อิกิ๋ม
อิกิ๋ม (เสียชีวิต ป. กันยายน ค.ศ. 221[2]) ชื่อรอง เหวินเสอ เป็นขุนพลคนสำคัญของโจโฉ มีความซื่อสัตย์จงรักภักดี เคร่งครัดในระเบียบวินัย แต่มักอิจฉาผู้อื่นที่ทำงานเกินหน้าเกินตา อิกิ๋มเดิมเป็นโจร ต่อมาเมื่อโจโฉคิดตั้งตัวเป็นใหญ่ในดินแดนภาคตะวันออก โจโฉได้ค้นหาเหล่าที่ปรึกษาและเหล่าขุนพลมาร่วมงาน อิกิ๋มก็เป็นหนึ่งในขุนพลเหล่านั้น เมื่อโจโฉถูกกองทัพของเตียวสิ้วตีแตก แฮหัวตุ้นแม่ทัพคนหนึ่งของโจโฉได้นำทหารไปปล้นเสบียงชาวบ้าน อิกิ๋มเห็นทนไม่ได้จึงสังหารทหารของแฮหัวตุ้นไปมากมาย จึงทำให้เกิดข่าวลือว่าอิกิ๋มทรยศต่อโจโฉ แต่อิกิ๋มยังไม่เข้าชี้แจงความจริงต่อโจโฉ เพราะต้องไปต้านทัพเตียวสิ้วที่ยกตามมา และสามารถตีทัพเตียวสิ้วให้ถอยไปได้ และเข้าชี้แจงความจริงต่อโจโฉ โจโฉชื่นชมอิกิ๋มว่าเป็นผู้รอบคอบและซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ส่วนแฮหัวตุ้น โจโฉได้ละเว้นโทษให้ อิกิ๋มเป็นขุนพลที่โจโฉไว้ใจมาก ใช้ให้ไปร่วมทำศึกหลายครั้ง รวมถึงให้เป็นแม่ทัพคุมกองทัพเรือแทนชัวมอ และเตียวอุ๋น ที่ถูกโจโฉสั่งประหารชีวิตไปในศึกผาแดงด้วยอุบายของจิวยี่ และเป็นผู้สังหารเล่าจ๋องและนางชัวฮูหยินตามคำสั่งของโจโฉ ต่อมาโจโฉตั้งให้อิกิ๋มเป็นแม่ทัพใหญ่คุมทัพไปช่วยสลายวงล้อมของกวนอูที่เมืองอ้วนเซียที่มีโจหยินรักษาเมืองอยู่ และให้บังเต๊กเป็นแม่ทัพหน้า บังเต๊กรบกับกวนอูได้อย่างสูสี ทำให้อิกิ๋มคิดว่าถ้าบังเต๊กสังหารกวนอูได้ ความชอบก็จะตกที่บังเต๊กผู้เดียว จึงตีม้าล่อถอยทัพทุกครั้งที่บังเต๊กได้เปรียบ ต่อมา อิกิ๋มไปตั้งทัพที่ทุ่งจันเค้า ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่ถูกโจมตีได้ง่าย กวนอูจึงสร้างเขื่อนรอให้น้ำหลากแล้วจึงพังเขื่อนให้น้ำท่วมกองทัพของอิกิ๋ม อิกิ๋มถูกกวนอูจับได้แล้วถูกนำไปขังที่เกงจิ๋ว เมื่อซุนกวนยึดเกงจิ๋วได้จึงปล่อยตัวกลับไปวุยก๊ก โจผี (บุตรชายของโจโฉ) ได้ให้วาดรูปอิกิ๋มรอขอชีวิตต่อกวนอูไว้ที่ผนังที่ฝังศพของโจโฉ และให้อิกิ๋มเฝ้าที่ฝังศพนั้น อิกิ๋มมีความละอาย ไม่นานก็ตรอมใจตาย ตันซิ่ว ผู้เขียนจดหมายเหตุสามก๊กในคริสต์ศตวรรษที่ 3 จัดให้อิกิ๋มเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือแห่งวุยก๊กร่วมกับเตียวคับ งักจิ้น เตียวเลี้ยว และซิหลง[3] อาชีพช่วงต้นอิกิ๋มเกิดที่จู้ผิงเซี่ยน (鉅平縣) ไท่ชานจฺวิ้น (泰山郡) ซึ่งปัจจุบันคือไทอาน มณฑลซานตง[4] ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เมื่อเกิดกบฏโพกผ้าเหลืองในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 180 อิกิ๋มตอบรับคำเรียกร้องของรัฐบาลฮั่นที่ต้องการอาสาสมัครเพื่อรับใช้ในกองทัพจักรวรรดิและช่วยปราบปรามกบฏ เขากลายเป็นผู้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของนายพล เปาสิ้น[5] ที่มาจากกุนจิ๋ว (ครอบคลุมบริเวณที่ปัจจุบันคือมณฑลซานตงตะวันตกเฉียงใต้และมณฑลเหอหนานตะวันออก) ใน ค.ศ. 192[6] หลังขุนศึก โจโฉ ขึ้นมามีอำนาจในกุนจิ๋ว อิกิ๋มและทหารอาสาได้รับการแต่งตั้งเป็น โตปั๋ว (都伯; เจ้าหน้าที่นำกำลังคน 100 นาย) และวางไว้ภายใต้คำสั่งของอองลอง อองลองรู้สึกว่าอิกิ๋มมีความสามารถพิเศษและมีศักยภาพที่จะเป็นแม่ทัพใหญ่ได้ จึงได้แนะนำตัวอิกิ๋มแก่โจโฉ[7] หลังปรึกษาอิกิ๋มแล้ว โจโฉแต่งตั้งให้เขาเป็นผู้พัน (司馬, ซือหม่า) และส่งเขาไปโจมตีกว่างเวย์ (廣威) ที่อยู่ในชีจิ๋ว ซึ่งบริหารโดยโตเกี๋ยม อิกิ๋มเขาพิชิตกว่างเวย์สำเร็จและได้เลื่อนขั้นเป็นเซี่ยนเจิ้นตูเว่ย์ (陷陣都尉)[8] การสู้รบกับลิโป้ กลุ่มโพกผ้าเหลืองที่เหลือ และอ้วนสุด
ชีวิตช่วงหลังและเสียชีวิตอิกิ๋มยังคงเป็นเชลยศึกในฐานของกวนอูที่เกงจิ๋วจนถึงปลาย ค.ศ. 219 เมื่อดินแดนในเกงจิ๋วของเล่าปี่ถูกยึดครองโดยลิบอง ขุนพลของซุนกวนในการรุกรานอย่างแอบแฝง กวนอูถูกกองทัพซุนกวนจับกุมและประหารชีวิต อิกิ๋มได้รับการปล่อยตัวและส่งไปยังง่อก๊ก (ดินแดนซุนกวน)[9] ที่เขาได้รับการปฏิบัติเหมือนแขกคนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เขาก็ถูกเยาะเย้ยและทำให้ขายหน้าโดยงีห้วน ขุนนางในซุนกวน[a] โจโฉเสียชีวิตในเดือนมีนาคม ค.ศ. 220 และโจผี บุตรของเขา ขึ้นดำรงตำแหน่งต่อ ปีถัดมา โจผียุบเลิกราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและสถาปนาวุยก๊กโดยมีพระองค์เป็นจักพรรดิองค์แรก[10] ซุนกวนปฏิญาณจงรักภักดีต่อโจผีใน ค.ศ. 221 และส่งอิกิ๋มกลับไปยังวุยก๊กในฤดูใบไม้ร่วง[11] ณ ตอนนั้น อิกิ๋มเป็นชายชราหน้าซีดและมีผมหงอกเต็มหัว เมื่อเขาพบโจผี จึงคุกเข่าลง ทำการโค่วโถว และร่ำไห้[12] โจผีทรงปลอบใจเขาโดยตรัสเกี่ยวกับสฺวิ๋น หลินฟู่[b] และเมิ่งหมิงชื่อ[c] และทรงมอบหมายให้เขาเป็นขุนพลสงบแดนไกล (安遠將軍)[13] โจผีต้องการส่งอิกิ๋มไปพบซุนกวนในฐานะตัวแทนส่วนพระองค์ ก่อนที่อิกิ๋มจากไป พระองค์มีพระราชกระแสให้เขาเข้าเยี่ยมสุสานโจโฉที่เกาหลิง (高陵) ในเย่ (ปัจจุบันคือหานตาน มณฑลเหอเป่ย์) ที่นั่น อิกิ๋มเห็นภาพวาดยุทธการที่อ้วนเสียที่ตัวเขาถูกวาดให้ยอมจำนนต่อกวนอู ส่วนบังเต๊กถูกพรรณนาอย่างดุร้ายและกล้าหาญ เขารู้สึกเสียใจมากจนล้มป่วยและเสียชีวิตในที่สุด โจผีพระราชทานตำแหน่งหลังเสียชีวิตเป็น "ลี่โหว"[10][14][d] ครอบครัวอฺวี๋ กุย (于圭) ลูกชายของอิกิ๋ม สืบทอดตำแหน่ง "อี้โช่วถิงโหว" (益壽亭侯) ของพ่อต่อ[15] ดูเพิ่มหมายเหตุ
อ้างอิง
บรรณานุกรม
|