สาธารณรัฐแองโกลา
República de Angola (โปรตุเกส) |
---|
|
คำขวัญ: Virtus Unita Fortior (อังกฤษ: "Virtue is stronger when united") |
|
|
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด | ลูอันดา 8°50′S 13°20′E / 8.833°S 13.333°E / -8.833; 13.333 |
---|
ภาษาราชการ | ภาษาโปรตุเกส |
---|
การปกครอง | สาธารณรัฐประชาธิปไตย |
---|
|
| ฌูเวา โลเร็งซู |
---|
| Esperança da Costa |
---|
|
ประกาศเอกราช |
---|
|
| 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 |
---|
|
พื้นที่ |
---|
• รวม | 1,246,700 ตารางกิโลเมตร (481,400 ตารางไมล์) (22nd) |
---|
| negligible |
---|
ประชากร |
---|
• 2020 ประมาณ | 31,127,674[1] (46) |
---|
• สำมะโนประชากร 2014 | 25,789,024[2] |
---|
| 24.97 ต่อตารางกิโลเมตร (64.7 ต่อตารางไมล์) (157) |
---|
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2019 (ประมาณ) |
---|
• รวม | $213.034 พันล้าน[3] (64) |
---|
| $6,878[3] (107) |
---|
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2019 (ประมาณ) |
---|
• รวม | $64.480 พันล้าน[3] (61) |
---|
| $2,080[3] (91) |
---|
จีนี (2018) | 51.3[4] สูง |
---|
เอชดีไอ (2019) | 0.581[5] ปานกลาง · 148 |
---|
สกุลเงิน | กวันซา (AOA, Kwanza) |
---|
เขตเวลา | UTC+1 (CET) |
---|
| UTC+1 (ไม่มี) |
---|
รหัสโทรศัพท์ | 244 |
---|
โดเมนบนสุด | .ao |
---|
1 ประมาณการจากการหาค่าเฉลี่ย ค่า PPP อื่น ๆ คำนวณมาจากค่าประมาณมาตรฐานล่าสุดของ International Comparison Programme |
แองโกลา (โปรตุเกส: Angola, ออกเสียง: [ɐ̃ˈɡɔlɐ], อังกอลา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแองโกลา (โปรตุเกส: República de Angola) คือประเทศในแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนจดกับประเทศนามิเบีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกและประเทศแซมเบีย และมีชายฝั่งทางตะวันตกบนมหาสมุทรแอตแลนติก ส่วนจังหวัดกาบิงดาแยกจากส่วนที่เหลือของประเทศและมีพรมแดนจดสาธารณรัฐคองโก (คองโก-บราซาวีล) แองโกลาเป็นอดีตอาณานิคมของประเทศโปรตุเกส มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่พอสมควร ที่สำคัญคือน้ำมันและเพชร แองโกลาเป็นประเทศที่ปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
ประวัติศาสตร์
ชาวบันตูเป็นชนกลุ่มแรกที่เข้ามาอยู่ในบริเวณที่เป็นประเทศแองโกลาปัจจุบัน เมื่อก่อนพ.ศ. 2053 โปรตุเกสเข้ามาถึงแองโกลาเมื่อ พ.ศ. 2126 และผูกมิตรกับราชอาณาจักรบาคองโก เพื่อดำเนินการค้าทาส แองโกลาจึงกลายเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส การต่อต้านโปรตุเกสด้วยสงครามกองโจรเริ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2517 โปรตุเกสจึงให้เอกราชแก่แองโกลา หลังได้รับเอกราช แองโกลาเกิดความขัดแย้งภายในประเทศระหว่างกลุ่มนิยมคอมมิวนิสต์กับประชาธิปไตยที่ต่างมีมหาอำนาจหนุนหลัง ในที่สุดกองทหารคิวบาเข้ามาช่วยทำให้ฝ่ายนิยมคอมมิวนิสต์คือขบวนการประชาชนชนะ ส่วนแกนนำกลุ่มสหภาพแห่งชาติที่สหรัฐหนุนหลังออกไปสหรัฐเมื่อ พ.ศ. 2529
เดือนธันวาคม พ.ศ. 2531 มีการลงนามในข้อตกลงระหว่างแองโกลา คิวบา และแอฟริกาใต้เกี่ยวกับการถอนทหารคิวบา ทหารคิวบาถอนกำลังออกหมดเมื่อ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 สงคราม 16 ปีในแองโกลาสิ้นสุดลงเมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 โดยผู้นำประเทศลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพและรับปากจะฟื้นฟูประชาธิปไตย
การแบ่งเขตการปกครอง
แองโกลาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 18 จังหวัด และ 163 เขตเทศบาล[6]
- เบนโก (Bengo)
- เบนกัวลา (Benguela)
- เบ (Bié)
- คาบินดา (Cabinda)
- ควนโด คูบานโก (Cuando Cubango)
- ควนซาเหนือ (Cuanza Norte)
- ควนซาใต้ (Cuanza Sul)
- คัวนีนี (Cunene)
- ฮัวโบ (Huambo)
|
- ฮุยลา (Huila)
- ลวนดา (Luanda)
- ลูนดาเหนือ (Lunda Norte)
- ลูนดาใต้ (Lunda Sul)
- มาลันเจ (Malanje)
- มอกซิโก (Moxico)
- นามิบี (Namibe)
- อูยจี (Uíge)
- ซาอีร์ (Zaire)
|
เมืองที่ใหญ่ที่สุดในแองโกลา2006 census
|
|
อันดับ
|
ชื่อ
|
จังหวัด
|
ประชากร
|
|
ลูอันดา
วัมบู
|
1 |
ลูอันดา |
จังหวัดลูอันดา |
2,776,125
|
โลบิโต
เบนเกอลา
|
2 |
วัมบู |
จังหวัดวัมบู |
226,177
|
3 |
โลบิโต |
จังหวัดเบนเกอลา |
207,957
|
4 |
เบนเกอลา |
จังหวัดเบนเกอลา |
151,235
|
5 |
ลูคาปา |
จังหวัดลุนดานอร์เท |
125,751
|
6 |
คุยโตะ |
จังหวัดเบียเอ |
113,624
|
7 |
ลูบันโก |
จังหวัดฮุยลา |
102,541
|
8 |
มาลานเจ |
จังหวัดมาลานเจ |
87,047
|
9 |
นามิเบ |
จังหวัดนามิเบ |
80,150
|
10 |
โซโย |
จังหวัดซาเอียร์ |
67,553
|
อ้างอิง