Share to:

 

ประเทศโมนาโก

ราชรัฐโมนาโก

Principauté de Monaco (ฝรั่งเศส)
Principatu de Mùnegu (ลีกูเรีย)
คำขวัญDeo Juvante (ละติน)
("ด้วยความช่วยเหลือของพระเจ้า")
เพลงชาติอีมน์มอเนกัสก์
("เพลงสดุดีโมนาโก")
ที่ตั้งของ ประเทศโมนาโก  (เขียว) ในทวีปยุโรป  (เขียวและเทาเข้ม)
ที่ตั้งของ ประเทศโมนาโก  (เขียว)

ในทวีปยุโรป  (เขียวและเทาเข้ม)

เมืองหลวงโมนาโก (นครรัฐ)
43°44′N 7°25′E / 43.733°N 7.417°E / 43.733; 7.417
เมืองใหญ่สุดมงเต-การ์โล
ภาษาราชการฝรั่งเศส[1]
ภาษากลาง
กลุ่มชาติพันธุ์
ศาสนา
86.0% คริสต์
—80.9% โรมันคาทอลิก (ศาสนาประจำชาติ)[2]
—5.1% นิกายอื่น ๆ
11.7% ไม่มีศาสนา
1.7% ยูดาห์
0.6% อื่น ๆ[3]
การปกครองรัฐเดี่ยว ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
เจ้าชายอาลแบร์ที่ 2
Didier Guillaume
สภานิติบัญญัติสภาแห่งชาติ
เป็นเอกราช
8 มกราคม ค.ศ. 1297
17 พฤษภาคม ค.ศ. 1814
• จากการครอบครองของสหสัมพันธมิตรครั้งที่หก
17 มิถุนายน ค.ศ. 1814
2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1861
5 มกราคม ค.ศ. 1911
พื้นที่
• รวม
2.02 ตารางกิโลเมตร (0.78 ตารางไมล์) (อันดับที่ 193)
น้อย[4]
ประชากร
• 2019 ประมาณ
Steady 38,300[5] (อันดับที่ 190)
• สำมะโนประชากร 2016
37,308[6]
18,713 ต่อตารางกิโลเมตร (48,466.4 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 1)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2015 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 7.672 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ ค.ศ. 2015)[7] (อันดับที่ 158)
เพิ่มขึ้น 115,700 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ ค.ศ. 2015)[7] (อันดับที่ 3)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2018[b] (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 7.185 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[8] (อันดับที่ 145)
เพิ่มขึ้น 185,741 ดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 1)
สกุลเงินยูโร () (EUR)
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
ขับรถด้านขวา[10]
รหัสโทรศัพท์+377
โดเมนบนสุด.mc
  1. ^ หน่วยงานราชการตั้งอยู่ในมอนาโก-วีล
  2. ^ ไม่รวมจีดีพีต่อหัวของแรงงานที่ไม่ได้พักประจำจากฝรั่งเศสและอิตาลี

ราชรัฐโมนาโก (ฝรั่งเศส: Principauté de Monaco) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า โมนาโก (ฝรั่งเศส: Monaco [mɔnako] มอนาโก) เป็นนครรัฐในยุโรปตะวันตก ตั้งอยู่บริเวณเฟรนช์ริวีเอราทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นประเทศเอกราชที่เล็กที่สุดเป็นอันดับสองของโลก[11] มีขนาดเพียง 2.02 ตารางกิโลเมตรแต่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก[12] ราว 19,009 คนต่อตารางกิโลเมตรในปี ค.ศ. 2018[13]

แขวงที่มีประชากรมากที่สุดคือมงเต-การ์โล โมนาโกเป็นหนึ่งในประเทศที่ค่าครองชีพแพงและประชากรร่ำรวยที่สุดในโลก ประชากรราว 30 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมดเป็นมหาเศรษฐีหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐจากการสำรวจเมื่อ ค.ศ. 2014

โมนาโกปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยเจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 แห่งราชวงศ์กรีมัลดีเป็นประมุขแห่งรัฐ ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศสและเป็นภาษาราชการ นอกจากนี้ ยังมีคนพูดภาษาถิ่นโมนาโก ภาษาอิตาลี และภาษาอังกฤษกันทั่วไป

โมนาโกได้รับการรับรองเอกราชอย่างเป็นทางการในสนธิสัญญาฝรั่งเศส-โมนาโก ค.ศ. 1861 เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1993 แม้โมนาโกจะเป็นประเทศเอกราช แต่การป้องกันประเทศอยู่ในความรับผิดชอบของฝรั่งเศสโดยโมนาโกมีกองกำลังป้องกันตัวเองเพียง 2 กองทัพเท่านั้น

เศรษฐกิจของโมนาโกรุ่งเรืองอย่างมากนับตั้งแต่ช่วงหลังคริสต์ศตวรษที่ 19 หลังจากการเปิดบ่อนกาสิโนแห่งแรกในมงเต-การ์โล และมีการสร้างทางรถไฟเชื่อมกับกรุงปารีส[14] อากาศที่อบอุ่น ทิวทัศน์ที่สวยงาม และแหล่งบันเทิงสำหรับนักพนันได้ถึงดูดเม็ดเงินมหาศาลจากนักท่องเที่ยว สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ

ปัจจุบันโมนาโกกลายเป็นศูนย์กลางด้านธนาคารและหันมาเน้นการดำเนินเศรษฐกิจภาคบริการและอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ไม่สร้างมลภาวะ และมีมูลค่าเพิ่มสูง โมนาโกมีชื่อเสียงจากการเป็นดินแดนภาษีต่ำ ไม่เก็บภาษีรายได้ มีภาษีธุรกิจที่ต่ำ และยังเป็นหนึ่งในสถานที่จัดแข่งขันรถสูตรหนึ่ง เป็นบ้านเกิดของชาร์ล เลอแคร์ นักแข่งของทีมสกูเดเรียแฟร์รารี นอกจากนี้ สโมสรฟุตบอลอาแอ็ส มอนาโกที่แข่งขันอยู่ในลีกเอิงฝรั่งเศสก็ประสบความสำเร็จอย่างมาก ครองแชมป์ลีกสูงสุดได้หลายครั้ง

โมนาโกไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ แต่ปรับใช้นโยบายของสหภาพยุโรปบางประการเช่นเรื่องศุลกากรและด่านตรวจคนเข้าเมือง โมนาโกใช้เงินสกุลยูโร เข้าร่วมสภายุโรปเมื่อปี ค.ศ. 2004 และเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส

ประวัติศาสตร์

ชื่อของโมนาโกปรากฏขึ้นตั้งแต่ 600 ปีก่อนคริสตกาลในชื่อ โมโนอิกอส (Monoikos) มาจากการประสบคำว่า โมนอส (monos) ที่หมายถึง โดดเดี่ยว[15] และ โออิกอส (oikos) ซึ่งหมายถึงบ้าน[16] รวมแล้ว มีความหมายถึง บ้านโดดเดี่ยว น่าจะสื่อถึงวิธีการอยู่อาศัยของชาวพื้นเมืองในสมัยนั้นที่อาศัยอยู่เป็นบ้านโดดเดี่ยวแยกกันกับเพื่อนบ้าน

ยุคกลาง

โมนาโก เป็นอาณานิคมหนึ่งของสาธารณรัฐเจนัวเมื่อ ค.ศ. 1215 ต่อมาในปี ค.ศ. 1297 ฟร็องซัว กรีมัลดี เจ้าที่ดินในจากเจนัวยุคศักดินาบุกเข้ายึดป้อมปราการโมนาโกบริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ด้วยการปลอมตัวเป็นบาทหลวง แล้วนำกองกำลังขนาดย่อมเข้าไปในดินแดนแห่งนั้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการครอบครองอาณาจักรโมนาโกของตระกูลกรีมัลดีตั้งแต่นั้นมา

ตระกูลกรีมัลดีครองโมนาโกอยู่ได้เพียงสี่ปี ก็ถูกขับกองทัพเจนัวออกจากดินแดนนั้นไป ชาร์ลส์ กรีมัลดี หวนกลับมาครอบครองดินแดนโมนาโกได้อีกในปี ค.ศ. 1331 แล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นลอร์ดแห่งโมนาโกและขยายดินแดนออกไปยังเมืองม็องตงและโรเกอบรูน และสร้างโมนาโกจนยิ่งใหญ่ กลายเป็นเมืองท่าสำคัญ สำหรับการค้าและฐานทัพเรือสำคัญของยุโรป

หลังจากนั้นได้มีการสืบทอดตำแหน่งลอร์ดแห่งโมนาโกเรื่อยมาจนถึงปี ค.ศ. 1489 พระเจ้าชาร์ลที่ 4 แห่งฝรั่งเศส และดุ๊กแห่งซาวอยจึงได้ทรงรับรองความเป็นเอกราชของโมนาโก ต่อมาในปี ค.ศ. 1512 พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสก็ทรงรับรองการเป็นพันธมิตรถาวรระหว่างโมนาโกกับฝรั่งเศส

อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงยุคการปกครองของลอร์ดออกุสติน โมนาโกกลับไม่ได้รับการสนับสนุนจากขุนนางในราชสำนักฝรั่งเศส ทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรง จนกระทั่งจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มีพระบัญชาให้โมนาโกอยู่ภายใต้อารักขาของสเปนการปกครองโดยลอร์ดแห่งโมนาโกดำเนินเรื่อยมา จนถึงช่วงศตวรรษที่ 15 เมื่อจอห์น กรีมัลดี ลอร์ดแห่งโมนาโกได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการสืบสันตติวงศ์ขึ้น นับเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งในการสืบราชสมบัติของโมนาโก

เจ้าผู้ครองนครยุคแรกนั้น ยังใช้ฐานันดรศักดิ์ว่า ลอร์ด มาจนถึงกระทั่งปี ค.ศ. 1612 ลอร์ดโอโนเร่ที่ 2 แห่งกรีมัลดี ลอร์ดแห่งโมนาโกจึงได้เปลี่ยนชื่อฐานันดรศักดิ์เป็น เจ้าชาย แห่งโมนาโก[17] เพื่อให้มีวินัยถึงการเป็นรัฐและอิสรภาพ ซึ่งได้รับการยอมรับจากฝรั่งเศสและสเปน เนื่องจากขณะนั้นโมนาโกยังอยู่ในอารักขาของสเปน

เจ้าชายโอโนเร่ที่ 2 กรีมัลดี ยังดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับประเทศฝรั่งเศส จนพระเจ้าหลุยส์ที่ 8 หลุยส์ อิบโปลิบเตแห่งฝรั่งเศส ยอมลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการช่วยเหลือและป้องกันการรุกรานจากฝรั่งเศส ถือเป็นการยืนยันและยอมรับความเป็นเอกราชของโมนาโก ไม่ขึ้นตรงต่อฝรั่งเศสอีกต่อไป แต่สเปนยังไม่ยินยอม เป็นเหตุให้เจ้าชายพระองค์นี้ ทรงประกาศสงครามกับสเปนและได้รับชัยชนะเป็นอิสระจากสเปน ในปี ค.ศ. 1641

อย่างไรก็ตามการสืบสันตติวงศ์นี้ ขาดช่วงลงเมื่อเจ้าชายอังตวนสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1731 โดยไม่มีพระโอรส มีแต่พระธิดาเท่านั้น แต่พระธิดาองค์โต หลุยส์ อิบโปลิบเต ได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับ ยากส์ ฟร็องซัวร์ เลโอเนอร์ เดอ มาติยง ทายาทตระกูลขุนนางแห่งแคว้นนอร์ม็องดี ในปี ค.ศ. 1715 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาให้เป็นเจ้าชายแห่งโมนาโก ทรงพระนามว่า เจ้าชาย ยากส์ที่ 1

คริสต์ศตวรรษที่ 19

กองทัพปฏิวัติของฝรั่งเศสเข้ายึดโมนาโกเมื่อปี ค.ศ. 1793 ตกเป็นรัฐอารักขาของฝรั่งเศสจนถึงปี ค.ศ. 1814 เมื่อจักรพรรดินโปเลียนแพ้สงคราม ราชวงศ์กรีมัลดีกลับคืนสู่ราชบัลลังก์[18][19] มติจากการประชุมใหญ่แห่งเวียนนากำหนดให้โมนาโกอยู่ภายใต้การอารักขาของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย[20] ในช่วงนี้ ชาวเมืองม็องตงและโรเกอบรูน-กัป-มาร์แต็งที่อยู่ภายใต้ตระกูลกรีมัลดีมานาน 500 ปีไม่พอใจที่ถูกเก็บภาษีอย่างหนัก จึงได้ประกาศอิสรภาพจากโมนาโก หวังจะรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของซาร์ดิเนีย แต่ฝรั่งเศสไม่เห็นด้วย

จนกระทั่งปี ค.ศ. 1860 ซาร์ดิเนียถูกบีบให้คืนโมนาโก เคาน์ตีนิสที่อยู่รอบโมนาโก (และดัชชีซาวอย) ให้กับฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาตูริน[21] โมนาโกจึงอยู่ภายใต้การอารักขาของฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง ฝรั่งเศสเข้ายึดครองม็องตงและโรเกอบรูน-กัป-มาร์แต็งแลกกับการไม่ต้องจ่ายค่าปรับนับสี่ล้านฟรังก์[22] เหตุการณ์นี้นำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาฝรั่งเศส-โมนาโก เมื่อปี ค.ศ. 1861 รับรองเอกราชของโมนาโกอย่างเป็นทางการ ดินแดนที่เสียไปนี้คิดเป็นร้อยละ 95 ของอาณาเขตเดิม ทำให้โมนาโกสูญเสียรายได้อย่างมหาศาล เจ้าชายชาร์ลที่ 3 แห่งโมนาโกและพระมารดาจึงได้ตั้งบ่อนกาสิโนขึ้น[23] โดยใช้ชื่อว่า มงเต-การ์โล (Monte Carlo) มีความหมายว่า ภูเขาชาร์ลส์ ซึ่งมาจากพระนามของเจ้าชายนั่นเอง[24] ธุรกิจกาสิโนประสบความสำเร็จอย่างมาก กลายเป็นแหล่งดึงดูดเม็ดเงินจากมหาเศรษฐีที่หวังจะมาใช้เงินและใช้ชีวิตอยู่ที่นี่[25] ความสำเร็จนี้ทำให้โมนาโกยกเลิกการเก็บภาษีจากประชาชนนปี ค.ศ. 1869[26]

คริสต์ศตวรรษที่ 20

การสมรสระหว่างเจ้าชายแรนีเยที่ 3 กับเกรซ เคลลี กลายเป็นข่าวที่ทำให้ราชรัฐโมนาโกได้รับความสนใจทั่วโลก

ราชวงศ์กรีมัลดีปกครองโมนาโกในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาจนถึง ค.ศ. 1910 จึงเกิดการปฏิวัติโมนาโกขึ้น มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ในปีต่อมาและได้จำกัดอำนาจการบริหารของราชวงศ์ลง ต่อมาในปี ค.ศ. 1918 มีการลงนามในสนธิสัญญาฝรั่งเศส-โมนาโกขึ้นอีกครั้งระบุให้ฝรั่งเศสให้ความคุ้มครองทางทหารแก่โมนาโก ท่าทีระหว่างประเทศของโมนาโกขึ้นกับผลประโยชน์ทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจของฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม โมนาโกถูกกองทัพอิตาลีเข้ายึดครองในสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อด้วยการยึดครองของพรรคนาซีเยอรมนี และได้รับอิสรภาพในเวลาต่อมา

ปี ค.ศ. 1949 เจ้าชายเรนิเยที่ 3 ขึ้นครองราชย์ต่อจากเจ้าชายหลุยส์ที่ 2 ทรงเป็นประมุขแห่งโมนาโกที่ทำให้ราชวงศ์โมนาโกกลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก เพราะการเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับดาราภาพยนตร์สาวชาวอเมริกัน เกรซ เคลลี เมื่อปี ค.ศ. 1956[27]

ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 1962 โมนาโกยกเลิกโทษประหารชีวิต ให้สิทธิสตรีในการเลือกตั้ง และก่อตั้งศาลสูสุดแห่งโมนาโกเพื่อรับรองเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน โมนาโกเข้าเป็นสมาชิกของสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1993 โดยมีสิทธิออกเสียงเต็ม[28][29]

คริสต์ศตวรรษที่ 21

โมนาโก ในปี ค.ศ. 2016

สนธิสัญญาฉบับใหม่ระหว่างฝรั่งเศสกับโมนาโกที่ลงนามเมื่อ ค.ศ. 2002 ระบุว่า หากราชวงศ์กรีมัลดีไม่มีทายาทสืบราชสันตติวงศ์ ราชรัฐจะยังคงเป็นอิสระแทนที่จะรวมกับฝรั่งเศส แต่การป้องกันประเทศยังเป็นหน้าที่รับผิดชอบของฝรั่งเศสอยู่[30][31]

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2005 เจ้าชายเรนิเยที่ 3 ทรงมีพระชนมายุมากเกินกว่าจะบริหารราชการแผ่นดินได้ จึงทรงสละราชสมบัติให้กับเจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 พระราชโอรสพระองค์เดียว[32] หกวันต่อมา เจ้าชายเรนิเยที่ 3 เสด็จสวรรคตหลังครองราชบังลังก์นานถึง 56 ปี ทรงเป็นประมุขที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดของโมนาโก เจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 ขึ้นครองราชย์เป็นเจ้าชายแห่งราชรัฐโมนาโก โดยมีการสวมมงกุฎอย่างเป็นทางการวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 หลังพ้นช่วงไว้ทุกข์[33]

ในปี ค.ศ. 2015 โมนาโกมีมติเป็นเอกฉันท์ให้มีการขยายดินแดนด้วยการระบายน้ำทะเลออก เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบ้านและพื้นที่สีเขียวในบางพื้นที่ วางงบประมาณไว้ 1 พันล้านยูโรและตั้งเป้าจะสร้างอพาร์ทเมนต์ สวนสาธารณะ ร้านค้า และสำนักงานในพื้นที่ 6 เฮกเตอร์ใกล้กับแขวงลาร์วอโต[34]

การเมืองการปกครอง

การเมืองการปกครอง

โมนาโกปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญมาตั้งแต่ ค.ศ. 1912 มีเจ้าผู้ครองเป็นประมุขแห่งรัฐ (พระองค์ปัจจุบันคือ เจ้าชายอาลแบร์ที่ 2) หัวหน้ารัฐบาลของโมนาโกคือมนตรีแห่งรัฐ (Ministre d'Etat) แต่งตั้งโดยเจ้าผู้ครอง เป็นผู้นำของคณะที่ปรึกษารัฐบาล

คณะที่ปรึกษารัฐบาล ประกอบด้วย ที่ปรึกษารัฐบาล 5 คน ดูแล 5 กรม (Département) ได้แก่

  • กรมมหาดไทย (Département de l'Intérieur)
  • กรมการคลังและเศรษฐกิจ (Département des Finances et de l'Economie)
  • กรมการสังคมและสาธารณสุข (Département des Affaires Sociales et de la Santé)
  • กรมการพัสดุ สิ่งแวดล้อม และผังเมือง (Département de l'Equipement, de l'Environnement et de l'Urbanisme)
  • กรมการต่างประเทศ (Département des Relations Extérieures)

อำนาจนิติบัญญัติของราชรัฐ อยู่ที่พระประมุขและคณะกรรมการแห่งชาติ (Conseil National) กรมการตุลาการ (Direction des Services Judiciaires) มีลักษณะใกล้เคียงกับกระทรวงยุติธรรม ดูแลกิจการศาล โดยเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร โดยตัดสินคดีในพระนามของประมุข[35]

เขตการปกครอง

ความมั่นคง

การป้องกันประเทศเป็นหน้าที่ของฝรั่งเศส โมนาโกไม่มีกองทัพเรือหรือกองทัพอากาศ แต่มีจำนวนตำรวจต่อประชากรหรือต่อพื้นที่มากที่สุดในโลก (ตำรวจ 515 นายต่อประชากรทั้งหมดประมาณ 36,000 คน)[36] กองตำรวจยังมีหน่วยพิเศษไว้ลาดตระเวนทางน้ำอีกด้วย[37]

กองทัพบกของโมนาโกมีขนาดเล็ก มีทั้งหมดสองกอง กองหนึ่งมีหน้าที่ถวายความปลอดภัยต่อเจ้าชายและพระราชวังโมนาโก-วิลล์ เรียกว่า บรรษัทกองไรเฟิลในพระองค์ (Compagnie des Carabiniers du Prince)[38] นอกจากนี้ยังมีกองทหารติดอาวุธขนาดเล็ก (Sapeurs-Pompiers) รักษาความมั่นคงสำหรับพลเรือน

ภูมิศาสตร์

ภาพถ่ายทางดาวเทียมของโมนาโก แสดงพรมแดนที่ติดกับฝรั่งเศส

โมนาโกเป็นรัฐเอกราช ประกอบไปด้วย 5 กาติเยร์ (quartiers) และ 10 แขวง (ward)[39] ตั้งอยู่ในบริเวณเฟรนช์ริวีเอราทางยุโรปตะวันตก มีชายแดนติดกับฝรั่งเศสทั้งสามด้วย และอีกด้านหนึ่งติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จุดกึ่งกลางประเทศอยู่ห่างจากชายแดนอิตาลี 16 กิโลเมตร และห่างจากเมืองนิสของฝรั่งเศส 13 กิโลเมตร

โมนาโกมีพื้นที่ 2.02 ตารางกิโลเมตร มีประชากรอยู่อาศัย 38,400 คน[29] ทำให้เป็นประเทศที่เล็กเป็นอันดับสองของโลกและมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดในโลก พรมแดนประเทศทางบกยาวเพียง 5.47 กิโลเมตร[40] และพรมแดนทางชายฝั่งยาว 3.83 กิโลเมตร มีน่านน้ำกว้างออกไปในทะเลอีก 22 กิโลเมตร

จุดที่สูงสุดของประเทศคือ เชอแมงเดอเรวัวร์ส ในแขวงเลอเรวัวร์ส สูงจากระดับน้ำทะเล 164.4 เมตร ส่วนจุดที่ต่ำที่สุดของประเทศคือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน[41]

ภาพถ่ายพาโนรามา ของลากงดามีนและมงเต-การ์โล

สถาปัตยกรรม

ในบรรดาสถาปัตยกรรมหลากหลายรูปแบบของโมนาโก สถาปัตยกรรมที่เด่นชัดคือแบบเบลล์เอป็อกที่ได้รับความนิยมช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะในแขวงมงเต-การ์โล กาสิโนและโรงโอเปราแห่งมงเต-การ์โลเป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของศิลปะประเภทนี้ สร้างขึ้นโดยชาร์ล กานิเยร์และฌูลส์ ดูตรู มีการตกแต่งหอคอย ระเบียง ยอดแหลมของอาคาร เซรามิกหลากสี และรูปปั้นประดับเสา สิ่งประดับต่าง ๆ ผสมเข้ากันอย่างลงตัว สร้างความประทับใจ ความรู้สึกหรูหรา โอ่โถง เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของโมนาโก[42] ศิลปะแบบฝรั่งเศส อิตาลี และสเปนเข้ามามีอิทธิพลกับการสร้างคฤหาสน์และอพาร์ทเมนต์ ในรัชสมัยของเจ้าชายเรนิเยที่ 3 มีกฎหมายห้ามสร้างอาคารสูงภายในราชรัฐ แต่ในรัชสมัยต่อมาของเจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 มีการยกเลิกกฎนี้[43] ผลที่เกิดขึ้นคือมีการรื้อถอนมรดกทางสถาปัตยกรรมมากมายเพื่อสร้างตึกสูง[44] ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้

เศรษฐกิจ

ฟงวีแยย์กับท่าเรือแห่งใหม่

โมนาโกมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว  153,177 ดอลลาร์สหรัฐสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก[45] อัตราการว่างงานมีเพียง 2 เปอร์เซ็นต์[46] แรงงาน 48,000 ชีวิตเดินทางข้ามมาจากฝรั่งเศสและอิตาลีทุก ๆ วัน[47] โมนาโกเป็นประเทศที่มีอัตราความยากจนต่ำที่สุดในโลก[48] มีจำนวนมหาเศรษฐีเงินล้านและระดับพันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อหัวประชากรสูงที่สุดในโลก[49] มีตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่แพงที่สุดในโลกในปี ค.ศ. 2012 ที่ดินมีราคาถึง 58,300 ดอลลาร์สหรัฐต่อตารางเมตร[50][51][52]

แหล่งรายได้สำคัญของโมนาโกคือการท่องเที่ยว ทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเดิมพันในกาสิโนและพักผ่อนในสภาพอากาศที่อุ่นสบายเป็นจำนวนมาก[53][54] นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางธนาคารที่ใหญ่ มีเงินหมุนเวียนถึง 100 พันล้านยูโร[55] ธนาคารในโมนาโกเน้นการให้บริการลูกค้ารายใหญ่และบริการจัดการทรัพย์สินและความมั่งคั่ง[56] ราชรัฐยังหวังจะขยายภาคเศรษฐกิจไปสู่อุตสาหกรรมขนาดเล็ก ไม่สร้างมลพิษ และมีมูลค่าสูง เช่นอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง[57]

รัฐบาลยังคงผูกขาดการค้าในหลายภาคส่วน เช่น บุหรี่และไปรษณีย์ เครือข่ายโทรคมนาคมเคยเป็นของรัฐแต่ปัจจุบันรัฐถือครองหุ้นส่วนเพียง 45 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นของบริษัท Cable & Wireless Communications 49 เปอร์เซ็นต์ และธนาคาร Compagnie Monégasque de Banque อีก 6 เปอร์เซ็นต์ ยังคงเป็นเครือข่ายเดียวที่ให้บริการในประเทศ

มาตรฐานการครองชีพของโมนาโกนับว่าสูงเทียบเท่ากับเมืองใหญ่ของฝรั่งเศส[58] ปัจจุบันโมนาโกไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป แต่มีระบบศุลกากรร่วมกับฝรั่งเศส ใช้เงินสกุลยูโรเช่นเดียวกับฝรั่งเศส

ประชากรศาสตร์

ประชากรโมนาโกแบ่งตามสัญชาติ

  โมนาโก (21.6%)
  อิตาลี (18.7%)
  สวิส (2.5%)
  อื่น ๆ (14.8%)

ประชากร

ประเทศโมนาโกมีจำนวนประชากรประมาณ 38,400 คนในปี ค.ศ. 2015 และองค์การสหประชาชาติประเมินว่ามีประชากร 36,297 คน ณ วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2023[59][60]ประชากรของโมนาโกไม่ปกติตรงที่ชาวโมนาโกพื้นเมืองเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศของตน โดยประชากรส่วนใหญ่คือชาวฝรั่งเศสร้อยละ 28.4 รองลงมาคือโมนาโกร้อยละ 21.6 อิตาลีร้อยละ 18.7 อังกฤษร้อยละ 7.5 เบลเยียมร้อนละ 2.8 เยอรมันร้อยละ 2.5 สวิสร้อยละ 2.5 และอเมริกันร้อยละ 1.2[61] จากการค้นคว้าในปี 2019 พบว่ามีเศรษฐีมากถึง 12,248 คนในประเทศโมนาโก คิดเป็นร้อยละ 31 ของประชากรทั้งหมด

พลเมืองของโมนาโก ไม่ว่าจะเกิดในประเทศหรือโดยสัญชาติ จะถูกเรียกว่า Monégasque และประชากรโมนาโกมีอายุขัยเฉลี่ยสูงที่สุดในโลกประมาณ 90 ปี[62][63]

ภาษา

ป้ายตามถนนที่มีการพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศสและโมนาโกในแขวงมอนาโก-วีล

ภาษาหลักและภาษาราชการของโมนาโกคือภาษาฝรั่งเศส ในขณะที่ภาษาอิตาลีมีการใช้พูดโดยชุมชนขนาดใหญ่ของชาวอิตาลี ภาษาถิ่นโมนาโกซึ่งเป็นภาษาพื้นถิ่นทางประวัติศาสตร์แต่กลับเป็นภาษาที่มีการใช้กันน้อยกว่าภาษาฝรั่งเศสและอิตาลีและไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นภาษาราชการ อย่างไรก็ตาม ป้ายบางป้ายปรากฏทั้งภาษาฝรั่งเศสและโมนาโก และมีการสอนภาษานี้ในโรงเรียนรวมถึงภาษาอังกฤษ

ภาษาอิตาลีเคยเป็นภาษาราชการของประเทศโมนาโกจนกระทั่งในปี 1860 มีการใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการแทน[64] เนื่องจากมีการผนวกเทศมณฑลนีซที่อยู่โดยรอบของประเทศโมนาโกเข้ากับฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาตูริน (ค.ศ. 1870)[64]

ราชวงศ์กรีมัลดีและเจ้าผู้ครองโมนาโกมีเชื้อสายลีกูเรีย ดังนั้นภาษาประจำชาติดั้งเดิมของโมนาโกคือภาษาถิ่นโมนาโก แต่ในปัจจุบันมีการพูดโดยประชากรส่วนน้อยเท่านั้น และเป็นภาษาที่สองทั่วไปของชาวพื้นเมืองจำนวนมาก อย่างไรก็ตามในแขวงมอนาโก-วีลป้ายตามถนนยังคงพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศสและโมนาโก[65][66]

อ้างอิง

  1. "Constitution de la Principauté". Council of Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2008.
  2. "Constitution de la Principaute". Art. 9., Principaute De Monaco: Ministère d'Etat (ภาษาฝรั่งเศส). 27 กันยายน 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2011.
  3. "The Global Religious Landscape" (PDF). Pewforum.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 มกราคม 2017. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2015.
  4. "Monaco en Chiffres" (PDF). Principauté de Monaco. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2009. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2009.
  5. "Population on 1 January and is one of the smallest country. It is 2nd most smallest country". ec.europa.eu/eurostat. Eurostat. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2020.
  6. "Recensement de la Population 2016" (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). Institut Monégasque de la Statistique et des Études Économiques (IMSEE). กุมภาพันธ์ 2018. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2020.
  7. 7.0 7.1 "EUROPE :: MONACO". CIA.gov. Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2020.
  8. "GDP (current US$) - Monaco". data.worldbank.org. World Bank. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2020.
  9. "GDP per capita (current US$) - Monaco". data.worldbank.org. World Bank. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2020.
  10. "What side of the road do people drive on?". Whatsideoftheroad.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  11. The World Factbook - Rank Order - Area เก็บถาวร 9 กุมภาพันธ์ 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาอังกฤษ)
  12. The World Factbook - Rank Order - Population เก็บถาวร 27 กันยายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาอังกฤษ) ทำไปคำนวณกับพื้นที่
  13. "Population, total". World Bank. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2019.
  14. "Monte Carlo: The Birth of a Legend". SBM Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ธันวาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2013.
  15. Henry George Liddell; Robert Scott. "μόνος". A Greek-English Lexicon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2011 – โดยทาง Perseus Digital Library.
  16. Henry George Liddell; Robert Scott. "οἶκος". A Greek-English Lexicon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2011 – โดยทาง Perseus Digital Library.
  17. "Monaco – The Principality of Monaco". Monaco.me. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  18. "The History Of Monaco". Monacoangebote.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  19. "Important dates – Monaco Monte-Carlo". Monte-carlo.mc. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  20. "Important dates – Monaco Monte-Carlo". Monte-carlo.mc. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  21. "24 X 7". Infoplease.com. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  22. "History of Monaco". Monacodc.org. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  23. Englund, Steven (1 พฤษภาคม 1984). Grace of Monaco: An Interpretive Biography (Hardcover ed.). Doubleday. ISBN 978-0-385-18812-8.
  24. Bonarrigo, Sabrina. "Entretenir la flamme 'Monte-Carlo'". Monaco Hebdo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2017.
  25. "MONACO". Tlfq.ulaval.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  26. "Histoire de la Principauté – Monaco – Mairie de Monaco – Ma ville au quotidien – Site officiel de la Mairie de Monaco". Monaco-mairie.mc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  27. "Monaco – Principality of Monaco – Principauté de Monaco – French Riviera Travel and Tourism". Nationsonline.org. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  28. "24 X 7". Infoplease.com. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  29. 29.0 29.1 "CIA – The World Factbook". Cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤษภาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2012.
  30. "History of Monaco. Monaco chronology". Europe-cities.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  31. "Monaco Military 2012, CIA World Factbook". Theodora.com. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  32. "Monaco Royal Family". Yourmonaco.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  33. "History of Monaco, Grimaldi family". Monte-Carlo SBM. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  34. "Monaco land reclamation project gets green light". rivieratimes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2015.
  35. Les Institutions เก็บถาวร 9 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Service Informatique du Ministère d'Etat (ในภาษาฝรั่งเศส)
  36. "Security in Monaco". Monte-carlo.mc. 13 พฤษภาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  37. "Division de Police Maritime et Aéroportuaire". Gouv.mc (ภาษาฝรั่งเศส). 16 สิงหาคม 1960. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  38. "The Palace Guards – Prince's Palace of Monaco". Palais.mc. 27 มกราคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  39. "Monaco Districts". Monaco.me. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2012.
  40. ""monaco statistics pocket" / Publications / IMSEE - Monaco IMSEE". Monacostatistics.mc. Government of Monaco.
  41. Highest point at ground level (Access to Patio Palace on D6007) "Monaco Statistics pocket – Edition 2014" (PDF). Monaco Statistics – Principality of Monaco.
  42. Novella, René; Sassi, Luca Monaco : eight centuries of art and architecture, Epi Communication, 2015
  43. "La tour Odéon, l'histoire d'un chantier dont les malheurs ont atteint des sommets". Vanity Fair. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2016.
  44. Lyall, Sarah; Baume, Maïa de la (11 ธันวาคม 2013). "Development Blitz Provokes a Murmur of Dissent in Monaco". New York Times.
  45. "The World Bank Group". The World Bank Group. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2019.
  46. "Central Intelligence Agency". Cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2012.
  47. "Plan General De La Principaute De Monaco" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 พฤษภาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  48. "Monaco Economy 2012, CIA World Factbook". Theodora.com. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  49. Alleyne, Richard (4 ตุลาคม 2007). "Prince Albert: We want more for Monaco". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2012.
  50. Katya Wachtel (28 มีนาคม 2012). "The Wealth Report 2012" (PDF). Citi Private Bank. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2013.
  51. Robert Frank (28 มีนาคม 2012). "The Most Expensive Real-Estate in the World". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2013.
  52. Julie Zeveloff (7 มีนาคม 2013). "Here Are The World's Most Expensive Real Estate Markets". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2013.
  53. "Monaco's Areas / Monaco Official Site". Visitmonaco.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2013.
  54. "Monaco: Economy >> globalEDGE: Your source for Global Business Knowledge". Globaledge.msu.edu. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2012.
  55. Robert Bouhnik (19 ธันวาคม 2011). "Home > Files and Reports > Economy(Gb)". Cloud.gouv.mc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2012.
  56. "Banks in Monaco".
  57. "Monaco Economy 2012, CIA World Factbook". Theodora.com. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  58. "CIA – The World Factbook". Cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤษภาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  59. "Monaco Statistics office". Monacostatistics.mc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2017.
  60. "Monaco Population 2023 (Live)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 ตุลาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2023.
  61. "General Population Census 2008: Population Recensee et Population Estimee" (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). Government of the Principality of Monaco. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2011.
  62. "CIA World Factbook, Monaco". Cia.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012.
  63. "International Rankings of Monaco - 2018". Theodora.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กรกฎาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2018.
  64. 64.0 64.1 "Il monegasco, una lingua che si studia a scuola ed è obbligatoria" (ภาษาอิตาลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 สิงหาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2022.
  65. "Society". Monaco-IQ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2012.
  66. "Principality of Monaco – Monaco Monte-Carlo". Monte-carlo.mc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กันยายน 2012. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป
การท่องเที่ยว
อื่น 


43°44′N 7°25′E / 43.733°N 7.417°E / 43.733; 7.417

Kembali kehalaman sebelumnya