กุยห้วย
กุยห้วย หรือ โกฉุย หรือ กวยหวย (เสียชีวิต 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 255)[a] หรือชื่อในภาษาจีนกลางว่า กัว ไหฺว (จีน: 郭淮) ชื่อรอง ปั๋วจี้ (伯濟) เป็นขุนพลของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน เริ่มรับราชการในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกภายใต้ขุนศึกโจโฉ อยู่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของขุนศึกของโจโฉคือแฮหัวเอี๋ยนและเตียวคับ ในยุคสามก๊ก กุยห้วยรับราชการวุยก๊ก รัฐที่ก่อตั้งโดยโจผีบุตรชายของโจโฉ และมีชีวิตในรัชสมัยของจักรพรรดิวุยก๊ก 4 พระองค์ (โจผี โจยอย โจฮอง และโจมอ) ตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 220 จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 255 กุยห้วยปกครองและป้องกันชายแดนด้านตะวันตกของที่มณฑลเองจิ๋วและมณฑลเลียงจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลกานซู่ มณฑลส่านซี เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย มณฑลชิงไห่ และเขตปกครองตนเองมองโกเลียในในปัจจุบัน) ในช่วงเวลานั้นกุยห้วยมีบทบาทในการต้านการบุกของจ๊กก๊กอันเป็นรัฐข้าศึกหลายครั้ง และมีบทบาทในการปราบปรามกบฏของชนเผ่าเกี๋ยง เผ่าตี และชนเผ่าที่ไม่ใช่ชาวฮั่นอื่น[2] ชีวประวัติช่วงต้นกุยห้วยเป็๋นชาวอำเภอหยางฉฺวี่ (陽曲縣 หยางฉฺวี่เซี่ยน) เมืองไท่ยฺเหวียน ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอหยางฉฺวี่ มณฑลชานซี[3] ปู่ของกุยห้วยชื่อ กัว เฉฺวียน (郭全) รับราชการเป็นขุนนางตำแหน่งเสนาบดีการเกษตร (大司農 ต้าซือหนง) บิดาของกุยห้วยชื่อ กัว ยฺวิ่น (郭縕) รับราชการเป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองเยี่ยนเหมิน (ปัจจุบันอยู่บริเวณเมืองซินโจว มณฑลชานซี) ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[4] กุยห้วยเริ่มรับราชการในช่วงกลางของรัชศกเจี้ยนอัน (ค.ศ. 196–220) ในรัชสมัยพระเจ้าเหี้ยนเต้ช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ได้รับการเสนอชื่อเป็นเซี่ยวเหลียน (ผู้สมัครเข้ารับราชการขุนนางฝ่ายพลเรือน) ต่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยในเมืองเพงงวน (ผิงยฺเหวียน)[5] รับใช้โจโฉเมื่อโจผีดำรงตำแหน่งขุนพลองครักษ์ห้าตำแหน่ง (五官中郎將; อู่กวันจงหลางเจี้ยง) ระหว่างปี ค.ศ. 211 ถึง ค.ศ. 220 ได้รับกุยห้วยมาเป็นเจ้าหน้าที่ในสำนักบังคับกฎหมายที่อยู่ใต้การกำกับดูแลของโจผี ภายหลังกุยห้วยได้รับตำแหน่งเป็นเสมียนในสำนักกิจการทหารที่ขึ้นตรงต่ออัครมหาเสนาบดี[6] ซึ่งดำรงตำแหน่งโดยโจโฉบิดาของโจผี ขุนศึกผู้กุมอำนาจในราชสำนักฮั่นและควบคุมพระเจ้าเหี้ยนเต้ในฐานะจักรพรรดิหุ่นเชิดตั้งแต่ ค.ศ. 196[7] ในปี ค.ศ. 215[8] กุยห้วยติดตามโจโฉไปร่วมในการรบกับขุนศึกเตียวฬ่อในเมืองฮันต๋ง หลังปราบเตียวฬ่อและยึดเมืองฮันต๋งได้ โจโฉมอบหมายให้ขุนพลแฮหัวเอี๋ยนอยู่รักษาฮันต๋งเพื่อป้องกันการบุกของขุนศึกเล่าปี่ที่อยู่ที่มณฑลเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่มณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) ที่อยู่ใกล้เคียง กุยห้วยยังคงอยู่ที่ฮันต๋งด้วยเช่นกัน และทำหน้าที่เป็นนายพัน (司馬; ซื่อหม่า) ภายใต้บังคับบัญชาของแฮหัวเอี๋ยน[9] ในปี ค.ศ. 217[10] เล่าปี่เริ่มทำศึกเพื่อชิงเมืองฮันต๋งจากทัพโจโฉ กุยห้วยไม่ได้เข้าร่วมในศึกแรก ๆ เพราะล้มป่วย หลังจากแฮหัวเอี๋ยนถูกสังหารในยุทธการที่เขาเตงกุนสัน ในปี ค.ศ. 219[10] เกิดความตื่นตระหนกและหวาดกลัวในหมู่กองกำลังของโจโฉในฮันต๋งเพราะสูญเสียผู้บัญชาการ กุยห้วยจัดการฟื้นฟูระเบียบและความมั่นคงในทัพโจโฉในสองทาง ทางแรกกุยห้วยรวบรวมและรวมกลุ่มทหารที่แตกพ่ายหลังแฮหัวเอี๋ยนถูกสังหาร ทางที่สองได้เสนอชื่อเตียวคับให้เป็นผู้บัญชาการทัพโจโฉในฮันต๋งแทนที่แฮหัวเอี๋ยน[11] วันถัดมา เมื่อทัพโจโฉได้ข่าวว่าทัพเล่าปี่กำลังเตรียมจะข้ามแม่น้ำฮั่นซุยเพื่อเข้าโจมตีพวกตน นายทหารส่วนใหญ่ของโจโฉแนะนำว่าควรแต่งค่ายริมฝั่งแม่น้ำและใช้ประโยชน์จากแม่น้ำเป็นปราการธรรมชาติต้านข้าศึกที่มีจำนวนมากกว่า[12] กุยห้วยไม่เห็นด้วยและพูดว่า "นี่ไม่ใช่การเคลื่อนกำลังที่ดีที่สุด เพราะเป็นการเผยจุดอ่อนของเราแก่ข้าศึกและจะไม่อาจยับยั้งข้าศึกไว้ได้ ทำไมเราไม่ตั้งค่ายให้ห่างจากแม่น้ำ ลวงข้าศึกให้โจมตีค่าย และโต้กลับระหว่างที่ข้าศึกกำลังข้ามแม่น้ำเล่า ถ้าทำเช่นนี้ก็จะเอาชนะเล่าปี่ได้"[13] เตียวคับและนายทหารคนอื่น ๆ ทำตามแผนของกุยห้วย เมื่อเล่าปี่เห็นค่ายข้าศึกอยู่ห่างจากแม่น้ำก็สงสัยและไม่ส่งกองกำลังข้ามแม่น้ำไปโจมตี กุยห้วยยังได้สั่งให้ทหารเสริมการป้องกันและทำให้เล่าปี่เห็นว่าพวกตนเตรียมพร้อมตั้งมั่นแล้ว[14] โจโฉพอใจมากเมื่อได้ยินเรื่องที่กุยห้วยทำ และยังอนุมัติคำสั่งของเตียวคับ สั่งให้กุยห้วยยังคงทำหน้าที่เป็นนายพันภายใต้การบัญชาของเตียวคับ[15] รับใช้โจผีในปีต่อมา (พ.ศ. 763) โจโฉได้เสียชีวิตลง และโจผีได้ขึ้นครองอำนาจต่อ โจผีได้มอบตำแหน่งพระยามหาดไทย (Interior Marquis) แก่ กุยห้วย และมอบหมายให้ไปช่วยเตียวคับ (Zhang He) ในการดูแลการรุกรานจากทางจ๊กก๊กของขงเบ้งและเล่าปี่ ตลอดจนเพิ่มตำแหน่งผู้พิทักษ์แห่งชนเผ่าเกี๋ยง(Warlord Protector of the Qiang tribe) ซึ่งทำให้นับจากนี้กุยห้วยต้องรับผิดชอบชนเผ่านอกด่านนี้ โดยตั้งแต่ พ.ศ. 764 ถึง พ.ศ. 770 เป็นเวลาหกปีที่กุยห้วยได้ช่วยเตียวคับปราบปรามดูแลพื้นที่พายัพโดยเฉพาะปีแรกๆนั้นเขาสามารถปราบ ปู๋ฟ่ง (Pi Fán)หัวหน้ากบฏแห่งเผ่าเกี๋ยงที่ยึดครองอันดิง (Anding) ลงได้ อีกทั้งตลอดระยะเวลาที่เตียวคับไม่อยู่ในช่วงพ.ศ. 765 และ พ.ศ. 766 เมื่อเตียวคับต้องร่วมทัพโจผีในการบุกง่อก๊ก รับใช้โจยอยใน พ.ศ. 771 ขงเบ้งได้ยกทัพบุกเหนือ(ยุทธการเขากิสาน)โดยมี ม้าเจ็ก (Ma Su), เตงจี๋ (Deng Zhi), จูล่ง (Zhao Yun) และโกเสียง(Gao Xiang) ขงเบ้งได้ให้จูล่งและเตงจี๋ จู่โจมและปลุกระดมพื้นที่โดยรอบเพื่อลดกำลังการป้องกันของฝ่ายวุยก๊ก ส่งผลให้เกิดการปลุกระดมต่อต้านและกบฏมากมายในพื้นที่ไป๋เสีย (Mei) อันได้แก่ เทียนซุย (Tianshui), ลำอั๋น (Nán An) และอันดิง (Anding) แล้วไปบรรจบรวมกับทัพของม้าเจ็กและขงเบ้ง ที่เผชิญหน้าอยู่กับทัพของเตียวคับและโจจิ๋น (Cao Zhen) ในระหว่างนั้นขงเบ้งได้ให้โกเสียงไปรวบรวมเสบียงสนับสนุนที่หลิวเซีย (Lieliu) กุยห้วยได้คาดการณ์ถึงแผนการนี้ออก จึงนำทัพโจมตีและขับไล่โกเสียงที่หลิวเซีย ขณะที่ภายหลังม้าเจ็กพ่ายต่อเตียวคับ ทำให้การศึกครั้งนี้จบลง และขงเบ้งได้นำทัพล่าถอยกลับไปตั้งมั่นที่ฮันต๋ง จากนั้นโจจิ๋น,เตียวคับและกุยห้วย ได้ช่วยกันปราบปรามกบฏต่างๆที่เกิดขึ้น โดยกุยห้วยได้ปราบตองถู่ (Tang Ti) หัวหน้ากบฏชนเผ่าเกี๋ยงลงได้ ในปีถัดมา (พ.ศ. 772) ขงเบ้งได้รวบรวมกองกำลังเพื่อบุกเขากิสานอีกครั้ง โดยครั้งนี้ได้มอบหมายให้ตันเซ็ก (Chen Shi) โจมตีอิมเป๋ง (Ying Ping) และปูเต๋า (Wu Du) ในขณะที่ขงเบ้งนำทัพบุกเจียนเว่ย (Jian Wei) โดยแผนการของขงเบ้งคือการตรึงกุยห้วยไว้ที่อิมเป๋งและปูเต๋าเพื่อไม่ให้สามารถนำทัพไปช่วยทางกิสานและเตียงฮัน (Chang An) อย่างไรก็ตามกุยห้วยมองแผนการออก และได้ละทิ้งเมืองทั้งสอง และรวบรวมทหารไปสกัดทางขงเบ้งแทน ซึ่งทำให้ขงเบ้งไม่สามารถรุกคืบไปได้มากกว่านี้และต้องล่าถอยเมื่อขาดเสบียง แต่อย่างไรก็ตามขงเบ้งสามารถยึดอิมเป๋งและปูเต๋าไว้ได้สำเร็จ ใน พ.ศ. 773 กองทัพวุยก๊ก นำโดยโจจิ๋น เตียวคับและสุมาอี้ (Sima Yi) ได้ตัดสินใจโจมตีจ็กก็กที่มีขงเบ้งนำทัพที่ฮันต๋ง โดยมอบหมายให้กุยห้วยนำกองกำลังส่วนหนึ่งไประดมพันธมิตร,เสบียงตลอดจนกองกำลังสนับสนุนจากบริเวณโดยรอบของชนเผ่าเกี๋ยง ในขณะเดียวกันทางฝ่ายจ็กก๊กเอง ก็ได้ส่งอุยเอี๋ยน (Wei Yan) ออกไปทำภารกิจเดียวกัน เมื่อกองกำลังทั้งสองมาเผชิญหน้ากัน ด้วยเชิงการต่อสู้ที่เหนือกว่าของอุยเอี๋ยนทำให้กุยห้วยต้องล่าถอยทัพไป อย่างไรก็ตามทัพวุย ประสบกับภัยธรรมชาติจากน้ำท่วม จึงตัดสินใจถอยทัพไปโดยไม่ได้มีการสู้รบกับฝ่ายจ๊กก๊กในฮันต๋งเลยแม้แต่น้อย ในปีถัดมา (พ.ศ. 774) ขงเบ้งได้ดำเนินการบุกเหนืออีกครั้ง โดยครั้งนี้โจจิ๋นที่ได้ล้มป่วยลงตั้งแต่ปีที่แล้วซึ่งคาดว่าจากสภาพอากาศที่ย่ำแย่ ทำให้สุมาอี้ถูกสลับมาที่เตียงฮันเพื่อนำทัพป้องกันขงเบ้งแทนโจจิ๋น โดยมอบหมายเรื่องปกป้องเสบียงกรังทั้งหมดแก่กุยห้วย และด้วยการนำทัพของสุมาอี้ ขงเบ้งจึงได้ถอยทัพไปในที่สุด อีกสองปีถัดมาใน พ.ศ. 776 ขงเบ้งได้นำทัพบุกเหนืออีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย ในครั้งนี้ขงเบ้งได้รุกทัพมาจนถึงบริเวณไป๋เสีย (Mei) ในขณะที่สุมาอี้ได้ตั้งรับบริเวณแม่น้ำอุยโฮ (Wei river) กุยห้วยได้แสดงความกังวลต่อสุมาอี้ว่า ขงเบ้งอาจจะแบ่งทัพอ้อมไปตี ปี่อ้วน (Beiyuan) อันเป็นอีกจุดยุทธศาสตร์เพื่อขนาบทัพล้อมสุมาอี้ได้ สุมาอี้เห็นด้วยจึงให้กุยห้วยนำทัพอย่างเร่งด่วนไปตั้งค่ายชั่วคราวที่ ปี่อ้วน เพื่อตั้งรับทัพขงเบ้งที่อาจจะปารกฏตัวขึ้นมาได้ และเป็นไปดั่งที่กุยห้วยคาดการณ์ กองทัพขงเบ้งได้ลอบจู่โจมปี่อ้วน แต่ก็ถูกทัพกุยห้วยที่ป้องกันไว้ตีกลับไปโดยง่าย ส่งผลให้ขงเบ้งต้องชะงักอยู่ที่ทุ่งอู่จั้งหยวน กองทัพของทั้งขงเบ้งและสุมาอี้ทั้งสองตั้งค่ายเผชิญกันและรบพุ่งกันอยู่เป็นเวลาหลายเดือน จนกระทั่งขงเบ้งถึงแก่กรรม ณ สมรภูมินั้น ทำให้ทัพจ๊กเกิดการแย่งชิงต่อสู้กันเองในการแย่งการนำทัพ (กบฏอุยเอี๋ยน) ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อวุยก๊กอีกต่อไป ในปีถัดมาด้วยผลงานนี้ทำให้สุมาอี้ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเสนาธิการใหญ่(Grand Commander)และกลับไปเตียงฮัน เมื่อสิ้นขงเบ้ง ภูมิภาคตะวันตกของวุยก๊กจึงสงบอยู่เป็นเวลาสองสามปี รับใช้โจฮองอย่างไรก็ตามใน พ.ศ. 783 เกียงอุย (Jiang Wei) ได้นำกำลังผสมชนเผ่าต่างๆบุกโจมตีทัพวุยอีกครั้ง แต่กุยห้วยสามารถต้านทานและชนะโดยง่ายด้วยกำลังที่เหนือกว่ามาก หลังจากนั้นกุยห้วยได้ขยายแนวรบติดตามพวกชนเผ่าต่างๆให้ออกไปอีก โดยเฉพาะเผ่าเกี๋ยงQiangและเผ่าตี้Di tribeกุยห้วยได้จัคการหัวหน้าชนเผ่าลงหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัคการปีต๋อง (Mi Dang) ข่านของพวกเกี๋ยนลงได้ ผลจากการนี้ทำให้ชนเผ่านอกด่านต้องอพยพออกไปไกลขึ้นอีกจากบริเวณรอบฮันต๋งและไป๋เสีย ซึ่งกุยห้วยทำเพื่อป้องกันการกลับมาร่วมมือกับจ็กก๊กในอนาคตผลงานครั้งนี้ทำให้กุยห้วยได้รับตำแหน่งเจ้าพระยาฝ่ายซ้าย (General of the left) ใน พ.ศ. 787 โจซอง (Cao Shuang) และ แฮหัวเทียน (Xiahou Xuan) ต้องการแสดงฝีมือ ทั้งสองเป็นทายาทของตระกูลอิทธิพล การบุกครั้งนี้น่าจะเพราะประเด็นทางการเมืองภายในวุยก๊กเอง ทั้งสองได้นำกำลังบุกโจมตีจ๊กก๊ก โดยกุยห้วยได้รับมอบหมายให้คอยดูแลคุ้มครองกองกำลังสนับสนุนและเสบียง กุยห้วยไม่เห็นด้วยกับการศึกครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง โดยมองว่าแผนการไม่มีการวางแผนที่ดีพอ,ประมาทและไม่รอบคอบ จึงได้ส่งคำเตือนอย่างจริงจังไปยังโจซองและแฮหัวเทียนให้ระมัดระวังอย่างเต็มที่ แต่สุดท้าย อองเป๋ง (Wang Ping) ขุนพลแห่งจ็กก็ก ก็ได้ตรึงกองกำลังทัพวุยไว้ในค่ายกลได้สำเร็จ ทำให้ทัพวุยไม่สามารถรุกคืบต่อไปได้ และกุยห้วยไม่ได้พยายามที่จะขับไล่อองเป๋งไปเพราะเห็นว่าไม่เกิดประโยชน์ ในที่สุดเมื่อ บิฮุย (Fei Yi) แม่ทัพใหญ่แห่งจ็กก็กนำกองหนุนมาถึงอองเป๋ง แฮหัวเทียนและโจซองจึงจำเป็นต้องล่าถอย และด้วยการเตรียมการไว้แล้วของกุยห้วย ทัพทั้งหมดจึงสามารถถอนทัพได้อย่างง่ายดาย ในอีกสามปีถัดมา (790) ชนเผ่าเกี๋ยงได้ก่อกบฏรุกรานทางภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกครั้ง และนำกำลังร่วมกับเกียงอุยของจ็กก็กบุกโจมตีทัพวุย ครั้งนี้กุยห้วยได้นำแฮหัวป๋า(Xiahuo Ba)ออกตั้งรับการบุกและปราบปราม กุยห้วยได้รุกคืบไปถึงเต็กโตเสีย(Didao)และจัคการกลุ่มกบฏได้สำเร็จที่โป่ยฮ่าน(Fuhan) แต่ในขณะเดียวกันแฮหัวป๋าได้ถูกเกียงอุยรุกคืบและพยายามโอบล้อมและโดดเดี่ยวทัพของแฮหัวป๋า ซึ่งกุยห้วยได้คาดการไว้แล้วจึงได้นำทัพไปสนับสนุนแฮหัวป๋า และวางกับดักทัพเกียงอุย ส่งผลให้ทัพเกียงอุยตกในกับดักและพ่ายแพ้ไปอย่างรวดเร็ว ทัพกบฏแตกพ่ายบางส่วนได้หนีกลับไปยังจ็กก็กพร้อมกับเกียงอุย หลังจากนั้นกุยห้วยก็ได้เข้าควบคุมปราบปรามพื้นที่ต่างๆให้สงบลงได้ อย่างไรก็ตามในปีถัดไปเมื่อปี791 ชนเผ่าเกี๋ยงยังคงก่อการกบฏรุกรานเข้าสู่ดินแดนภาคตะวันตกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่องอีกครั้ง ในครั้งนี้นำโดยข่าน เอ่อลือให้(E Zhesai) และ ข่าน ก่อตั๋น( Wudai) ทั้งสองได้นำกำลังตั้งค่ายไปตามแม่น้ำอุยโฮ กุยห้วยได้ระแวงอยู่แล้วว่าทางจ็กก๊กพยายามจะหาเส้นทาง และวิธีการใหม่ต่างๆเพื่อเข้าสู่แคว้นวุยก๊ก ดังนั้นเค้าจึงต้องการจัคการกลุ่มกบฏเหล่านี้โดยเร็ว กุยห้วยได้เคลื่อนทัพข้ามแม่น้ำจัคการ ข่านเอ่อลือให้ อย่างรวดเร็วด้วยกำลังที่เหนือกว่า ข่านก่อตั๋น พยายามส่งกำลังไปสนับสนุนแต่ถูกกุยห้วยวางกับดักสกัดทัพและแตกพ่ายไปที่ หลงเส (Long Xi) ในระหว่างนั้น ทัพหลักจ็กก๊กของเกียงอุย ได้เคลื่อนทัพ ตั้งค่ายที่ จิวฉวน(Qiangchuan) ในขณะที่อีกทัพนำโดย เลียวฮัว(Liao Hua) ไปตั้งค่ายบนเขาเสียดก๊ก (Mount Chengzhong) เพื่อรวบรวมกองทัพชนเผ่าต่างๆที่เหลืออยู่และแตกพ่ายไปนั้น กุยห้วยพยายามที่จะโจมตีเลียวฮัวแต่ไม่เป็นผล เลียวฮัวสร้างป้อมค่ายบนจุดยุทธศาสตร์ที่ดีกว่าและป้องกันอย่างเข้มแข็ง ในขณะเดียวกัน กุยห้วยก็ไม่สามารถบุกตีเกียงอุยได้ด้วยกำลังที่น้อยกว่า อย่างไรก็ตาม กุยห้วยได้ออกแผนการด้วยการแบ่งกำลังสกัดชนเผ่านอกด่านที่จะเข้าไปรวมกับเกียงอุยก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อไม่ให้ขนาดทัพเกียงอุยเติบโตมากไปกว่านี้ ขณะเดียวกันได้ใช้เส้นทางลัดตัดผ่านไปทางด้านหลังทัพเลียวฮัวแล้วโจมตี ทำให้เลียวฮัวสับสนและตกใจกลัวถูกทัพขนาบสองด้าน จึงส่งมาเร็วไปขอกำลังสนับสนุนจากเกียงอุย ซึ่งได้ผล เพราะเกียงอุยได้ทิ้งค่ายที่จิวฉวน แล้วนำทัพพร้อมกำลังชนเผ่าเกี๋ยงมารวมกับเลียวฮัว ในระหว่างนั้น กุยห้วยก็ได้ใช้พันธมิตร ชนเผ่าหู่(Hu tribe) คอยโจมตีทัพเกียงอุยแบบกองโจร คอยก่อกวน ปลุกระดม รวมทั้งปล่อยข่าว ให้ทัพเกียงอุยเข้าใจว่าทัพกุยห้วยจะโจมตีทางนั้นทางนี้ จนทัพเกียงอุยระส่ำระส่ายและเหนื่อยล้า จนกระทั่งสามารถแยกทัพชนเผ่าออกจากเกียงอุย ให้ถูกหลอกคอยเฝ้าระวังทัพกุยห้วย ในที่สุดทัพเกียงอุย ก็ถูกทัพวุยนำโดย แฮหัวป๋า ก็สามารถขนาบกับทัพเกียงอุยไว้กับทัพกุยห้วยได้ และชนะในที่สุด ส่วนทัพเลียวฮัวเมื่อถูกโดดเดี่ยว ก็ถูกบีบให้ต้องถอยทัพไปด้วยกำลังที่เหนือกว่า ชัยชนะของกุยห้วยในครั้งนี้ทำให้ ชื่อเสียงของกุยห้วยโด่งดัง อิทธิพลและบารมีของกุยห้วยในภูมิภาคพายัพทั้งเองจิ๋ว ถึงเสเหลียงเติบโตขึ้นอย่างมาก ทำให้เป็นที่หวาดระแวงต่อกลุ่มการเมืองภายในเมืองหลวงอย่างมาก ในปีถัดมา (792) สุมาอี้ สังหารโจซอง และก่อรัฐประหารควบคุมอำนาจการปกครองแทน สุมาอี้หวาดระแวงอิทธิพลและกองกำลังภายใต้การบังคับบัญชาของกุยห้วย ที่อยู่เองจิ๋วในเวลานั้นอย่างมาก เพราะเพิ่งเริ่มควบคุมการปกครองภายในเมืองหลวงที่มีกำลังทหารน้อยกว่า จึงได้เรียกตัว แฮหัวเทียนมาที่ลกเอี๋ยง(Luo Yang)เพื่อมอบตำแหน่ง เจ้ากระทรวงสารนิเทศหลวง(Grand Herald) แล้วเลื่อนตำแหน่งกุยห้วยเป็น จอมทัพพิชิตตะวันตก (General who conquer the west) อันเป็นตำแหน่งตามมรดก ตั้งแต่สมัยของแฮหัวเอี๋ยนเดิมจากแฮหัวเทียน รวมถึงเพิ่มตำแหน่งเจ้าเมืองเองจิ๋ว (Marshal of Yong) เพื่อซื้อใจกุยห้วย แต่ในขณะเดียวกันเวลานั้น แฮหัวป๋า ไม่ได้รับการอวยยศตำแหน่งใดๆ และตำแหน่งที่กุยห้วยได้รับ คือตำแหน่งเดิมของตระกูลแฮหัว ซึ่งทำให้หลังจากนี้ กุยห้วยจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากสายตระกูลแฮหัว อีกเลย นัยว่าเป็นการแยกกุยห้วยออกจากการเป็นผู้ถูกสนับสนุนจากตระกูลแฮหัว และสร้างความขัดแย้งไปในตัว เพื่อลดอิทธิพลของกุยห้วย และผลักดันกุยห้วยให้ออกจากในเมืองหลวง เพื่อง่ายต่อการควบคุมแรงกระเพื่อมและจัคการผู้อื่นได้ง่ายกว่าหลังจากที่เพิ่งผ่านการรัฐประหาร ในขณะเดียวกัน ก็ส่งคนในสังกัดคือ ตันท่ายหรือต้านท่าย Chen Taiและ เตงงาย Deng Ai ไปคอยกำกับกุยห้วยในพื้นที่อิทธิพลนั้น โดยมอบให้ ตันท่าย รับตำแหน่ง ผู้ตรวจการณ์แห่งเอ็งจิ๋ว ( Inspector of Yong) แทนตัวกุยห้วยเองที่เลื่อนยศตำแหน่งไป และแต่งตั้ง เตงงายให้เป็น เจ้าพระยาธุรการแห่งลำอั๋น (Grand Administrator of Nań An) แต่ขณะเดียวกันทั้งสองคนก็กลายเป็นลูกศิษย์ที่เรียนรู้และเพื่อนร่วมงานของกุยห้วย ที่คอยซึมซับความรู้และแนวคิดในด้านต่างๆของกุยห้วยไปด้วย ไม่มีใครรู้ว่ากุยห้วย ที่ขณะนั้นอายุประมาน70ปี รับใช้วุยก๊กมาตั้งแต่สมัยโจโฉและมีความสนิทกับตระกูลแฮหัว มาตั้งแต่สมัยแฮหัวเอี๋ยนนั้น คิดเช่นใด กับการรัฐประหารของเพื่อนร่วมงานในวัยใก้ลเคียงกันอย่าง สุมาอี้ แต่ในฤดูหนาวปีนั้นเอง(792) เกียงอุยได้นำทัพบุกวุยก๊กอีกครั้ง กุยห้วยก็ได้นำ ตันท่าย และ เตงงาย เข้าป้องกันการบุกของเกียงอุย เกียงอุยได้ให้ชนเผ่าเกี๋ยงเข้ายึดและตั้งค่ายบริเวณเขากิมก๊ก(Mount Chu)และปลุกระดมชนเผ่าบริเวณนั้น ตลอดจนรวบรวมกองกำลังเพื่อต่อต้านวุยก๊ก ในขณะที่เกียงอุยเองยกทัพมาตั้งค่ายที่บริเวณเขาเอียวสู๋(Mount Niutou) อย่างไรก็ตาม ชนเผ่าเกี๋ยงที่สนับสนุนเกียงอุยในครั้งนี้ ไม่ได้เต็มใจที่จะทำเพื่อจ๊กก๊กมากนัก ที่สนับสนุนก็เพียงเพราะเกียงอุยมีสายสัมพันธ์ที่ดีและคำมั่นสัญญาแต่เก่าก่อนเท่านั้น อีกทั้งตันท่ายได้สังเกตว่า ค่ายเขากิมก๊ก แม้จะแข็งแรงแน่นหนา แต่ก็อยู่ห่างไกลจากจ๊กก๊กมากนักจึงยากต่อการส่งเสบียงสนับสนุนและง่ายต่อการถูกโจมตีเส้นทางเสบียง กุยห้วยจึงได้นำเตงงายและตันท่าย ล้อมค่ายเขากิมก๊กไว้อย่างง่ายดาย และตัดเส้นทางเสบียงเพื่อให้ทหารในค่ายยอมแพ้ จากนั้นตันท่ายจึงแนะนำ ให้กุยห้วยนำทหารไปซุ่มยึดค่ายเกียงอุย เพื่อตลบหลังเกียงอุยและปิดทางกลับเข้าค่ายของเกียงอุย ที่จะยกทัพมาจากเขาเอียวสู๋เพื่อเปิดทางและช่วยเหลือค่ายบนเขากิมก๊ก เมื่อเกียงอุยยกทหารมาช่วยทางกิมก๊กและรู้ตัวว่าตกในแผนแล้ว จึงทิ้งค่ายที่กิมก๊กและหลบหนีไป ทหารในค่ายเขากิมก๊กเมื่อเห็นดังนั้นจึงยอมแพ้อย่างง่ายดาย เมื่อตันท่ายยกทัพเข้าไปในค่าย จากนั้น กุยห้วยได้ยกทัพต่อไปทางตะวันตกเพื่อปราบปราบชนเผ่าที่ยังมีการต่อต้านอยู่ต่อไป แต่ก็ระแวงว่า เกียงอุยอาจจะยังหนีไปไม่ไกล และจะย้อนกลับมาได้ จึงทิ้งเตงงายไว้ในขณะที่เดินทัพไปปราบกบฏชนเผ่าเกี๋ยง ซึ่งเป็นไปตามที่กุยห้วยคาดการณ์ไว้ เกียงอุยได้ให้เลียวฮัวโจมตีเตงงาย แต่เป็นทัพหลอก เพื่อที่ตัวเกียงอุยเองจะได้ยกทัพไปยึดเมืองเตียวเอี๋ยง(Tao city) เตงงายที่อยู่เฝ้าป้องกันเลียวฮัวนั้น ได้มอง แผนการของเกียงอุยออก จึงได้ส่งทหารไปดักซุ่มรอทัพเกียงอุยที่เตียวเอี๋ยงอย่างลับๆ ดังนั้นเมื่อทัพเกียงอุยเข้าเมืองจึงถูกดักซุ่มโจมตีแตกพ่ายไปอย่างรวดเร็ว จากผลงานต่างๆของกุยห้วยทำให้ในปี793 กุยห้วยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพทหารรถม้า (General of the Chariots and Cavalry) รวมถึงเกียรติยศพิเศษที่เทียบเคียงระดับ สามผู้ยิ่งใหญ่แห่งรัฐ Three Ducal Ministers หรือ ซานกง (三公) ในปีเดียวกันนั้น เกียงอุยได้ยกทัพเพื่อโจมตีอีกครั้งที่เองเปงก๋วน(Xiping)แต่ก็ถูกกุยห้วยสกัดไว้ก่อนไปถึง และขาดแคลนเสบียงสนับสนุนจึงล่าถอยไปหลังจากรบพุ่งกันเพียงเล็กน้อย ในปี 794 อองเหลง(Wang Líng)ได้ร่วมมือกับ โจเปียว (Cao Biao)ก่อการกบฏต่อต้านสุมาอี้ เพื่อถอดถอนโจฮอง (Cao Fang)ที่เป็นหุ่นเชิดของสุมาอี้ แต่ล้มเหลว อองเหลงและโจเปียวฆ่าตัวตาย ภายหลังจากยอมแพ้ต่อสุมาอี้แล้ว สุมาอี้ ได้สั่งประหารลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องกับแผนการเหล่านี้รวมถึงญาติพี่น้องของอองเหลงด้วย แต่ได้ยกโทษให้แก่น้องสาวของอองเหลงที่เป็นภรรยาของกุยห้วย เพื่อเห็นแก่คุณงามความดีที่กุยห้วยได้ทำไว้ ในระหว่างทางที่ภรรยาของกุยห้วยเดินทางไปร่วมงานศพของพี่ชายนั้นเอง ได้ถูกชนเผ่าเกี๋ยงและชนเผ่าหู่จับตัวไป กุยห้วยจึงได้เดินทางไปช่วยภรรยา และเขียนจดหมายถึงสุมาอี้เพื่อรับโทษ อันเนื่องมาจากการทำผิดกฏกองทัพที่มีหน้าที่ป้องกันจ๊กก๊กที่บุกโจมตีแทบทุกปี อย่างไรก็ตามสุมาอี้ได้ตอบจดหมายแสดงความเข้าใจและไม่ได้ทำโทษกุยห้วยแต่อย่างใด ในปีถัดมา 795 สุมาอี้ ถึงแก่กรรม สุมาสู Sima Shi ขึ้นสู่อำนาจแทน บั้นปลายชีวิตและเสียชีวิตปี 798 กุยห้วยได้สิ้นชีพลง สุมาสู ได้จัดพิธีศพอย่างสมเกียรติและมอบยศตำแหน่งแก่กุยห้วยอย่างยิ่งใหญ่ ลูกชายของกุยห้วยได้รับสืบทอดมรดกศักดินาต่อตามสิทธิ โดยภาระหน้าที่ทางทหารถูกส่งมอบต่อไปยัง ตันท่าย และ เตงงาย ในนิยายสามก๊กภายหลังที่แฮหัวเอี๋ยนถูกฮองตงฆ่าตายที่เตงกุนสัน เขาก็รวบรวมกองกำลังทหารที่กระจัดกระจายเมื่อทัพแตกมาเข้ากับกองทัพของตน และไม่นานเตียวคับก็ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนแฮหัวเอี๋ยน จากนั้นกุยห้วยจึงเอากองทัพของตนมาเข้ากับเตียวคับทำให้กองทัพเตียวคับมั่นคงขึ้นมาก ต่อมาพระเจ้าโจผีตั้งตัวเป็นฮ่องเต้แล้ว กุยห้วยก็ถูกกำหนดให้เป็นที่ปรึกษา ควบคุมหัวเมืองทางตะวันตก ต่อมาเขาก็ถูกกำหนดให้เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของวุยก๊ก ต่อมาขงเบ้งได้ยกทัพบุกวุยก๊ก กุยห้วยถูกแต่งตั้งให้เป็นถึงผู้บังคับบัญชากองทหารภายใต้ โจจิ๋น เขาสามารถอ่านการยกทัพของกองทัพจ๊กและนำชัยชนะมาหลายครั้ง แต่ว่ากุยห้วยก็เสียหายมากเหมือนกัน ภายหลังสุมาอี้ถูกแต่งตั้งให้ยกทัพมาปราบขงเบ้ง กุยห้วยก็ได้ช่วยแนะนำสุมาอี้อย่างเต็มที่ จนขงเบ้งได้ป่วยตายที่อู่จั้งหยวน เมื่อขงเบ้งตายเกียงอุยที่รับตำแหน่งแทนขงเบ้ง ก็ยกทัพบุกมาวุยอีกครั้ง เกียงอุยได้ใช้แผนลัดโจมตีเมืองของกุยห้วยแต่กุยห้วยก็อ่านการออกและ ยกทัพกระหนาบเข้าทัพเกียงอุย ทัพจ๊กเสียหายหนักและต้องยกทัพกลับจ๊กอีกครั้ง พระเจ้าโจยอยเมื่อทราบข่าวก็ยกย่องกุยห้วยเป็นอันมาก กุยห้วยจึงถูกแต่งตั้งเป็นแม่ทัพใหญ่ป้องกันชายแดนวุยก๊ก ในปี พ.ศ. 798 เกียงอุยได้ยกมาตีวุยก๊กอีกครั้ง กุยห้วยได้รบกับเกียงอุย หลังรบได้สักพัก เกียงอุยแกล้งแพ้ถอยม้าหนีไป กุยห้วยหลงกลจึงขับม้าตาม เกียงอุยจึงยิงเกาทัณฑ์ถูกกุยห้วยเสียชีวิต แต่ในประวัติศาสตร์นั้นรับราชการจนสิ้นอายุขัย หมายเหตุ
อ้างอิง
|