มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ (เกิด 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ประวัติมิ่งขวัญเกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนสุดท้อง ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 3 คน จบการศึกษาระดับมัธยม จากโรงเรียนวัดนวลนรดิศ[2] ได้รับปริญญาคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประกาศนียบัตรหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง จากโรงเรียนวอร์ตัน มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐ (The Wharton School of The University of Pennsylvania) การทำงานโตโยต้าเขาเริ่มเข้าทำงานเป็นพนักงานฝ่ายขาย กับบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ส ประเทศไทย จำกัด ต่อมาเลื่อนขึ้นไปอยู่แผนกการตลาด, แผนกประชาสัมพันธ์ โฆษณา, สื่อสารองค์กร จนกระทั่งได้รับตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และยังเป็น เลขานุการมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย โดยกล่าวกันว่า มิ่งขวัญเป็นพนักงานคนเดียว ในบรรดาพนักงาน 70,000 คนของเครือโตโยต้าทั้งหมด ที่สามารถข้ามขั้น จากผู้จัดการฝ่าย ขึ้นไปเป็นผู้อำนวยการทันที โดยมิได้เป็นไปตามจารีตการบริหารแบบญี่ปุ่น คือการเรียงตามลำดับอาวุโส และชั้นงาน[3] รัฐบาลไทยต่อมา ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร นายมิ่งขวัญ มีโอกาสเข้าช่วยงาน นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีทางเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น โดยเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และเป็นผู้ริเริ่มการประชาสัมพันธ์งาน เย็นทั่วหล้ามหาสงกรานต์, เทศกาลตรุษจีนไชนาทาวน์เยาวราช และ เทศกาลดนตรีพัทยา เป็นต้น[4] อสมทจากนั้น นายมิ่งขวัญได้รับเลือก ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) โดยเริ่มงานจากการเข้าปฏิรูป สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. จากยุคเดิม ที่เป็นแดนสนธยา ให้กลายเป็น "สถานีโทรทัศน์แห่งความทันสมัย โมเดิร์นไนน์ทีวี" จนนำไปสู่การแปรรูป อ.ส.ม.ท.จากองค์การภาครัฐ ไปเป็นบริษัทของรัฐ ภายใต้ชื่อ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)[5] ทั้งนี้ ระหว่างการบริหาร บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) มิ่งขวัญ เคยปรับรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์” ของ สนธิ ลิ้มทองกุล ออกจากผังรายการ[ต้องการอ้างอิง] และเมื่อเกิดรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ทักษิณในฐานะนายกรัฐมนตรี ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ทางไกลจากต่างประเทศ ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี เพื่อดำเนินการกับคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข[ต้องการอ้างอิง] แต่รัฐประหารยังเป็นผลสำเร็จ เขาจึงลาออกจากตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2549[ต้องการอ้างอิง] บทบาททางการเมืองในปี 2550 พรรคพลังประชาชน ทาบทามเขาให้เป็น หัวหน้าคณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรค[ต้องการอ้างอิง] และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นายมิ่งขวัญ ได้รับเลือกเป็น ส.ส.แบบสัดส่วน เขต 6 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 นายมิ่งขวัญ เข้ารับตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในคณะรัฐมนตรีสมัคร[ต้องการอ้างอิง] ต่อมา สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ปรับคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ให้เขาดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมแทน[ต้องการอ้างอิง] จนพ้นจากตำแหน่ง หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้สมัครพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 และจากคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชนของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นายมิ่งขวัญจึงย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นผู้นำในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2554[ต้องการอ้างอิง] อีกทั้งยังเกือบถูกวางตัวเป็นนายกในขณะนั้น[6][7]ต่อมาตำแหน่งนี้ตกเป็น ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึันมาเป็นนายก[8] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 พรรคเพื่อไทย ได้จัดกิจกรรมประกาศตัวผู้สมัคร ส.ส. แต่ไม่ปรากฏชื่อเขา[9] แต่ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 มิ่งขวัญ ถูกจัดให้อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งลำดับที่ 6 และได้รับเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย และขอเว้นวรรคทางการเมือง แต่ยืนยันว่ายังคงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพรรค แม้ว่าความเห็นทางการเมืองของเขากับพรรคจะไม่ตรงกันบ้างแต่ไม่ได้มีความขัดแย้งกัน[10] จากนั้นนายมิ่งขวัญได้เข้าร่วมและดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ เพื่อลงสมัครรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 และประกาศว่าจะไม่เข้าร่วมกับพรรคพลังประชารัฐเพราะอุดมการณ์ทางการเมืองต่างกัน[ต้องการอ้างอิง] วันที่ 23 พฤษภาคม 2562 เขาประกาศขอลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ สืบเนื่องมาจากตนและลูกพรรคมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน แต่ยังไม่ลาออกจากความเป็น ส.ส.[11] ต่อมาในการอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เขาประกาศลาออกจาก ส.ส. ในระหว่างการอภิปรายทั่วไปซักฟอกรัฐบาล[12] ต่อมาเขาได้เข้าร่วมงานกับ ดำรงค์ พิเดช ในพรรคโอกาสไทย (เปลี่ยนชื่อจากพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย)[13] หลังจากนั้นไม่นานก็ย้ายไปร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ[14] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|