ฟาโรห์เคนด์เจอร์
ยูเซอร์คาเร เคนดเจอร์ เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์ที่ยี่สิบเอ็ดจากราชวงศ์ที่สิบสามในสมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง[1] พระองค์อาจครองราชย์เป็นระยะเวลา 4 ถึง 5 ปี แต่หลักฐานทางโบราณคดีได้ระบุว่า พระองค์ครองราชย์เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 หรือ 4 ปี 3 เดือน กับอีก 5 วัน มีการเสนอช่วงเวลาที่แน่นอนหลายช่วงสำหรับรัชสมัยของพระองค์ โดยขึ้นอยู่กับนักวิชาการคือ ระหว่าง 1764 - 1759 ปีก่อนคริสตกาล ตามที่เสนอโดยรีฮอล์ตและเบเกอร์[2], ระหว่าง 1756 - 1751 ปีก่อนคริสตกาล ตามที่เสนอโดยเรดฟอร์ด[3], และระหว่าง 1718 - 1712 ปีก่อนคริสตกาล ตามที่เสนอโดยชไนเดอร์[4] พระองค์ทรงโปรดให้สร้างพีระมิดขนาดเล็กของพระองค์ขึ้นในซัคคารา และ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่ศูนย์กลางการปกครองของพระองค์จะอยู่ที่เมืองเมมฟิส พระนามพระนามของฟาโรห์เคนดเจอร์ไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็นภาษาอียิปต์[5] โดยพระนาม เคนดเจอร์ "ได้รับการตีความว่าเป็น พระนามที่เป็นภาษาต่างดินแดน ซึ่ง hnzr เป็นนามสำหรับชาวเซมิติก และเขียนเป็น h(n)zr แปลว่า [สำหรับ] "หมูป่า" ตามคิม รีฮอล์ต นักไอยคุปต์วิทยาชาวเดนมาร์ก[2] เขาตั้งข้อสังเกตว่า การระบุตัวตนนี้ได้รับการยืนยันโดยข้อเท็จจริง ว่าชื่อ h(n)zr เขียนเป็น hzr ในการสะกดพระนามฟาโรห์พระองค์นี้บนตราประทับจากรัชสมัยของพระองค์[6] ซึ่งรีฮอล์ตระบุว่าคำว่า 'หมูป่า' คือ: โดยชื่อ 'หมูป่า' ปรากฏเป็นคำว่า huzīru ในภาษาอัคคาเดียน, hinzīr ในภาษาอาหรับ, hazīrā ในภาษาอาราเมอิก, hazīr ในภาษาฮีบรู (ชื่อที่ปรากฏเป็น hēzīr ใน I Chron. 24:15, Neh. 10:20) hu-zi-ri ในตำรานูซิ, hnzr ในอูการิต และ hi-zi-ri ในภาษาอะมอไรต์[2] ดังนั้น ฟาโรห์เคนดเจอร์ จึงเป็นฟาโรห์ชาวเซมิติกพระองค์แรกสุดในราชวงศ์แห่งอียิปต์โบราณ พระนามนำหน้าหรือพระนามครองพระบัลลังก์ของพระองค์คือ ยูเซอร์คาเร แปลว่า "ดวงวิญญาณแห่งเทำเร ทรงมีพละกำลัง"[7] อย่างไรก็ตาม พระองค์อาจจะมีพระนามครองพระบัลลังก์พระนามที่สองในพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์ คือ 'นิมาอัตเร' ซึ่งแปลว่า 'ผู้ซึ่งทรงอยู่คู่กับความยุติธรรม คือ เทพเร'[8] พระนามนี้ปรากฏพร้อมกับพระนามประสูติที่ด้านบนสุดของจารึกแห่งอเมนิเซเนบ (พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ซี 11)[9] ตำแหน่งตามลำดับเวลาและระยะเวลาในรัชสมัยตำแหน่งตามลำดับเวลาที่แน่นอนของฟาโรห์เคนดเจอร์ในราชวงศ์ที่สิบสามยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด เนื่องจากความไม่แน่นอนระยะเวลาในช่วงรัชสมัยที่ส่งผลต่อลำดับฟาโรห์พระองค์ก่อนหน้าหลายพระองค์ของราชวงศ์ ดาร์เรล เบเกอร์ นักไอยคุปต์วิทยาได้ระบุให้ พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่ยี่สิบเอ็ดแห่งราชวงศ์ รีฮอล์ตได้มองว่า พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่ยี่สิบสอง และเยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราทได้ระบุให้ พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สิบเจ็ดของราชวงศ์ ยิ่งกว่านั้น การระบุตัวตนของผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ โดย เบเกอร์และรีฮอล์ต เชื่อว่า เป็นฟาโรห์เวกาฟ แต่ฟาโรห์พระองค์ดังกล่าวกลับเป็นที่สับสนกับฟาโรห์คาอังค์เร โซเบคโฮเทป ดังนั้นจึงไม่ทราบว่าใครในสองพระองค์นี้เป็นผู้ทรงสถาปนาราชวงศ์ที่สิบสามขึ้นและพระองค์ใดคือผู้ปกครองก่อนหน้าของฟาโรห์เคนดเจอร์[2][1] ช่วงเวลาที่ได้รับการยืนยันสูงสุดสำหรับรัชสมับของฟาโรห์เคนดเจอร์ คือ เดือนที่สี่ แห่งฤดูกาลน้ำท่วม วันที่ 15 ในปีที่ 5 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ โดยคิม รีฮอล์ตได้ตั้งข้อสังเกตว่า บันทึกการควบคุมสองช่วงเวลาบนบล็อกหินจากพีระมิดที่ยังไม่แล้วเสร็จของพระองค์ ระบุว่า พระองค์ทรงปกครองอียิปต์อย่างน้อยที่สุด 3 หรือ 4 ปี 3 เดือน กับอีก 5 วัน[10] บันทึกการควบคุมดังกล่าวลงช่วงเวลาในปีที่ 1 เดือนที่ 1 แห่งฤดูอาเคต วันที่ 10 และปีที่ 5 เดือนที่ 4 แห่งฤดูอาเคต วันที่ 15 ในรัชสมัยของพระองค์[11] ในบันทึกการควบคุมเหล่านี้ มีการระบุนามเจ้าหน้าที่สามคนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพีระมิดนี้ด้วย พวกเขาคือมหาดเล็กในพระราชวังนามว่า เซเนบติฟิ มหาดเล็กนามว่า อาเมนิ และมหาดเล็กนามว่า เชเบนู[12] ในภายหลังยังได้รับการยืนยันจากหลักฐานอื่น ๆ อีก พีระมิดฟาโรห์เคนดเจอร์เป็นที่ทราบจากพีระมิดของพระองค์ที่ขุดค้นโดย จี. เฌอกีเออร์ ในซัคคารา ซึ่งอาจจะสร้างแล้วเสร็จ เนื่องจากพบมงกุฏพีระมิด[13] มีการพบชิ้นส่วนของโถคาโนปิก ซึ่งปรากฏพระนามเพียงบางส่วนของพระราชินีในพระองค์พระนามว่า เซเนบ[...] "ซึ่งอาจจะเป็นพระนามว่า โซนบ[เฮนัส]"[14] วัตถุชิ้นอื่น ๆ ที่ปรากฏพระนามของพระองค์ คือ จารึกจากอไบดอส ซึ่งได้บันทึกแผนการก่อสร้างโดยพระองค์ที่วิหารแห่งเทพโฮซิริสที่อไบดอส และบันทึกนามของราชมตรีนามว่า อังค์อู และจารึกอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยอยู่ที่เมืองลิเวอร์พูล แต่ได้ถูกทำลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้บันทึกพระนามของพระราชโอรสแห่งกษัตริย์นามว่า "เคดเจอร์" ซึ่งพระองค์อาจจะเป็นพระราชโอรสแห่งกษัตริย์[15] วัตถุอื่นๆ ที่ปรากฏพระนามของพระองค์ตามรายการของรีฮอล์ต ได้แก่ ตราประทับทรงกระบอกสามชิ้นจากอาธริบิส แผ่นกระเบื้องที่พบใกล้เอล-ลิชต์ ตราประทับสคารับ และใบมีดขวาน อ้างอิง
|