โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี (อังกฤษ: Visuttharangsi School) (อักษรย่อ: ว.ส.) เป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของจังหวัดกาญจนบุรี เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ[5]: 1 และเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดกาญจนบุรี[6] สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2447 โดย พระวิสุทธิรังษี หรือ หลวงปู่เปลี่ยน อินฺทสโร เจ้าอาวาสวัดไชยชุมพลชนะสงคราม ครบรอบการก่อตั้ง 100 ปี เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ปัจจุบันมีอายุ 120 ปี
ปัจจุบัน โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปัจจุบันมีนักเรียน 4,132 คน
ข้อมูลทั่วไปของโรงเรียน
โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี ตั้งอยู่เลขที่ 32 ถนนแสงชูโต อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี บนพื้นที่ทั้งหมด 56 ไร่ 3 งาน 47.1 ตารางวา[5]: 1 บริเวณโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นพื้นคอนกรีต และเป็นถนน มีประตูรั้ว 2 ประตูคือ ประตูรั้วทางเข้า - ออกบริเวณอาคารศูนย์ศึกษาศาลาศิลปวัฒนธรรม และประตูรั้วทางเข้า - ออกหลักบริเวณแฟลตป้อมยาม โรงเรียนวิสุทธรังษี มีอาณาเขตติดต่อดังต่อไปนี้ [7]
- ทิศเหนือ (หลังโรงเรียน) : ติดกับพื้นที่การเกษตร (ถนนพัฒนากาญจน์)
- ทิศตะวันออก (ประตู 2 อาคารศูนย์ศึกษาศาสนาและศิลปวัฒนธรรม) : ติดกับซอยร่วมใจ
- ทิศตะวันตก (ประตู 1) : ติดกับซอยแสงชูโต ซอยควาย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายการศึกษาไปตามหัวเมืองต่าง ๆ โดยในชั้นต้นให้ใช้วัดเป็นสถานที่เล่าเรียน โดยมีพระภิกษุเป็นครูผู้สอน ตามประกาศพระกระแสพระบรมราชโองการ "จัดการเล่าเรียนในหัวเมือง"[8] เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 โดยทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ขณะนั้นยังทรงดำรงพระอิสริยยศ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส) รับเป็นภาระจัดพระเถระผู้ใหญ่ที่สมควรเป็นผู้อำนวยการศึกษาตามมณฑลต่าง ๆ ซึ่งจังหวัดกาญจนบุรีในขณะนั้นขึ้นสังกัดมณฑลราชบุรี โดยมีพระอมรโมลี (ชม สุสมาจาโร) แห่งวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร เจ้าคณะมณฑลราชบุรีขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการการศึกษา วัดไชยชุมพลชนะสงครามเป็นวัดหนึ่งซึ่งได้รับการยกย่องว่าควรเป็นโรงเรียนได้ ปรากฏในรายงานตรวจการศึกษามณฑลราชบุรี ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๑๖ แผ่นที่ ๕๒ รัตนโกสินทรศก ๑๑๘ (พ.ศ. 2442)[9] ตอนหนึ่งว่า
วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) เป็นวัดท้ายเมืองอยู่ด้านทิศใต้ มีราษฎรนับถือมากเช่นเดียวกัน แลเป็นวัดเจ้าคณะจังหวัดตั้งอยู่ใกล้เคียงกับเมือง แลพระใบฎีกาเปลี่ยนเป็นผู้ช่วยในการสอน แลเป็นผู้กว้างขวางเต็มใจที่จะสอนตามแบบหลวงได้
ยุคที่ 1 โรงเรียนตัวอย่างประจำจังหวัด (พ.ศ. 2447 - พ.ศ. 2498)
1 มิถุนายน พ.ศ. 2447 ได้ประกาศตั้งโรงเรียนขึ้น ณ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้)[5]: 5 เปิดสอน 2 ขั้น คือขั้นเบื้องแรก เป็นชั้นมูลศึกษา กับขั้นเบื้องต้น เป็นชั้นประถมศึกษา โดยใช้ศาลาการเปรียญของวัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) เป็นสถานที่สอน โดยนักเรียนปีแรกมีนักเรียนทั้งหมด 54 คน มีครูผู้สอน 1 คน คือ พระภิกษุเจียม สิทธิสร เป็นครูใหญ่และครูผู้สอน ต่อมาในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2449 พระภิกษุเจียม สิทธิสร ได้ลาออก พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน อินฺทสโร) เจ้าอาวาสวัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) จึงได้แต่งตั้งให้พระก้าน นาคะพันธ์ (ต่อมาได้เลื่อนเป็นเจ้าคุณ พระครูวัตตสารโสภณ) เป็นครูใหญ่และครูผู้สอนแทนพระภิกษุเจียม สิทธิสร[5]: 5
ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จประพาสไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรีเป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2452 ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโรงเรียนแห่งนี้ โดยมีพระก้าน นาคะพันธ์ ได้นำนักเรียนทั้งโรงเรียน ซึ่งในปีการศึกษานั้นมีทั้งสิ้น 66 คน เข้าเฝ้ารับเสด็จที่หน้าวัดไชยชุมพลฯ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเงินให้แก่นักเรียนทุกคน คนละหนึ่งสลึง
โรงเรียนวัดไชยชุมพลชนะสงคราม ได้ดำเนินการเรียนการสอน ก้าวหน้าด้วยดีเป็นลำดับ จึงได้ประกาศเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของจังหวัดกาญจนบุรี มีชื่อว่า โรงเรียนตัวอย่างประจำจังหวัด คงใช้ศาลาวัดและกุฏิพระเป็นสถานที่สอน พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน อินฺทสโร) ได้พิจารณาเห็นว่าเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2464 ให้เด็กทุกคนที่มีอายุย่างปีที่ 8 ถึงปีที่ 15 เข้าเรียนโดยไม่เสียค่าเล่าเรียน พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน อินฺทสโร) เห็นว่าศาลาวัดที่ใช้เป็นสถานศึกษาเป็นที่คับแคบ ไม่เหมาะสม จึงได้ร่วมกับกรรมการศึกษาและชาวบ้าน สร้างอาคารเรียนถาวรขึ้นที่วัด 1 หลัง 7 ห้องเรียน ตัวอาคารเป็นตึกชั้นเดียวใต้ถุนสูง ฝาผนังก่ออิฐถือปูน เครื่องบนไม้จริง หลังคามุงกระเบื้อง ส่วนค่าก่อสร้างไม่ได้ใช้เงินงบประมาณ ล้วนแต่ได้รับการบริจาคจากผู้มีศรัทธาทั้งสิ้น งานก่อสร้างเริ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2464 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2466 จึงได้ย้ายสถานที่เรียนจากกุฏิและศาลาวัดไปเรียนอาคารหลังใหม่แทน ทางราชการจึงได้ขนานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า โรงเรียนประจำจังหวัดกาญจนบุรี วิสุทธิรังษี[5]: 5 เพื่อเป็นเกียรติประวัติแด่ท่านเจ้าคุณวิสุทธิรังษีฯ (เปลี่ยน) แต่ชื่อปัจจุบันนี้ชื่อโรงเรียนคำว่า วิสุทธิรังษี "ธิ" สระอิหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ชื่อปัจจุบันจึงเหลือเพียง วิสุทธรังษี เท่านั้น แต่นั้นมาโรงเรียนได้เปิดสอนขั้นเบื้องกลางถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
พ.ศ. 2478 ทางราชการได้ทำการจัดตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ณ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) ดังนั้นทาง โรงเรียนประจำจังหวัดกาญจนบุรี วิสุทธรังษี ซึ่งขณะนั้นเปิดสอนชั้นประถมศึกษาด้วย จึงได้ลดชั้นประถมศึกษาให้เรียนที่โรงเรียนประชาบาลที่เปิดสอนใหม่แทน และตั้งแต่ปีพ.ศ. 2482 เป็นต้นมาโรงเรียนวิสุทธรังษีจึงเปิดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาเท่านั้น
พ.ศ. 2480 พระวิสุทธิรังษี เห็นว่าผู้ปกครองนิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษามากขึ้น อาคารเรียนหลังเดิมเห็นจะไม่เพียงพอ จึงได้ร่วมมือกับคณะกรรมการสถานศึกษาและชาวบ้านช่วยกันสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ขึ้นอีกหนึ่งหลัง ใกล้กับบริเวณตึกหลังเก่า เป็นตึกคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น 12 ห้องเรียน มีมุขด้านหน้า รัฐบาลของพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาสนับสนุนงบประมาณให้ 6,000 บาท นอกนั้นเป็นเงินที่ได้รับบริจาคโดยมีพระวิสุทธิรังษีเป็นกำลังสำคัญช่วยเหลือจัดหาทุนสมทบเพิ่มเติมจนสำเร็จเรียบร้อย งานก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยใช้เป็นสถานที่เรียนได้เมื่อปี พ.ศ. 2482
ยุคที่ 2 ย้ายสถานที่ใหม่ (พ.ศ. 2498 - ปัจจุบัน)
พ.ศ. 2490 เมื่อเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงศึกษาธิการ ได้มาตรวจเยี่ยม มีความเห็นว่าโรงเรียนประจำจังหวัดตั้งอยู่ในเขตวัด บริเวณคับแคบไม่เหมาะสมจึงควรขยายทันกับความเจริญ กระทรวงศึกษาธิการและคณะกรรมการโรงเรียน จึงได้ทำการติดต่อเจรจาเรื่องที่ดินกับบริษัท กาญจนบุรีพานิชจังหวัด จำกัด ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดี ทางบริษัทได้มอบที่ดินจำนวน 63 ไร่ 2 งาน ที่ตำบลท่าล้อ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ให้เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 นายวิรัช บุญญาลัย ผู้แทนบริษัทเป็นผู้มอบ นายทวี สุนทรวิภาค ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รับมอบ ณ ที่ว่าการอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี สมัยนาย ป อินทรัมพรรย์ เป็นนายอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
28 ตุลาคม พ.ศ. 2498 โรงเรียนได้ย้ายจากวัดไชยชุมพลชนะสงคราม ไปยังสถานที่ใหม่ที่บริษัท กาญจนบุรีพานิชจังหวัด จำกัด ยกให้ โรงเรียนได้งบประมาณจากรัฐบาลสร้างอาคารแบบ 218 เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น 28 ห้องเรียน หลังคามุงด้วยกระเบื้อง ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 1,400,000 บาท งานก่อสร้างเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2497 อาคารกว้าง 88.51 เมตร ยาว 106 เมตร และได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี[5]: 5 ส่วนอาคารหลังเดิมในวัดไชยชุมพลชนะสงคราม ทางโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรีได้มอบให้เป็นโรงเรียนประถมศึกษา
พ.ศ. 2500 เปิดสอนถึงชั้นเตรียมอุดมศึกษา ในสมัยนั้นจึงมีชื่อเรียกโรงเรียนวิสุทธรังษีเพิ่มขึ้นมาอีกชื่อหนึ่งคือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษากาญจนบุรี
พ.ศ. 2513 โรงเรียนเข้าโครงการปรับปรุงโรงเรียนมัธยมในส่วนภูมิภาค (คมภ 2)
พ.ศ. 2509 ได้งบประมาณสร้างอาคารแบบ 212 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น 12 ห้องเรียนงบประมาณ 1,000,000 บาทเสร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ. 2511 (ปัจจุบันคืออาคาร 2)
พ.ศ. 2514 ได้งบประมาณสร้างอาคารแบบ 318 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น 18 ห้องเรียน ค่าก่อสร้าง 2,000,000 บาท แล้วเสร็จเมื่อปีพ.ศ. 2515 โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ซึ่งเป็นอธิบดีกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการอยู่ในขณะนั้น ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารเรียนหลังนี้เมื่อปีพ.ศ. 2515 (ปัจจุบันคืออาคาร 3)
ในช่วงปี พ.ศ. 2509 – พ.ศ. 2517 โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับงบประมาณจากราชการเพื่อก่อสร้างอาคาร และพัฒนาบริเวณสถานที่ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 19,125,000 บาท และได้รับความอุปถัมภ์จากพระเดชพระคุณพระธรรมคุณาภรณ์ (ไพบูลย์ กตปุญโญ) (ขณะนั้นเป็นพระเทพปัญญาสุธี) เจ้าอาวาสวัดไชยชุมพลชนะสงคราม ได้สร้างอาคารคหกรรมคิดเป็นเงิน 200,000 บาท ประชาชนและหน่วยงานราชการได้ช่วยกันพัฒนาร่วมด้วย อาคารสถานที่คิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 400,000 บาท
พ.ศ. 2522 ได้งบประมาณสร้างอาคารแบบ ค424 เป็นอาคารเรียน 4 ชั้น 24 ห้องเรียน (ปัจจุบันคืออาคาร 4)
พ.ศ. 2528 เนื่องด้วยอาคารแบบ 218 เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น 28 ห้องเรียน ซึ่งเป็นอาคารเรียนที่ใช้ทำการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2498 ได้มีการทรุดโทรมของไม้ไปตามสภาพ จึงได้มีการรื้อถอนอาคารเรียนหลังนี้ ต่อมาจึงได้สร้างอาคารแบบ ค418 โดยได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน 4 ชั้น 25 ห้องเรียน เป็นเงินการก่อสร้าง 5,700,000 บาท (ปัจจุบันคืออาคาร 1)
พ.ศ. 2531 อาคารศูนย์ศึกษาศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ด้วยเงินบริจาคประมาณ 750,000 บาท
พ.ศ. 2534 อาคารหอประชุม 3,443,000 บาท
พ.ศ. 2536 อาคารศูนย์กีฬา 14,559,988 บาท
พ.ศ. 2537 ได้มีการปรับปรุงสนามกีฬาฟุตบอลของโรงเรียนเนื่องในโอกาสครบรอบวันสถาปนาโรงเรียนวิสุทธรังษีครบ 90 ปี โดยมีพิธีเปิด สนาม 90 ปีวิสุทธรังษี ในวันที่1 มิถุนายน พ.ศ. 2537 โดยสนาม 90 ปีวิสุทธรังษีได้รับงบประมาณการปรับปรุงจากสมาคมนักเรียนเก่าวิสุทธรังษี สมาคมผู้ปกครองและครูฯ และผู้มีจิตศรัทธารวมเป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น 1,400,000 บาท
พ.ศ. 2542 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน 7 ชั้น ด้วยงบประมาณ 37,500,000 บาท (ปัจจุบันคืออาคาร 5)
พ.ศ. 2547 เนื่องในโอกาสที่โรงเรียนวิสุทธรังษีมีอายุครบ 100 ปี เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบวันสถาปนาโรงเรียน 100 ปี วิสุทธรังษี คณะกรรมการสมาคมนักเรียนเก่าฯ สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนวิสุทธรังษี และ ผู้มีจิตศรัทธา ผู้ปกครองนักเรียน คณะครูและนักเรียนโรงเรียนวิสุทธรังษี ได้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อก่อสร้าง อาคาร ๑๐๐ ปี วิสุทธรังษี ด้วยวงเงินงบประมาณ 26,500,500 บาท โดยทำพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ในการนี้มีศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี ศิษย์เก่าโรงเรียนวิสุทธรังษีเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ และต่อมาได้ทำพิธียกเสาเอกเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2550 อาคารแล้วเสร็จเมื่อปีพ.ศ. 2556 มีพิธีเปิดอาคารอย่างป็นทางการในงาน ๑๐๙ ปีวิสุทธรังษี เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2558 โรงเรียนวิสุทธรังษี ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนนำร่องระดับภาคกลางโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ (Education Hub Classroom) และมีการรับนักเรียนเพิ่มขึ้น จึงได้ทำการจัดสร้างอาคารเรียน 4 ชั้น ห้องเรียนปรับอากาศ และดำเนินการสร้างโรงอาหารหลังที่ 2 ขึ้น โดยมี 2 ชั้น ประกอบไปด้วย ชั้นที่ 1 เป็นอาคารใต้ถุนโล่งเป็นโรงอาหาร ชั้นที่ 2 เป็นห้องประชุมปรับอากาศ และอาคารแห่งนี้เป็น 1 ใน อาคารที่รองรับการเสด็จของ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559
โรงเรียนสาขา
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2472 ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนสตรีกาญจนานุเคราะห์ หรือปัจจุบันรู้จักกันในนามโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนสตรีได้มีโอกาสเล่าเรียนเทียบเท่ากับนักเรียนชาย ทางราชการจึงได้ให้มีการแยกสาขาจากโรงเรียนประจำจังหวัดกาญจนบุรี วิสุทธิรังษี และให้มีการก่อตั้งโรงเรียนสตรีขึ้นโดยเป็นสาขาหนึ่งของโรงเรียนชายประจำจังหวัดกาญจนบุรี โดยมีนายฮั้ว เวชวงษ์ เป็นผู้รักษาการแทนครูใหญ่ในขณะนั้น จนถึงปลายปี พ.ศ. 2472 ทางกระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือ กระทรวงศึกษาธิการ) ได้แต่งตั้งหม่อมหลวงเชื้อ พรหมเดชเป็นครูใหญ่แทน จึงได้ย้ายสถานที่ไปอาศัยเรียนบนชั้นสองของตึกสโมสรข้าราชการจังหวัดกาญจนบุรี (ปัจจุบันคือบริเวณหน้าสวนสาธารณะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ในการแยกสาขาโรงเรียนนี้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ กับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ประทานเงินสมทบในการก่อสร้างโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดกาญจนบุรี องค์ละ 200 บาท และเจ้าจอมสมบูรณ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บริจาค 50 บาท รวมเป็นเงิน 450 บาท[10]
เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 กรมสามัญศึกษาได้ส่งหนังสือแจ้งไปยังอำเภอทองผาภูมิตามหนังสือของจังหวัด ที่ กจ.23/1021 เพื่ออนุญาตให้อำเภอทองผาภูมิก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอขึ้น โดยเปิดชั้น ม.ศ. 1 เป็นสหศึกษา ในสาขาที่ 2 ของโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรีและให้คณะครูอาจารย์ดูแลกิจการของโรงเรียนแห่งนี้ด้วย โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนวิสุทธรังษี สาขาทองผาภูมิ"[2][3] โดยมีนายนพเกียรติ กองเกตุใหญ่รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2518 ทางโรงเรียนได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนทองผาภูมิวิทยา" แทนชื่อเดิม
ความหมายและที่มาของชื่อโรงเรียนวิสุทธรังษี
เดิมโรงเรียนมีชื่อตามสถานที่ตั้งว่า โรงเรียนไชยชุมพลชนะสงคราม ต่อมาทางราชการได้ขนานนามโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นที่วัดไชยชุมพลชนะสงครามว่า โรงเรียนตัวอย่างประจำจังหวัด และ โรงเรียนประจำจังหวัดกาญจนบุรี วิสุทธิรังษี (เตรียมอุดมศึกษา กาญจนบุรี) ตามลำดับ โดยนำชื่อพระสมณศักดิ์ วิสุทธิรังษี มาตั้งเป็นชื่อโรงเรียนเพื่อเป็นเกียรติประวัติแด่ท่านเจ้าคุณพระวิสุทธิรังษี(เปลี่ยน) โดยหลวงปู่เปลี่ยนได้รับพระราชทานตั้งพระสมณศักดิ์ที่ พระวิสุทธิรังษี ชินศาสนโสภี สังฆปาโมกข์ ดำรงพระสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ เมื่อ พ.ศ. 2460 โดยได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เนื่องเหตุใดไม่ปรากฏสระอิของคำว่า ธิ ได้หายไป ชื่อโรงเรียนจึงเหลือเพียงคำว่าวิสุทธรังษีเท่านั้น ปัจจุบันโรงเรียนมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี โดยชื่อปัจจุบันนี้ใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ส่วนคำว่าวิสุทธรังษีจากหลักฐานในราชกิจจานุเบกษา ประกาศสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือแห่งสยาม เปลี่ยนนามกองลูกเสือ มณฑลราชบุรีที่ ๒ และที่ ๔ เล่มที่ ๔๑ หน้าที่ ๒๑๖๑[11] ประกาศเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2467 โดยประกาศราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้ได้ระบุถึงการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากโรงเรียนไชยชุมพลชะนะสงคราม มาเป็น โรงเรียนวิสุทธรังษี ดังนั้นจึงปรากฏคำว่าวิสุทธรังษีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว
"วิสุทธรังษี" อ่านว่า วิ - สุด - ทะ - รัง - สี
สามารถแยกออกได้ดังนี้
- วิสุทธ หมายถึง ความบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ความผ่องใส ความสะอาดไร้มลทิล
- รังษี หมายถึง รังสี แสงสว่าง
"วิสุทธรังษี" จึงมีความหมายว่า "รังสีแห่งความบริสุทธิ์ผุดผ่อง"
สัญลักษณ์ของโรงเรียนวิสุทธรังษี
- คติพจน์ : "สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี" อ่านว่า "สุขา สังฆัสสะ สามัคคี" แปลว่า ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะทำให้เกิดสุข[5]: 1
- คติประจำใจ : "พ่อกูชื่อเปลี่ยน เลือดกูฟ้า - เหลือง ลูกหลานเต็มเมือง วิสุทธรังษี" เดิมคติพจน์นี้ได้ปรากฏไว้ที่ด้านหลังอาคาร 1 (อาคาร 3 ชั้นด้านหน้า) แต่ปัจจุบันได้ถูกทำการลบออกไป
- คำขวัญ : สามัคคี มีวินัย ตั้งใจเรียน เพียรทำดี
- สีประจำโรงเรียน : "ฟ้า - เหลือง"
- สีฟ้า แสดงถึง ความสดใส เจริญรุ่งเรือง
- สีเหลือง แสดงถึง ความเจริญรุ่งเรือง
- ตราประจำโรงเรียน : คันกระสุน เป็นคันกระสุนของหลวงปู่เปลี่ยน ซึ่งท่านได้ใช้คันกระสุนทำโทษกับนักเรียนที่หนีเรียน คันกระสุนมีความหมายว่า มุ่งตรงไปข้างหน้าสู่เป้าหมาย
- ต้นไม้ประจำโรงเรียน : ต้นโพธิ์ เป็นต้นไม้เก่าแก่อายุเกือบ 100 ปีที่อยู่บนที่ดินของโรงเรียนมาตั้งแต่ก่อนที่จะมีการสร้างอาคารสถานที่ของโรงเรียนวิสุทธรังษี (ตำบลท่าล้อ) ปัจจุบันเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ แผ่กิ่งก้านสาขา ผลัดใบทุก ๆ ปลายฤดูหนาว (มีนาคม) บ่งบอกเป็นสัญญาณว่าลูกศิษย์วิสุทธรังษีจำนวนหนึ่งจะมีการสำเร็จการศึกษาออกไปจากโรงเรียนวิสุทธรังษีแห่งนี้ และจะมีการผลิใบสีเขียวขจีเต็มต้นเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) เป็นสัญญาณบ่งบอกว่ามีนักเรียนใหม่อีกรุ่นหนึ่งที่จะได้เข้ามาเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่เปลี่ยน
- เนื่องในโอกาส วันครบรอบ 100 ปี การก่อตั้งโรงเรียนวิสุทธรังษี คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ สาขาย่อยกวีนิพนธ์ จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เจ้าของผลงาน เพียงความเคลื่อนไหว รางวัลกวีนิพนธ์รางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2523 ศิษย์เก่าวิสุทธรังษีที่มีชื่อเสียงระดับชาติได้ประพันธ์บทกลอนแก่โรงเรียนไว้ว่า[12]
ภูมิใจเถิด ภูมิใจ ในชีวิต
|
|
|
ได้เป็นศิษย์ วิสุทธรังษี
|
|
|
สุขา สังฆัสสะ สามัคคี
|
|
|
คือคนดี ในตน คนเมืองกาญจน์
|
|
|
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี
ตารางแสดงทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี[12]
ลำดับ
|
รายนาม
|
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
|
1
|
พระภิกษุเจียม สิทธิสร
|
1 มิ.ย. 2447 - 7 ต.ค. 2449
|
2
|
พระครูวัตตสารโสภณ (ก้าน นาคะพันธ์)
|
8 ต.ค. 2449 - 31 พ.ค. 2469
|
3
|
นายไจ๊ อนุมาน
|
1 มิ.ย. 2469 - 14 ธ.ค. 2471
|
4
|
นายสุจินต์ หิรัญรัศ
|
15 ธ.ค. 2471 - 4 ม.ค. 2478
|
5
|
นายเนียม นิลวัฒน์
|
17 มี.ค. 2479 - 29 เม.ย. 2484
|
6
|
นายสุวัฒน์ กาญจนวสิต
|
30 เม.ย. 2484 - 18 มิ.ย. 2489
|
7
|
นายเวียน โสมกุล
|
19 มิ.ย. 2489 - 5 มิ.ย. 2493
|
8
|
นายมงคลชัย เหมริด
|
6 มิ.ย. 2493 - 1 ส.ค. 2495
|
9
|
นายสง่า ดีมาก
|
13 ส.ค. 2495 - 20 ม.ค. 2497
|
10
|
นายเสริม กลีบจันทร์
|
17 พ.ค. 2497 - 26 มี.ค. 2498
|
11
|
นายจรัญ เศรษฐบุตร
|
1 มิ.ย. 2498 - 1 เม.ย. 2505
|
12
|
นายสมพงษ์ จิวนนท์
|
1 พ.ค. 2505 - 9 ส.ค. 2506
|
13
|
นายบุญเชาวน์ เชียงทอง
|
9 ต.ค. 2506 - 31 พ.ค. 2525
|
14
|
นายจิตต์ ศรีสุโร
|
1 มิ.ย. 2525 - 27 ก.ย. 2527
|
15
|
นายบรรเจิด ประสมทรัพย์
|
27 ก.ย. 2527 - 30 ก.ย. 2535
|
16
|
นายภราดร สุวรรณมิสสระ
|
1 ต.ค. 2535 - 30 ก.ย. 2537
|
17
|
นายสมจิต คำชื่น
|
1 ต.ค. 2537 - 30 ก.ย. 2541
|
18
|
นายรังสรรค์ จุลศรีไกวัล
|
15 ธ.ค. 2541 - 30 ก.ย. 2544
|
19
|
นายวันชัย เศรษฐกร
|
1 ต.ค. 2544 - 30 ก.ย. 2546
|
20
|
นายศักรินทร์ จริงจิตร
|
1 ต.ค. 2546 - 30 ก.ย. 2552
|
21
|
นายภิเษก ประกอบ
|
30 ธ.ค. 2552 - 30 ก.ย. 2553
|
22
|
นายสมหมาย ปราบสุธา
|
27 ม.ค. 2554 - 30 ก.ย. 2556
|
23
|
นายวิรัช รัตนพันธ์
|
14 พ.ย. 2556 - 30 ก.ย. 2558
|
24
|
นายหงษ์ดี ศรีเสน
|
14 ธ.ค. 2558 - 30 ก.ย. 2567
|
25
|
นายศิวรัตน์ พายุหะ
|
1 ต.ค. 2567 - ปัจจุบัน
|
อาคารและสถานที่ภายในโรงเรียน
- อาคาร 1 (อาคารเรียนตึก 4 ชั้น ด้านหน้า)
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
- ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
- ห้องธุรการ วิชาการ
- ห้องแผนงานและสารสนเทศโรงเรียน
- ห้องทะเบียนและวัดผลนักเรียน
- ห้องกลุ่มบริหารงานทั่วไป
- ห้องประชุมวิชาการ
- อาคาร 2 (อาคารเรียนตึก 2 ชั้น)
- กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
- ห้องพระพุทธศาสนา
- ห้องแนะแนว
- ห้องโสตทัศนศึกษา
- ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
- ห้องสมุดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
- ห้องเรียนทั่วไป
- ศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี
- อาคาร 3 (อาคารเรียนตึก 3 ชั้น)
- กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
- ห้องนาฏศิลป์ และทัศนศิลป์
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
- ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
- ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
- ห้องวงโยธวาทิตโรงเรียนวิสุทธรังษี
- ห้องเรียนทั่วไป
- อาคาร 4 (อาคารเรียนตึก 4 ชั้น ด้านข้างศูนย์กีฬา)
- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
- ห้องปฏิบัติการชีววิทยา
- ห้องปฏิบัติการเคมี
- ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์
- ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
- ศูนย์คอมพิวเตอร์ พระธรรมคุณาภรณ์ (ไพบูลย์ กตปุญโญ)
- ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
- ห้องเรียนทั่วไป
- ห้องสมุดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
- ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
- ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาขาคอมพิวเตอร์
- อาคาร 5 (อาคารเรียนตึก 7 ชั้น)
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
- ศูนย์โรงเรียนสองภาษา English Program
- ศูนย์ห้องเรียน Education Hub
- ห้องโสตทัศนศึกษา
- ห้องเซียร์ S.E.A.R (Self-English Access Room)
- ห้องอีริค E.R.I.C (English Room Intensive Care)
- ห้อง I.C.T. (Information and Communication Technology)
- ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างประเทศ
- ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก โรงเรียนวิสุทธรังษี
- ห้องสมุดสารสนเทศและห้องค้นคว้าด้วยตัวเอง (ชั้น 2)
- ห้องเรียนทั่วไป
- ลิฟท์ 2 ตำแหน่ง
- อาคาร 6 (อาคารเรียนตึก 4 ชั้น เปิดใช้งานเมื่อภาคเรียนที่ 2/2559)
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
- กลุ่มสาระการเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- อาคาร 7 (อาคารเรียนตึก 4 ชั้น ตรงข้ามอาคาร 6)
- อาคารศูนย์ศึกษาศาลาศิลปวัฒนธรรม
- อาคาร 100 ปี โรงเรียนวิสุทธรังษี พ.ศ. ๒๕๔๗
- ห้องประดิษฐานรูปหล่อพระวิสุทธิรังษี (หลวงปู่เปลี่ยน อินฺทสโร)
- ห้องประชุมอัจฉริยะเจ้าคุณปัญญาฯ (พระราชวิสุทธิเมธี)
- หอประวัติโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี
- ห้องศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียนศึกษา)
- สำนักงานสมาคมนักเรียนเก่าวิสุทธรังษี
- โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม SMTE (Science Math Technology and Environment)
- ห้องเรียนส่งเสริมความสามารถวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ I.P. (Intensive Program)
- ห้องเรียนส่งเสริมความสามารถวิทยาศาสตร์ – เทคโนโลยี I.P. (Intensive Program)
- อาคารศูนย์กีฬา
- กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
- ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
- สนามอเนกประสงค์ ชั้น G
- สนามฟุตซอล
- เวทีมวย
- ร้านบริการถ่ายเอกสาร ชั้น G
- ร้านค้าสวัสดิการ
- อาคารประกอบ
- อาคารเรือนดนตรีไทยเจ้าคุณไพบูลย์อนุสรณ์ ๗๒ ปี
- อาคารคหกรรม (กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี)
- โรงอาหารโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี หลังที่ 1 (หน้าห้องพยาบาล)
- โรงอาหารโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี หลังที่ 2
ลำดับ
|
ชื่ออาคารสถานที่
|
จำนวน
|
1
|
อาคารเรียนตึก 2 ชั้น
|
1 หลัง
|
2
|
อาคารเรียนตึก 3 ชั้น
|
1 หลัง
|
3
|
อาคารเรียนตึก 4 ชั้น
|
4 หลัง
|
4
|
อาคารเรียนตึก 7 ชั้น
|
1 หลัง
|
5
|
อาคารศูนย์ศึกษาศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
|
1 หลัง
|
6
|
อาคารประกอบ และอาคารชั่วคราว
|
3 หลัง
|
7
|
โรงฝึกงาน (อาคารคหกรรม)
|
5 หลัง
|
8
|
โรงอาหาร
|
2 หลัง
|
9
|
หอประชุมอเนกประสงค์
|
2 หลัง
|
10
|
อาคารศูนย์กีฬา
|
1 หลัง
|
11
|
ห้องประชาสัมพันธ์
|
1 หลัง
|
12
|
บ้านพักครู
|
14 หลัง
|
13
|
บ้านพักภารโรง
|
3 หลัง
|
14
|
แฟล็ตป้อมยาม
|
1 หลัง
|
15
|
อาคาร 100 ปี วิสุทธรังษี
|
1 หลัง
|
16
|
ห้องน้ำและห้องส้วม
|
5 หลัง
|
17
|
สนามฟุตบอล 90 ปี วิสุทธรังษี
|
1 สนาม
|
18
|
สนามเทนนิส
|
2 สนาม (คู่)
|
19
|
สนามวอลเลย์บอล
|
2 สนาม (คู่)
|
20
|
ศาลาหลวงปู่เปลี่ยน
|
1 หลัง
|
21
|
ลานอเนกประสงค์ (บริเวณโดม ศาลาร่วมใจ '49)
|
1 ลาน
|
22
|
สถานที่จอดรถ
|
2 ที่
|
โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษ และแผนการเรียนที่ทำการเปิดสอน
ระดับชั้น ม.1 – ม.3
- โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษ
- โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม SMTE (Science Math Technology and Environment)
- โครงการส่งเสริมความสามารถวิทยาศาสตร์ – เทคโนโลยี I.P. (Intensive Program)
- โครงการพัฒนาศักยภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
- โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ SMBP (Education Hub Classroom : Science and Math Bilingual Program)
- โครงการโรงเรียนสองภาษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น E.P. (English Program)
- โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์พลังสิบ
- โครงการ VSA (Visut Sport Academy)
ระดับชั้น ม.4 – ม.6
- โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษ
- โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม SMTE (Science Math Technology and Environment)
- โครงการพัฒนาศักยภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
- โครงการโรงเรียนสองภาษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปลาย E.P. (English Program)
- โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ
- โครงการ VSA (Visut Sport Academy)
- แผนการเรียนปกติ
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์
- แผนการเรียนคณิตศาสตร์ – ภาษาอังกฤษ (ศิลป์ – คำนวณ)
- แผนการเรียนภาษาต่างประเทศ (ศิลป์ – ภาษา)
- ภาษาอังกฤษ – ภาษาจีน
- ภาษาอังกฤษ – ภาษาญี่ปุ่น
- ภาษาอังกฤษ – ภาษาฝรั่งเศส
- ภาษาอังกฤษ – ภาษาพม่า
- แผนการเรียนภาษาไทย – สังคมศึกษา (ปิดแผนการเรียน)
- แผนการเรียนสังคมศาสตร์ – มนุษยศาสตร์ (ปิดแผนการเรียน)
- แผนการเรียนภาษาไทย – นิเทศ (ปิดแผนการเรียน พ.ศ. 2557)
- แผนการเรียน การจัดการธุรกิจ (ปิดแผนการเรียน พ.ศ. 2557)
หน่วยงานภายในโรงเรียน
- สมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี
- สมาคมผู้ปกครองและครูฯ เครือข่ายผู้ปกครอง โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี
- ชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี
- ศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี
- ศูนย์ครอบครัวพอเพียง โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี
- ธนาคารโรงเรียน (ธนาคารออมสิน)
วันสำคัญของโรงเรียน
รายนามศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
- พล.ท.รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ - อดีตแม่ทัพภาคที่ 3 จังหวัดพิษณุโลก กระทรวงกลาโหม, นายพลนักประวัติศาสตร์
- พ.ท.บุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ - นักธุรกิจ, อดีตนายกเทศมนตรีเมืองกาญจนบุรี, วีรบุรุษสงครามทางรถไฟสายมรณะ
- เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ - ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์, กวีรางวัลซีไรต์, อดีตสมาชิกวุฒิสภา
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี - ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, ราษฎรอาวุโส, นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
- ศาสตราจารย์ นพ.นที รักษ์พลเมือง - อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล
- ศาสตราจารย์ นพ.มนตรี มงคลสมัย - ศาสตราจารย์ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ อยู่ถนอม - อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล อินนา - สมาชิกวุฒิสภา, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พล.ต.ท.จำรัส มังคลารัตน์[13] - อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- แผน สิริเวชชะพันธ์ - อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงอุตสาหกรรม
- ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์ - อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
- ดร.ทิม พรรณศิริ - อดีตเลขาธิการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, อดีตอธิบดีกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ดร.ประกอบ กาญจนศูนย์ - อดีตรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, อดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ดร.กิจจา ใจเย็น - อุปนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, รองอธิบดีกรมประมง
- ดร.อำนาจ สุนทรธรรม - อดีตเลขาธิการคุรุสภา สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ
- ดำรง ใคร่ครวญ - อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศมาเลเซียและประเทศลาว, รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
- วินัย ทองลงยา - อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา กระทรวงยุติธรรม, อดีตสมาชิกวุฒิสภา
- พระราชภาวนาจารย์ (เผด็จ ทตฺตชีโว) - รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี
- พล.อ.ประสงค์ หวลประไพ - ผู้อำนวยการกองกิจการพลเรือน กองทัพภาคที่ 2, ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พล.อ.สุชาติ หนองบัว - เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี, ประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร
- พล.ต.ประชุม พิบูลภานุวัธน์ - อดีตผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์, สมาชิกวุฒิสภา
- พล.ต.วันชนะ สวัสดี - นักแสดงนำภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช, รองโฆษกกองบัญชาการกองทัพไทย
- พล.ต.อ.สมชาย มิลินทางกูร - อดีตรองผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, อดีตผู้บังคับการตำรวจทางหลวง
- พล.ต.ท.มนตรี จำรูญ - อดีตผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- พล.ต.ต.พลัฏฐ์ วิเศษสิงห์ - รองผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- พล.ต.ต.กมลสันติ กลั่นบุศย์ - อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี
- จำลอง ธนะโสภณ - อดีตประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี
- โยธิน ทองคำ - อดีตรองปลัดกรุงเทพมหานคร, อดีตผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรุงเทพมหานคร
- สุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร - กรรมการบริหารบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), เลขาธิการคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
- สายัณห์ ถิ่นสำราญ - อดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่และที่ปรึกษาอาวุโสบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
- ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ - นักธุรกิจ, ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ตลาด.คอม, นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย
- สันติ มณีกาญจน์ - อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเลย และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย
- พิทยา สุนทรวิภาต - อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี, จังหวัดร้อยเอ็ด, จังหวัดสกลนคร, จังหวัดอุดรธานี
- พ.ต.หลวงพิชญายุทธกิจ (อิน มุสิกบุตร) - นักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าคนแรกของจังหวัดกาญจนบุรี
- นายดาบเกียรติ ทองลงยา - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดกาญจนบุรี
- น.พ.มานิตย์ สมประสงค์ - นักเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์คนแรกของจังหวัดกาญจนบุรี
- ขุนหิรัญประศาสน์ (กลม พัฒนมาศ) - นายกเทศมนตรีคนแรกของเทศบาลเมืองกาญจนบุรี
- ไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร - อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและกระทรวงสาธารณสุข
- ธงชาติ รักษากุล - อดีตอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดกาญจนบุรี
- ศรีชัย โรจนกุล - อดีตเสมียนตรามหาดไทย กรมมหาดไทย กระทรวงมหาดไทย, อดีตนายอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
- ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ - อาจารย์ภาควิชาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ผู้เขียนหนังสือ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่"
- วสันต์ ภูษิตกาญจนา - อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี
- ฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร - อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี
- สหพันธ์ รุ่งโรจนพณิชย์ - สมาชิกวุฒิสภา, รองประธานหอการค้าจังหวัดกาญจนบุรี
- ศตวรรษ เศรษฐกร - ดารา, นักร้อง, นักแสดง
- ธนวัฒน์ ประสิทธิสมพร (DJ นุ้ย EFM) - นักจัดรายการวิทยุ, นักแสดง, นักพากย์
- กิตติพัทธ์ ชลารักษ์ - พิธีกรรายการ เทยเที่ยวไทย
- เวฬุรีย์ ดิษยบุตร - มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2557, นักแสดง, พิธีกรรายการ
- นันทิกานต์ สิงหา - นักแสดง, พิธีกรรายการ
- ศุภกิตต์ พึ่งพระเดช - นักแสดง, นักเต้น
- กังสดาล วงษ์ดุษฎีกุล - มิสทิฟฟานี่ยูนิเวิร์ส 2551
- ไทธัญญ์ นีระพล (DJ ข้าว)- นักจัดรายการวิทยุ Seed 97.5 Fm
- ศักดิ์ดา แก้วบัวดี - นักแสดงภาพยนตร์รางวัลปาล์มทองคำ งานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ครั้งที่ 63 ณ ประเทศฝรั่งเศส
- ด.ต.ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์ - อดีตนักแบตมินตันมือวางอันดับ 2 ของโลก, 2 เหรียญเงินเอเชียนเกมส์, เหรียญทองซีเกมส์ 1999
- พ.ต.ท.สมพร ใจสิงหล - นักกีฬาเซปักตะกร้อ ทีมชาติไทย, เหรียญทองเอเชียนเกมส์ 2006และเอเชียนเกมส์ 2014, เหรียญทองซีเกมส์ 3 สมัย
- ร.ต.อ.วันสว่าง สวัสดี - นักกีฬากรีฑา ทีมชาติไทย, เหรียญทองซีเกมส์ 2007 และเหรียญเงินซีเกมส์ 2003, 2005, เหรียญทองแดงซีเกมส์ 2009
- อนันต์ คงเจริญ - นักกีฬาฟุตบอล ทีมชาติไทย, เหรียญทองกีฬาแหลมทอง 1965
- เดชา พิศมัย - นักกีฬาคาราเต้ ทีมชาติไทย, เหรียญทองแดงซีเกมส์ 2007
- น.ท.วันแรม ไชยโกมินทร์ - นักกีฬารักบี้ ทีมชาติไทย
- ปฏิภาณ เพ็ชรพูล - นักกีฬาฟุตบอล ทีมชาติไทย
อ้างอิง
- เชิงอรรถ
- ↑ วิดีทัศน์ ๘๔ ปีโรงเรียนสตรีกาญจนานุเคราะห์
- ↑ 2.0 2.1 วีดิทัศน์ประวัติโรงเรียนทองผาภูมิวิทยา
- ↑ 3.0 3.1 โรงเรียนทองผาภูมิวิทยา
- ↑ หนังสือจังหวัด ที่ กจ.23/14668 ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 คณะกรรมการจัดทำหนังสือคู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง. (2565). คู่มือครู นักเรียนและผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี. กาญจนบุรี: [ม.ป.ท.]. 100 หน้า.
- ↑ แท้ ประกาศวุฒิสาร. สุภาพบุรุษเสือแท้. กรุงเทพฯ : มูลนิธิหนังไทย, 2544. 366 หน้า. หน้า 29.
- ↑ เว็บไซต์โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ จัดการเล่าเรียนในหัวเมือง เล่มที่ ๑๕ ตอนที่ ๓๓ หน้าที่ ๓๓๓ ประกาศ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2441/033/333.PDF
- ↑ รายงานพระสงฆ์จัดการศึกษามณฑลราชบุรี รัตนโกสินทรศก ๑๑๗ เล่มที่ ๑๖ ตอนที่ ๒๘ หน้าที่ ๑ ประกาศ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2442/028/1.PDF
- ↑ แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสามัญศึกษา เรื่อง มีผู้ประทานและบริจาคเงินสมทบในการสร้างโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดกาญจนบุรี http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2474/D/4243.PDF
- ↑ ประกาศสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือแห่งสยาม เปลี่ยนนามกองลูกเสือ มณฑลราชบุรีที่ ๒ และที่ ๔ เล่มที่ ๔๑ หน้าที่ ๒๑๖๑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2467/D/2161.PDF
- ↑ 12.0 12.1 หนังสือ 100 ปี วิสุทธรังษี 1 มิถุนายน 2547
- ↑ รัษฎา สะวิคามิน และคณะ. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจโท จำรัส มังคลารัตน์ (เครื่องราชฯ) ม.ป.ป., ม.ว.ม., ท.จ.ว. ณ ฌาปนกิจสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร วันอาทิตย์ที่ ๑๘ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๑. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ., 2541. 315 หน้า. หน้า 31.
- บรรณานุกรม
- เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
- เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ
แหล่งข้อมูลอื่น
13°59′50″N 99°33′25″E / 13.997351°N 99.556947°E / 13.997351; 99.556947{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี |
---|
|
สหวิทยาเขตแควน้อย | |
---|
สหวิทยาเขตท่าม่วง | |
---|
สหวิทยาเขตท่ามะกา | |
---|
สหวิทยาเขตพลอยไพลิน | |
---|
สหวิทยาเขตเมืองสิงห์ | |
---|
|
โรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรี |
---|
*เปิดสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า, †เปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, ‡เปิดสอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย |
สังกัด สพม. กาญจนบุรี | |
---|
สังกัด สพป. กาญจนบุรี | |
---|
สังกัด สศศ. | |
---|
สังกัด อปท. | |
---|
สังกัด สช. | |
---|
สังกัดอื่น ๆ | |
---|
|
โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ ระดับมัธยมศึกษา |
---|
กรุงเทพมหานคร | |
---|
ภาคกลางตอนบน | |
---|
ภาคกลางตอนล่าง | |
---|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน | |
---|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง | |
---|
ภาคเหนือตอนบน | |
---|
ภาคเหนือตอนล่าง | |
---|
ภาคตะวันออก | |
---|
ภาคใต้ตอนบน | |
---|
ภาคใต้ตอนล่าง | |
---|