Share to:

 

โกวิท วัฒนะ

โกวิท วัฒนะ
โกวิท ในปี พ.ศ. 2554
รองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ดำรงตำแหน่ง
19 กันยายน พ.ศ. 2549 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 18 มกราคม พ.ศ. 2555
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุเทพ เทือกสุบรรณ
ถัดไปยุทธศักดิ์ ศศิประภา
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้าเฉลิม อยู่บำรุง
ถัดไปชวรัตน์ ชาญวีรกูล
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2550
รักษาการแทนพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส
(กุมภาพันธ์ - กันยายน พ.ศ. 2550)
ก่อนหน้าพลตำรวจเอก สุนทร ซ้ายขวัญ
(รักษาการ)
ถัดไปพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 มีนาคม พ.ศ. 2490 (77 ปี)
อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน)
คู่สมรสพ.ญ.วันทนีย์ วัฒนะ

พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อดีตนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ[1]

ประวัติ

พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ เป็นชาวอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของ นายเกษม วัฒนะ อดีตข้าราชการครู และนายอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับ นางสวง วัฒนะ สมรสกับ แพทย์หญิงวันทนีย์ (ศรีอุทารวงค์) วัฒนะ ปลัดกรุงเทพมหานคร มีบุตร-ธิดา 2 คน คือ ร้อยเอก พีรวิชญ์ และ นางสาวพิชญ์สินี วัฒนะ ส่วนประวัติการศึกษา โกวิทเข้าศึกษาชั้นประถมที่ โรงเรียนเทพประสิทธิ์วิทยา โรงเรียนผักไห่สุทธาประมุข โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และจบจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 6 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 22

การทำงาน

ราชการตำรวจ

โกวิท วัฒนะ รับราชการเป็นตำรวจตระเวนชายแดน เป็นเวลากว่า 27 ปี เคยปฏิบัติราชการรับใช้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ในระหว่าง พ.ศ. 2513 - 2518 สถานการณ์รบสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์อยู่ในขั้นรุนแรง พล.ต.อ.โกวิท ในฐานะผบ.กองร้อยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนในขณะนั้น ได้ออกงานรับใช้ราชการโดยการปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ภาคเหนือตามแนวตะเข็บชายแดนไทย-พม่า คุ้มครองการก่อสร้างเส้นทางในพื้นที่อันตราย โดยเฉพาะเขต อ.อุ้มผาง จ.ตาก รวมระยะทาง 120 กิโลเมตร

นอกจากนี้ ระหว่างที่เป็น ผบก.ตชด.ภาค 3 ซึ่งรับผิดชอบภาคเหนือทั้งหมด ยังมีรายงานผลงานการปราบปรามยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง ปะทะต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย(หรือกลุ่มคนที่เห็นต่าง)ร่วม 50 ครั้ง จนสถานการณ์คลี่คลายลงจนไม่มีใครกล้าลุกขึ้นต่อต้านแล้ว ต่อมาได้รับความดีความชอบจากราชวงศ์ขึ้นเป็นรอง ผกก.1 บก.กฝ. (ค่ายพระรามหก อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี) แล้วขยับเป็น ผกก.1 บก.กฝ. ในวัยเพียง 32 ปี เป็นผู้กำกับที่หนุ่มที่สุดขณะนั้น(เพราะเหตุใด?) ต่อมาเลื่อนเป็นรอง ผบก.กฝ. แล้วโยกมาเป็นรอง ผบก.ตชด. ภาค 3 ก่อนสลับเป็นรอง ผบก.ตชด. ภาค 1

ติดยศ พล.ต.ต. ตำแหน่ง ผบก.ตชด. ภาค 3 เมื่อปี 2530 คุมพื้นที่ภาคเหนือทั้งหมด ยุคที่ยาเสพติดโดยเฉพาะเฮโรอีนแพร่ระบาดไปทั่ว กุมบังเหียนเข้าถล่มโรงงานผลิตเฮโรอีนใน จ.เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน ราบไป 21 โรงงาน ไม่นับรวมรายเล็กรายย่อย แต่ไม่เคยเจอไร่ขนาดใหญ่ที่ปลูกต้นฝิ่นในประเทศไทยเลย

พลตำรวจเอกโกวิท เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อ พ.ศ. 2537 รับคำชมเชยจาก พล.ต.อ.เภา สารสิน อธิบดีกรมตำรวจสมัยนั้น และ"กลุ่มบุคคล"จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ว่าเป็นผู้นำหน่วยที่มีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว กระทั่งขึ้นนั่งเก้าอี้ผบช.ตชด. ในปี พ.ศ. 2537 ต่อมาขึ้นเป็นผู้ช่วยผบ.ตร. รับผิดชอบงานบริหาร ก่อนจะดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2543 ได้คุมพื้นที่ชายแดนภาคใต้ กระทั่งปี พ.ศ. 2547 ได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติในที่สุด

พล.ต.อ.โกวิท ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร โดยที่ในความเป็นจริงแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ ตั้งใจจะแต่งตั้ง พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ ให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่จำเป็นต้องแต่งตั้ง พล.ต.อ.โกวิท แทน โดยให้เหตุผลว่ามีวัยวุฒิอาวุโสสูงสุด และนอกจากนั้นยังได้รับการยอมรับในหมู่ผู้ใต้บังคับบัญชามากกว่า ซึ่งในเวลาต่อมา พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ได้แต่งตั้ง พล.ต.อ.ชิดชัย ให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติแทน ก่อนหน้าที่จะเกิดการรัฐประหารใหญ่ใน 2 ปีให้หลัง

พล.ต.อ.โกวิท ดำรงตำแหน่งผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบ พนักงานเจ้าหน้าที่และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรง ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551[2] ถึง 9 ธันวาคม[3] พ.ศ. 2551

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

ในเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 พล.ต.อ.โกวิท ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าคณะปฏิรูปฯ และดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ในเวลาต่อมา

พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ได้รับคำสั่งไปช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 หลังไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับคดีเหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 เลย แม้แต่น้อย

มี พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส รักษาราชการแทน (ซึ่งต่อมาเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หลังจากนั้นไม่นานก็ถูกย้ายให้ไปช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรีอย่างน่าแปลกใจ)

พลตำรวจเอกโกวิท ได้รับคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ระดับ 11 สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2550 ภายหลังศาลปกครองได้วินิจฉัยว่า คำสั่งดังกล่าวของนายกรัฐมนตรี (พลเอกสุรยุทธ์ จุลลานนท์) ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ถูกกำหนดขึ้นมา เป็นเหตุให้ต้องยกเลิกคำสั่งดังกล่าวในที่สุด ส่งผลให้พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ สามารถดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจนครบวาระเกษียณอายุราชการ ในวันที่ 30 กันยายน 2550

งานการเมือง

ในปี พ.ศ. 2551 พล.ต.อ.โกวิท ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[4] แต่ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัย ด้วยมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ให้ยุบพรรคพลังประชาชน และตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค 5 ปี (รวม 37 คน) ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทำให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะรักษาการหัวหน้าพรรคพลังประชาชนต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย และคณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่งรวมถึง พล.ต.อ. โกวิท ด้วย

ต่อมาในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[5] และถูกปรับออกจากตำแหน่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555[6]

รางวัลและเกียรติยศ

โกวิท วัฒนะ
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
กองอาสารักษาดินแดน
ประจำการพ.ศ. 2513 - 2551
ชั้นยศ พลตำรวจเอก
นายกองใหญ่
บังคับบัญชาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
การยุทธ์การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย

พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่ พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ เมื่อ พ.ศ. 2551[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. นายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ
  2. ผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบ
  3. ปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรง
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-04-18.
  5. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 1
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
  7. ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่
  8. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2021-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๒, ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒, ๕ มิถุนายน ๒๕๕๕
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๖, ๕ มกราคม ๒๕๓๓
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๒๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๖, ๗ กรกฎาคม ๒๕๑๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา[ลิงก์เสีย], เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๖๙, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า โกวิท วัฒนะ ถัดไป
สุเทพ เทือกสุบรรณ
รองนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายความมั่นคง

(9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 18 มกราคม พ.ศ. 2555)
พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
สมชาย วงศ์สวัสดิ์
มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
สหัส บัณฑิตกุล
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์

รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 58)
(18 กันยายน พ.ศ. 2551 - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551)
สุเทพ เทือกสุบรรณ
กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(24 กันยายน พ.ศ. 2551 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
พลตำรวจเอกสุนทร ซ้ายขวัญ
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 22 เมษายน พ.ศ. 2550)
พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส
Kembali kehalaman sebelumnya