำให้รัฐบาลมีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะด้านสาธารณูปโภค ในระหว่างปี 2546-2548 มีการใช้จ่ายสูงกว่าร้อยละ 70 อย่างไรก็ตามมีข้อกังวลจากหลายฝ่ายในเรื่องความไม่โปร่งใสของรัฐบาลในการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าว แม้อิเควทอเรียลกินีจะมีอัตรารายได้ต่อหัวสูง แต่อิเควทอเรียลกินีประสบปัญหาความแตกต่างระหว่างคนจนและคนรวยอย่างมาก นอกจากนี้ การพัฒนาในส่วนภูมิภาคและชนบทของอิเควทอเรียลกินีไม่ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึง อันเนื่องมาจากการที่รัฐบาลมุ่งพัฒนาพื้นที่ที่มีการค้นพบแหล่งน้ำมันเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะเมืองหลวง Malabo เมืองท่า Luba และเมือง Bata นอกจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ อิเควทอเรียลกินียังมีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังไม่ได้มีการนำมา ใช้อย่างจริงจัง เช่น ไททาเนียม แร่เหล็ก แมงกานีส ยูเรเนียม และสินแร่ทองคำ วัฒนธรรมภาษาราชการ ภาษาสเปน และภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ ภาษาพื้นเมืองอื่น ๆ ได้แก่ Fang Bubi Ibo และ Pidgin English หมายเหตุ
อ้างอิง
ข้อมูล
แหล่งข้อมูลอื่น
|