พลตำรวจเอก ชุมพล โลหะชาละ (หงศ์ โลหะชาละ) เป็นนายตำรวจและนักการเมืองชาวไทย เริ่มชีวิตการงานเป็นนายตำรวจอารักขาของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่สุดท้ายกลายเป็นนายตำรวจใกล้ชิดกับราชสำนัก เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของสัญญา ธรรมศักดิ์ 2 สมัย และในรัฐบาลบาลของพล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และเป็นอดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ
ประวัติ
พล.ต.อ. ชุมพล โลหะชาละ เดิมชื่อ หงส์ โลหะชาละ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์[1] และจบโรงเรียนนายร้อยในปี 2483[2]: 204
ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 อายุ 83 ปี และมีงานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯ ให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์
การงานและบทบาททางการเมือง
พล.ต.อ. ชุมพล เป็นคนสนิทของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม เขาเป็นหนึ่งในสามคนที่ได้ติดตาม จอมพล แปลก พิบูลสงคราม หลบหนีโดยเดินทางไปโดยรถยนต์ประจำตัวนายกรัฐมนตรียี่ห้อฟอร์ด รุ่นธันเดอร์เบิร์ดไปทางจังหวัดตราด และว่าจ้างเรือประมงลำหนึ่งเดินทางไปที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา[3] เมื่อครั้งเกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500 อย่างไรก็ดีเมื่อเขากลับไปรายงานตัวที่พระนคร เขาไม่ถูกลงโทษ[2]: 204
หลังจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ ต่างประเทศหลังจากจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ฟื้นฟูพระราชอำนาจ เขาตามเสด็จฯ แทบทุกครั้งในฐานะนายตำรวจราชสำนัก ซึ่งรวมถึงตามถวายอารักขาการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทั่วประเทศ[2]: 204–5 ในช่วงนั้นเขาเป็นผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง[2]: 205
ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2511[4] ต่อมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2516 และในปี พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นรัฐบาลที่ประกอบขึ้นจากผู้ที่พระมหากษัตริย์ไว้วางพระราชหฤทัย[2]: 205 เขาได้เลื่อนเป็นรองอธิบดีกรมตำรวจในปี 2519[2]: 205 [5] ในคดีการเมืองที่เขาคุมอยู่นั้น คดีที่ผู้เสียหายเป็นฝ่ายซ้ายจะตามจับผู้ใดไม่ได้ ซึ่งรวมถึงคดีฆ่าแขวนคอพนักงานการไฟฟ้าที่จังหวัดนครปฐมในวันที่ 24 กันยายน 2519 ด้วย แต่ถ้าเป็นฝ่ายขวาจะตามจับได้ทุกราย[2]: 205–6
ในเหตุการณ์ 6 ตุลา (2519) เขาเป็นผู้สั่งการให้ตำรวจสลายการชุมนุมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2]: 199 ทั้งนี้แม้ว่าสุธรรม แสงประทุม และนักศึกษาที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบมเดชานุภาพยอมมอบตัวแล้ว[2]: 202 พฤติกรรมของเขาสะท้อนชัดเจนว่าต้องการปราบนักศึกษาให้สิ้นซากหรือลบชื่อศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย[2]: 203
กระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของ พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในปี พ.ศ. 2522 จนถึงปี พ.ศ. 2523[6][7]
ยศและตำแหน่ง
ยศ
- 1 สิงหาคม พ.ศ. 2483 - ร้อยตำรวจตรี[8]
- 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 - ร้อยตำรวจเอก[9]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2514 - พลตำรวจโท[10]
ตำแหน่ง
- ??? - ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
- 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 - ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ[11]
ครอบครัว
พลตำรวจเอก ชุมพล เป็นบิดาของ ร้อยตำรวจตรี เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ อดีตประธานสภากรุงเทพมหานครและอดีตปลัดกรุงเทพมหานคร (เสียชีวิตแล้ว) และ พันตำรวจตรี สุรศักดิ์ โลหะชาละ สารวัตรแผนกฝึกอบรม กองกำกับการอำนวยการ กองบังคับการนครบาลเหนือ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (เสียชีวิตแล้ว)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
- พม่า :
- พ.ศ. 2499 - เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งสหภาพพม่า ชั้นสิธุ (ฝ่ายพลเรือน)[25]
- อิตาลี :
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2505 - เครื่องอิสริยาภรณ์เล็ทวล นัวร์ ชั้นที่ 2[26]
- สวีเดน :
- พ.ศ. 2505 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์วาซา ชั้นที่ 3[26]
- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2505 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์กูโรนน์ ชั้นที่ 3[26]
อ้างอิง
- ↑ พลตำรวจเอกชุมพล โลหะชาละ - โรงเรียนเทพศิรินทร์
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 เจียมธีรสกุล, สมศักดิ์ (2544). ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง. สำนักพิมพ์ 6 ตุลารำลึก. ISBN 9745728772.
- ↑ เลียววาริณ, วินทร์ (2540). ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน. ดอกหญ้า. ISBN 974-85854-7-6. หน้า 421
- ↑ "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2018-07-08.
- ↑ เส้นทางลี้ภัยจอมพลป.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๑๓๘๖)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๑๗๖๑)
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๙๔, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๐๗๔, ๒๙ มีนาคม ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๙๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๖ สิงหาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๕ ง หน้า ๒๘๐๓, ๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุดเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๓ สิงหาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖๕, ๒๓ ธันวาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๗๔ ง หน้า ๑๘๖๗, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๗ เมษายน ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี, เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 72 ตอนที่ 82 หน้า 2652, 1 พฤศจิกายน 2498
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 73 ตอนที่ 11 หน้า 387, 31 มกราคม 2499
- ↑ 26.0 26.1 26.2 26.3 26.4 26.5 26.6 26.7 26.8 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 79 ตอนที่ 109 หน้า 2635, 11 ธันวาคม 2505
- ↑ ราชกิจจานุเบกศา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 79 ตอนที่ 109 หน้า 2631, 11 ธันวาคม 2505