สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี
สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี (อังกฤษ: Sahrawi Arab Democratic Republic, SADR; อาหรับ: الجمهورية العربية الصحراوية الديمقراطية; สเปน: República Árabe Saharaui Democrática, RASD) เป็นรัฐบาลพลัดถิ่นจัดตั้งโดยแนวร่วมโปลีซารีโอเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ปัจจุบันควบคุมบริเวณเวสเทิร์นสะฮาราที่เคยเป็นอาณานิคมของสเปน โมร็อกโกได้เข้าควบคุมและบริหารดินแดนส่วนใหญ่ในเขตดังกล่าวในนามของจังหวัดเซาเทิร์น ในขณะที่แนวร่วมโปลีซารีโอกล่าวว่าการปกครองของโมร็อกโกเป็นการรุกราน โดยแนวร่วมนี้มีอำนาจควบคุมบริเวณแนวชายแดนที่ติดต่อกับแอลจีเรีย ซึ่งแนวร่วมเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า "เขตอิสระ" ประวัติศาสตร์หลังจากสเปนถอนตัวออกไปจากเวสเทิร์นสะฮารา ทั้งสเปน โมร็อกโกและมอริเตเนียได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญามาดริดทำให้ทั้งโมร็อกโกและมอริเตเนียต้องการผนวกดินแดนนี้ ไม่มีการยอมรับในระดับนานาชาติต่อการประกาศเอกราชของแนวร่วมโปลีซารีโอ โดยแนวร่วมกล่าวว่าดินแดนนี้เป็นดินแดนของชนพื้นเมืองซาห์ราวี แนวร่วมได้ประกาศตั้งสาธารณรัฐที่บีรละห์ลูในเวสเทิร์นสะฮาราเมื่อ27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 โดยแนวร่วมประกาศว่าต้องการความเป็นเอกภาพภายในดินแดนหลังจากสเปนถอนตัวออกไป บีรละห์ลูยังคงเป็นดินแดนที่ถูกฝ่ายแนวร่วมควบคุมไว้หลังการลงนามในสนธิสัญญาสงบศึก พ.ศ. 2534 โปลีซารีโอกล่าวว่าเมืองเอลอาอายุนที่ถูกโมร็อกโกยึดครองคือเมืองหลวงของสาธารณรัฐ การดำเนินการทางธุรกิจส่วนใหญ่เกิดในค่ายผู้อพยพในแอลจีเรียซึ่งเป็นที่อยู่ของชาวซาห์ราวีลี้ภัย โครงสร้างรัฐบาลโครงสร้างสูงสุดของสาธารณรัฐคือประธานาธิบดีแห่งเวสเทิร์นสะฮารา ปัจจุบันคือ นาย บราฮีม กาลี และนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ อับดุลกาเดร์ ตาเลบ อูมัร โครงสร้างรัฐบาลประกอบด้วยสภารัฐมนตรีที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำ อำนาจตุลาการที่เป็นของประธานาธิบดี และสมัชชาแห่งชาติซาห์ราวีซึ่งมีโฆษกคนปัจจุบันคือ มาห์ฟูด อาลี เบยบา หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใน พ.ศ. 2519 แล้ว ได้มีการแก้ไขอีกหลายครั้ง ได้มีการจัดตั้งระบบศาล ซึ่งมีทั้งศาลท้องถิ่นและศาลสูง แต่เนื่องจากเป็นรัฐบาลพลัดถิ่น โครงสร้างต่าง ๆ จึงไม่ได้ทำงานโดยสมบูรณ์ สถาบันคู่ขนานกับโครงสร้างรัฐบาลอื่น ๆอยู่ในแนวร่วมโปลีซารีโอ ทำให้มีการซ้อนเหลื่อมระหว่างพรรคและสถาบันต่าง ๆ สมัชชาแห่งชาติในปัจจุบันมีบทบาทน้อยมากในการออกกฎหมาย พื้นที่ครอบครองสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีในปัจจุบันมีรัฐบาลบริหารงานในค่ายผู้อพยพชาวซาห์ราวีซึ่งอยู่ที่จังหวัดตินดุฟในแอลจีเรียตะวันตก โดยผู้นำอยู่ในค่ายราบัวนี ทางใต้ของจังหวัดทินดอฟ แม้ว่าสำนักงานบางแห่งอยู่ในเวสเทิร์นสะฮาราที่เมืองบีรละห์ลูและตีฟารีตี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ขบวนการโปลีซารีโอควบคุมอยู่ ความเป็นอิสระยังไม่แน่ชัด โดยขบวนการโปลีซารีโอและแอลจีเรียประกาศรับรองรัฐบาลพลัดถิ่น และอยู่นอกค่ายผู้อพยพ แต่มีข้อโต้แย้งจากอดีตสมาชิกขบวนการโปลีซารีโอและผู้สังเกตการณ์ภายนอก ความช่วยเหลือจากต่างชาติส่วนใหญ่ที่มีให้กับผู้อพยพมาจากข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ รัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีมีลักษณะใกล้เคียงกับระบอบรัฐสภาของยุโรป แต่มีบางมาตราที่ดำเนินการไม่ได้จนกว่าจะได้รับเอกราชที่แท้จริง ตามรัฐธรรมนูญ ผู้นำรัฐเป็นเลขาธิการทั่วไปของขบวนการโปลีซารีโอในช่วงเวลาที่เรียกว่าก่อนได้รับเอกราช และเป็นรัฐบาลเฉพาะกาลเมื่อได้รับเอกราช และกำหนดการเปลี่ยนผ่านในระยะแรกหลังได้รับเอกราช โดยสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีได้ประกาศเป็นรัฐบาลของเวสเทิร์นสะฮารา นอกจากนั้นยังกำหนดให้ใช้ระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคและยอมรับระบบตลาด ได้กำหนดความหมายของชาวซาห์ราวีว่าเป็นชาวอาหรับหรือแอฟริกันที่เป็นมุสลิม[3] และใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ ยอมรับหลักการสิทธิมนุษยชน และแนวคิดสหภาพอาหรับมักเรบและอาหรับทั้งหมด การยอมรับในระดับนานาชาติในปัจจุบันมี 43 ประเทศที่ยอมรับว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีเป็นตัวแทนของเวสเทิร์นสะฮารา ส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกาและประเทศในโลกที่สาม มีประเทศที่ถอนการรับรองก่อนหน้านี้ออกไป 22 ประเทศ และมี 12 ประเทศที่ระงับความสัมพันธ์ทางการทูต ในปัจจุบันมีสถานทูตของสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีใน 13 ประเทศ ในทางตรงกันข้าม กลุ่มประเทศพันธมิตรอาหรับและอีก 25 ประเทศรับรองการผนวกเวสเทิร์นสะฮาราของโมร็อกโก[4][5] แม้ว่าจะไม่มีตัวแทนในสหประชาชาติ สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีถือเป็นสมาชิกที่สมบูรณ์ของสหภาพแอฟริกาตั้งแต่ พ.ศ. 2527 โมร็อกโกได้ประท้วงด้วยการลาออกจากสหภาพแอฟริกา และเป็นประเทศเดียวในแอฟริกาที่ไม่ได้เป็นสมาชิกนับตั้งแต่แอฟริกาใต้เข้าเป็นสมาชิกอีกครั้งใน พ.ศ. 2537 นอกจากนั้น สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวียังเป็นสมาชิกพันธมิตรเชิงกลยุทธเอเชีย-แอฟริกาที่มีการชัดประชุมใน พ.ศ. 2548 โดยโมร็อกโกได้ถอนตัวเพื่อประท้วงการเข้าร่วมของสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี ใน พ.ศ. 2549 สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีเข้าร่วมในการประชุมพรรคการเมืองแห่งลาตินอเมริกนและแคริบเบียน [6] ใน พ.ศ. 2553 สถานทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีในนิคารากัวได้เข้าร่วมการเปิดประชุมสภาอเมริกากลาง[7]สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีไม่ได้เป็นสมาชิกทั้งพันธมิตรอาหรับหรือสหภาพอาหรับมักเรบ ซึ่งมีโมร็อกโกเป็นสมาชิก ปัญหาสิทธิเหนือเวสเทิร์นสะฮาราในแผนสันติภาพล่าสุดของสหประชาชาติที่เสนอโดยเจมส์ เบเกอร์และโคฟี อันนัน เลขาธิการทั่วไปแห่งสหประชาชาติได้เสนอแผนเกี่ยวกับเวสเทิร์นสะฮาราให้สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีถูกแทนที่ด้วยรัฐบาลเวสเทิร์นสะฮารามีระยะเวลา 5 ปี โดยให้โมร็อกโกเป็นที่ปรึกษาก่อนจะได้รับเอกราช แต่แผนนี้ต้องระงับไปเพราะโมร็อกโกไม่เห็นด้วย ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 รัฐบาลโมร็อกโกเสนอให้มีการจัดตั้งเขตปกครองตนเองในเวสเทิร์นสะฮาราและได้เสนอต่อสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อกลางเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 และนำไปสู่ความพยายามให้มีการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมืองเกี่ยวกับสิทธิเหนือดินแดนเวสเทิร์นสะฮาราแต่ก็เกิดปัญหาขิ้นเมื่อเวสเทิร์นสะฮาราไม่เห็นด้วย วันสำคัญของชาติ
วันทางศาสนาอิสลามวันหยุดที่ใช้ ปฏิทินอิสลาม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|