Share to:

 

แฮหัวเอี๋ยน

แฮหัวเอี๋ยน
夏侯淵
ภาพวาดแฮหัวเอี๋ยนสมัยราชวงศ์ชิง
ขุนพลโจมตีตะวันตก (征西將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 216 (216) – ค.ศ. 219 (219)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
ตูฮู่เจียงจฺวิน
(都護將軍)
(รักษาการ)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 215 (215) – ค.ศ. 216 (216)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
ฮู่จวินเจียงจฺวิน
(護軍將軍)
(รักษาการ)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 215 (215)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
ปั๋วโจว มณฑลอานฮุย
เสียชีวิตป. กุมภาพันธ์ ค.ศ. 219
เขาเตงกุนสัน มณฑลฉ่านซี
บุตร
ความสัมพันธ์แฮหัวตุ้น (ลูกพี่ลูกน้อง)
พระนางแฮหัว (หลานสาว)
อาชีพขุนศึก, ขุนนาง
ชื่อรองเหมี่ยวฉาย (妙才)
ชื่อหลังเสียชีวิตหมิ่นโหฺว (愍侯)
ตำแหน่งปั๋วชางถิงโหว (博昌亭侯)

แฮหัวเอี๋ยน (จีนตัวย่อ: 夏侯渊; จีนตัวเต็ม: 夏侯淵; พินอิน: Xiàhóu Yuān; เวด-ไจลส์: Hsiahou Yuan; เสียชีวิต ป. กุมภาพันธ์ ค.ศ. 219)[1] เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพคนสำคัญของโจโฉ ชื่อรองเหมี่ยวฉาย เป็นน้องของแฮหัวตุ้น มีบุตรชายสี่คนคือแฮหัวป๋า แฮหัวหุย แฮหัวฮุยและแฮหัวโห สวามิภักดิ์กับโจโฉตั้งแต่ตั้งกองทัพพันธมิตร 18 หัวเมือง เป็นแม่ทัพที่เก่งกล้าและเป็นคนที่โจโฉไว้ใจมากคนหนึ่ง ชำนาญการใช้ธนูอย่างมาก จึงได้ฉายาว่า จอมขมังธนูแห่งวุยก๊ก

เมื่อเล่าปี่เตรียมทัพจะตีฮันต๋ง โจโฉได้ส่งแฮหัวเอี๋ยนไปรักษาที่เขาเตงกุนสันอันเป็นชัยภูมิสำคัญเปรียบเหมือนคอหอยของเมืองฮันต๋ง หากเสียเขาเตงกุนสันไปการยกทัพตีฮันต๋งก็จะง่ายดาย แฮหัวเอี๋ยนได้รบกับฮองตงแม่ทัพของเล่าปี่ และถูกสังหารในที่สุด

ครอบครัว

ภรรยาของแฮหัวเอี๋ยนเป็นน้องสาวของหนึ่งในภรรยาของโจโฉ[2]

เซี่ยโหว เหิง (夏侯衡) ลูกชายคนแรกของแฮหัวเอี๋ยน แต่งงานกับลูกสาวของไห่หยางไอโหว (海陽哀侯) ผู้เป็นน้องชายของโจโฉ เขาโปรดปรานเซี่ยโหว เหิงด้วยการให้ตำแหน่ง "ปั๋วชางถิงโหว" (博昌亭侯) ตำแหน่งของพ่อ ภายหลังมีการเปลี่ยนชื่อตำแหน่งนี้เป็น "อันหนิงถิงโหว" (安寧亭侯)[3]

แฮหัวป๋า ลูกชายคนที่สองของแฮหัวเอี๋ยน ทำหน้าที่เป็นขุนศึกในวุยก๊ก เขาแปรพักตร์เข้ากับจ๊กก๊ก รัฐศัตรู หลังสุมาอี้ยึดอำนาจจากโจซอง อุปราชร่วม และกลายเป็นผู้ปกครองวุยก๊กโดยพฤตินัย[4]

แฮหัวเอี๋ยนมีลูกชายอีก 5 คนที่เด็กกว่าแฮหัวป๋า ได้แก่: เซี่ยโหว เชิง (夏侯稱),[5] แฮหัวหุย, เซี่ยโหว หรง (夏侯榮),[5] แฮหัวฮุย และแฮหัวโฮ[6]

เซี่ยโหว หรง (夏侯榮) ลูกชายคนที่ 5 ของแฮหัวเอี๋ยน สู้รบร่วมกับพ่อในศึกเขาเตงกุนสัน เมื่อเขาได้ยินข่าวการเสียชีวิตของพ่อ เขาโมโหมากจนคนรับใช้ต้องควบคุมไว้ จากนั้นเขาก็สามารถปลดปล่อยและพุ่งเข้าใส่ศัตรูด้วยดาบในมือ ตอนที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ เขามีอายุเพียง 13 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[7]

แฮหัวเอี๋ยนมีหลานสาวชื่อพระนางแฮหัวที่มีอายุประมาณ 13 ปีใน ค.ศ. 200 ขณะที่เธอเก็บฟืนอยู่นั้น เตียวหุยลักพาตัวเธอไป เธอกลายเป็นภรรยาของเตียวหุยและให้กำเนิดลูกสาวสองคนที่ภายหลังแต่งงานกับเล่าเสี้ยน และกลายเป็นจักรพรรดินีจิงไอ่กับจักรพรรดินีจางแห่งจ๊กก๊ก[8]

รายชื่อบุคคลที่ถูกสังหารโดยแฮหัวเอี๋ยน

อ้างอิง

  1. แฮหัวเอี๋ยนเสียชีวิตในเดือน 1 ปีที่ 24 ของศักราช Jian'an ซึ่งตรงกับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ถึง 3 มีนาคม ค.ศ. 219 ตามปฏิทินจูเลียน
  2. (淵妻,太祖內妹。) Sanguozhi vol. 9.
  3. (長子衡,尚太祖弟海陽哀侯女,恩寵特隆。衡襲爵,轉封安寧亭侯。) Sanguozhi vol. 9.
  4. (黃初中,賜中子霸,太和中,賜霸四弟爵皆關內侯。霸,正始中為討蜀護軍右將軍,進封愽昌亭侯,素為曹爽所厚。聞爽誅,自疑,亡入蜀。以淵舊勳赦霸子,徙樂浪郡。) Sanguozhi vol. 9.
  5. 5.0 5.1 (世語曰: ... 淵弟三子稱,弟五子榮。) Shiyu annotation in Sanguozhi vol. 9.
  6. (霸弟威,官至兖州刺史。 ... 威弟惠,樂安太守。 ... 惠弟和,河南尹。) Sanguozhi vol. 9.
  7. (从孙湛为其〈序〉曰:[稱]弟荣,字幼权。...。汉中之败,荣年十三,左右提之走,不肯,曰:‘君亲在难,焉所逃死!’乃奋剑而战,遂没阵。”) Wei Jin Shiyu annotation (citing Xiahou Zhan, grandson of Xiahou Wei) in Sanguozhi, vol.9
  8. (初,建安五年,時霸從妹年十三四,在本郡,出行樵採,為張飛所得。飛知其良家女,遂以為妻,產息女,為劉禪皇后。) Weilue annotation in Sanguozhi vol. 9.
Kembali kehalaman sebelumnya