Share to:

 

ซุนฮก

ซุนฮก
荀彧
ภาพวาดซุนฮกในสมัยราชวงศ์ชิง (1734)
ช่างชูลิ่ง (尚書令)
(รักษาการ)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 196 (196) – ค.ศ. 212 (212)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
ถัดไปฮัวหิม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 163[1]
สฺวี่ชาง มณฑลเหอหนาน
เสียชีวิตค.ศ.212 (49 ปี)[1]
เทศมณฑลโช่ว มณฑลอานฮุย
บุตร
บุพการี
  • Xun Gun (บิดา)
อาชีพข้อราชการทหาร, ขุนนาง
ชื่อรองเหวินรั่ว (文若)
ชื่อหลังเสียชีวิตจิ้งโหว (敬侯)
ตำแหน่งว่านซุ่ยถิงโหว
(萬歲亭侯)

ซุนฮก (จีน: 荀彧; ค.ศ. 163-212)[1][2] ชื่อรอง เหวินรั่ว (文若) เป็นข้าราชการทหารและขุนนางที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของโจโฉในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

ประวัติ

ซุนฮกมาจากเมืองเองฉวน (ประมาณเมืองสฺวี่ชาง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) และเกิดในครอบครัวข้าราชการ เขาได้รับการอธิบายไว้ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ว่าเป็นสุภาพบุรุษที่สูงและหล่อเหลา ปู่ของเขาคือ ซุนฉู่ (荀淑) รับราชการเป็นนายอำเภอ และมีลูกชาย 8 คน ซึ่งได้รับฉายาว่า "แปดมังกรแห่งตระกูลซุน"; ลุง/อาของซุนฮก คือซุนฉ่วง (荀爽) รับราชการเป็นหนึ่งในซันกง

ซุนฮกได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเด็กหนุ่มที่มีพรสวรรค์ และได้รับการประเมินโดยนักวิชาการชื่อเหอหย่ง ว่าเป็น "ผู้ที่สามารถช่วยเหลือกษัตริย์ได้" (王佐之才) ในปี ค.ศ. 189 เขาได้รับการเสนอชื่อเป็นเซียวเหลียน (ผู้สมัครรับราชการ) และเริ่มรับราชการ เมื่อตั๋งโต๊ะเข้ายึดอำนาจในเมืองหลวงลั่วหยาง ซุนฮกเกรงจะไม่ปลอดภัยจึงลาออกจากราชการกลับไปยังกิจิ๋ว (มณฑลเหอเป่ย์ในปัจจุบัน)

ซุนฮกรับใช้อ้วนเสี้ยวซึ่งมีฐานอำนาจอยู่ในกิจิ๋วเป็นครั้งแรก แต่ต่อมาซุนฮกก็ทิ้งเขาและไปรับใช้โจโฉแทนในปี ค.ศ. 191 โจโฉรับรู้ถึงพรสวรรค์ของซุนฮกและอุทานว่า "จื่อฟางของฉันมาแล้ว![3]" เมื่อซุนฮกมาถึง เขาได้แต่งตั้งซุนฮกเป็นผู้บัญชาการกองทัพ

รับใช้ภายใต้โจโฉ

การมีส่วนร่วมของซุนฮกต่อกองกำลังและการบริหารของโจโฉนั้นมีมากมายมหาศาล ในด้านหนึ่ง เขาแนะนำคนที่มีความสามารถอีกหลายคนให้โจโฉ รวมทั้งซุนฮิว, ตันกุ๋น, จงฮิว, กุยแก และสุมาอี้ โดยสร้างคณะที่ปรึกษารอบๆ โจโฉ; ในเวลาเดียวกันเขาได้เข้าร่วมในการต่อสู้และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในยุคนั้นหลายครั้ง โดยมักจะให้คำแนะนำแก่เจ้านายของเขาอย่างทันท่วงที ในทางกลับกัน โจโฉก็เคารพซุนฮกอย่างมากและให้คำแนะนำที่ดีแก่เขา

ในปี ค.ศ. 194 ขณะที่โจโฉนำทัพรบกับโตเกี๋ยมในชีจิ๋ว ฐานอำนาจที่บ้านของเขาที่กุนจิ๋วก็ถูกลิโป้โจมตีอย่างกะทันหัน และขุนนางสองคนของโจโฉคือตันก๋งและเตียวเมาเลือกที่จะแปรพักตร์ไปรับใช้ลิโป้ ในเวลานั้น ซุนฮกรับผิดชอบการป้องกันเมืองเจียนเฉิง (鄄城) และการรักษาเมืองอย่างมั่นคงของเขาช่วยให้เมืองรอดพ้นจากการถูกยึดครอง ทำให้กองทัพของโจโฉกลับมาและขับไล่ลิโป้ออกไป ต่อมาหลังจากการตายของโตเกี๋ยม โจโฉก็หันกลับมาเพื่อที่จะพิชิตชีจิ๋ว ก่อนที่จะไปจัดการกับลิโป้; ซุนฮกเป็นผู้ห้ามปรามเขาจากสิ่งนี้ โดยเตือนเขาว่ากุนจิ๋วเป็นดินแดนหลักและฐานอำนาจของเขา และควรได้รับความปลอดภัยก่อนเป็นอันดับแรก

นอกจากนี้ ตามคำแนะนำของซุนฮกนั้น โจโฉเลือกที่จะคุ้มกันพระเจ้าเหี้ยนเต้ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ในซากปรักหักพังของลั่วหยาง ไปยังฐานอำนาจของเขาที่ Xu (ปัจจุบันคือสฺวี่ชาง มณฑลเหอหนาน) ในปี ค.ศ. 196 โดยรับหน้าที่ในการปกป้องจักรพรรดิ แผนของซุนฮกคือ "ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาภายใต้พระปรมาภิไธยขององค์จักรพรรดิ" (奉天子以令不臣); ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์สมัยศตวรรษที่ 14 เรื่องสามก๊ก ได้บิดเบือนเรื่องนี้โดยเปลี่ยนเป็น "จับจักรพรรดิเป็นตัวประกันเพื่อควบคุมขุนนาง" (挾天子以令不臣) ในระยะยาว กลยุทธ์นี้จะทำให้โจโฉมีข้อได้เปรียบทางการเมืองเหนือคู่แข่ง ทำให้เขาสามารถกระทำการโดยชอบด้วยกฎหมายภายใต้พระปรมาภิไธยขององค์จักรพรรดิ

ในปี ค.ศ. 200 โจโฉทำสงครามกับอ้วนเสี้ยวในยุทธการที่กัวต๋อ เป็นเวลาหลายเดือน ในที่สุดเสบียงอาหารของเขาก็หมดลง ในขณะที่เขาคิดที่จะล่าถอยเขาได้ส่งจดหมายถึงซุนฮก (ซึ่งตอนนั้นกำลังรักษาเมืองฮูโต๋) เพื่อขอคำแนะนำ ซุนฮกห้ามปรามโจโฉผ่านทางจดหมายโดยเน้นถึงข้อดีหลายประการและกระตุ้นให้เขายืนหยัด ผลสุดท้ายคือชัยชนะอย่างเด็ดขาดของโจโฉ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปกครองจีนตอนเหนือของเขา

เสียชีวิต

ในปี ค.ศ. 211 ตังเจี๋ยวและกลุ่มผู้ภักดีต่อโจโฉ ได้ยื่นฎีกาต่อพระเจ้าเหี้ยนเต้โดยเสนอให้โจโฉได้รับตำแหน่ง ก๋ง (公) ข้อเสนอนี้มีความสำคัญเนื่องจากจะทำให้โจโฉสามารถจัดตั้งรัฐศักดินาที่มีขอบเขตในตัวเองได้ภายในราชวงศ์ฮั่น เมื่อถึงจุดนี้ ซุนฮกซึ่งมีอุดมการณ์ให้โจโฉเป็นผู้พิทักษ์ราชวงศ์ฮั่นต่อไป ได้คัดค้านข้อเสนอของตังเจี๋ยวและคณะ

เมื่อรู้ว่าตังเจี๋ยวเป็นตัวแทนของโจโฉเพื่อมาเจรจา ซุนฮกจึงบอกกับตังเจี๋ยวว่าภารกิจขอโจโฉคือการฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่นและจะไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวดังกล่าว ซึ่งนั่นอาจเป็นการบอกใบ้ถึงโจโฉว่าเขาควรละทิ้งความคิดนี้ คำพูดของซุนฮกทำให้โจโฉไม่พอใจอย่างมาก

ต่อจากนี้ ซุนฮกถูกส่งไปมอบรางวัลแก่ทหารที่เข้าร่วมการต่อสู้กับซุนกวน ขณะที่อยู่ที่นั่น กล่าวกันว่า ซุนฮกล้มป่วยและถูกนำตัวไปที่สิ่วชุ่น (寿春; ปัจจุบันคือ Shou County มณฑลอานฮุย) เพื่อรับการรักษาและพักฟื้น เขาเสียชีวิตในปีต่อมาคือในปี ค.ศ. 212 การตายของเขาทำให้เกิดความสงสัยอย่างมากและเป็นเรื่องของการถกเถียงหลังจากที่เขาคัดค้านการขึ้นเป็นก๋งของโจโฉ

ครอบครัว

อ้างอิง

การอ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 ชีวประวัติของซุนฮกใน จดหมายเหตุสามก๊ก ระบุว่าเขาเสียชีวิตตอนอายุ 50 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ในปีเจี้ยนอัน 17 (ประมาณ ค.ศ. 212) ในรัชสมัยพระเจ้าเหี้ยนเต้แห่งราชวงศ์ฮั่น (十七年, ... 以憂薨,時年五十。) เมื่อคำนวณแล้ว ปีเกิดของเขาน่าจะอยู่ประมาณ ค.ศ. 163
  2. de Crespigny, Rafe (2007). A biographical dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23–220 AD). Brill. p. 928. ISBN 978-90-04-15605-0.
  3. "จื่อฟาง" เป็นชื่อรองของเตียวเหลียงที่ปรึกษาคนสำคัญของจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ เตียวเหลียงมีส่วนอย่างมากในการก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น.

บรรณานุกรม

Kembali kehalaman sebelumnya