Share to:

 

ฟาโรห์กาเฮดเจต

กาเฮดเจต (หรือ ฮอร์-กาเฮดเจต) อาจจะเป็นพระนามฮอรัสของกษัตริย์แห่งอียิปต์โบราณ (ฟาโรห์) ซึ่งอาจจะทรงปกครองในช่วงราชวงศ์ที่สาม หรืออาจจะเป็นภาพตัวแทนของฟาโรห์ทุตโมสที่ 3 ที่โปรดให้ทำขึ้นโดยเจตนา[3] เนื่องจากปรากฏวัตถุโบราณเพียงชิ้นเดียวที่ยืนยันถึงผู้ปกครองและพระนามของพระองค์ คือ จารึกขนาดเล็กที่ทำจากหินปูนขัดเงา ซึ่งยังมีความคลุมเครือในที่มาและเป็นของจริงหรือไม่[4] นักไอยคุปต์วิทยากำลังถกเถียงกันเกี่ยวกับตำแหน่งตามลำดับเวลาและตัวตนในทางประวัติศาสตร์ของพระองค์

การระบุตัวตนของฟาโรห์กาเฮดเจต

ฌาคส์ แวนดีเยร์ ผู้ซึ่งสันนิษฐานว่าจารึกดังกล่าวเป็นของจริง ได้เสนอความเห็นจากการศึกษาครั้งแรกเกี่ยวกับจารึกในปี ค.ศ. 1968 ว่าจารึกดังกล่าวไข้สร้างขึ้นในช่วงราชวงศ์ที่สาม จากรูปแบบสำนวนโวหารภาษา โดยเสนอความเห็นว่า ฟาโรห์กาเฮดเจตนั้นทรงมีความเกี่ยวข้องกับฟาโรห์ฮูนิ ซึ่งเป็นผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ ส่วนโทบี วิลกินสัน และเอียน ชอว์ มีความเห็นที่เหมือนกัน คือ คิดว่า "ฮอร์-กาเฮดเจต" เป็นพระนามเซเรคของฟาโรห์ฮอรัส ถึงแม้ว่าข้อสันนิษฐานดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับว่า ฟาโรห์ฮูนิทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวของราชวงศ์นี้ ซึ่งไม่ทราบพระนามฮอรัสของพระองค์ (พระนาม "ฮูนิ" เป็นพระนามที่ปรากฏในคาร์ทูชเท่านั้น) ดังนั้น ข้อสันนิษฐานของทั้งสองจึงไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป[5][6]

ในทำนองเดียวกัน เยือร์เกิน ฟ็อน เบ็คเคอราธ, เรเนอร์ ชตาเดลมันน์ และดีทริช วิลดุง ถือว่า ฟาโรห์กาเฮดเจตทรงได้ขึ้นปกครองในช่วงปลายราชวงศ์ที่สาม และอีกครั้ง ทฤษฎีของทั้งสามก็มีพื้นฐานอยู่บนความคล้ายคลึงทางรูปแบบระหว่างพระพักตร์ของฟาโรห์กาเฮดเจตและของฟาโรห์ดโจเซอร์บนภาพนูนต่ำจากกลุ่มพีระมิดของพระองค์[2][7]

และสุดท้ายนี้ ปีเตอร์ คาพลอนีได้กำหนดระยะเวลาของจารึกดังกล่าวให้อยู่ในสมัยช่วงระหว่างกลางที่หนึ่งแห่งอียิปต์[8]

อ้างอิง

  1. Jean-Pierre Pätznik, Jacques Vandier: L’Horus Qahedjet: Souverain de la IIIe dynastie?. page 1455–1472.
  2. 2.0 2.1 Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen. Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3. page 315.
  3. Jean-Pierre Pätznick: L'Horus Qahedjet: souverain de la 3eme dynasty ?, Proceedings of the Ninth Congress of Egyptologists, Orientalia Lovaniensa Analecta, Ch. 2.1, p. 1455, Online
  4. Chr. Ziegler: Catalogue des steles, peintures et reliefs egyptiens de l'Ancien Empire et de la Premiere Periode Intermediaire, Musee du Louvre, Paris 1990, pp. 54-57
  5. Ian Shaw: The Oxford history of ancient Egypt. page 88.
  6. Jacques Vandier: Comptes Rendus de l’Académie des Inscriptions et des Belles-Lettres. 1968, page 16–22.
  7. Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen. Deutscher Kunstverlag, München/ Berlin 1984, ISBN 3-422-00832-2. page 52 & 117.
  8. Peter Kaplony: Die Rollsiegel des Alten Reiches (= Monumenta Aegyptiaca, vol. 3). Fondation égyptologique Reine Elisabeth, Bruxelles 1981, p. 155, com. 271
Kembali kehalaman sebelumnya