Share to:

 

ฟาโรห์แรเมซีสที่สิบ

เคเปอร์มาอัตเร ราเมสเซสที่ 10 (หรือจะเขียนพระนามว่า รามเสส หรือ ราเมเซส) (ทรงปกครองประมาณระหว่าง 1111 ปีก่อนคริสตกาล – 1107 ปีก่อนคริสตกาล)[1] เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์ที่เก้าแห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบ พระนามประสูติของพระองค์ คือ อามอนเฮอร์เคเพเชฟ และพระนามครองราชย์ คือ เคเปอร์มาอัตเร หมายถึง "ความยุติธรรมแห่งเทพราอันรักษาไว้"[2]

วันขึ้นครองราชย์ของพระองค์ตรงกับเดือนที่ 1 แห่งฤดูหนาว วันที่ 27 (1 prt 27)[3] ปีที่ทรงครองราชย์สูงสุดคือ ปีที่ 3 ช่วงเวลาที่สูงสุดตามหลักฐานที่ปรากฏในรัชสมัยคือ "ปีที่ 3 เดือนที่ 2 ของฤดูน้ำหลาก วันที่ 2"[4] หรืออาจเป็น "ปีที่ 3 เดือนที่ 4 (ไม่ปรากฏจำนวนวัน)"[5]

เนื่องจากฟาโรห์รามเสสที่ 11 เสด็จขึ้นครองราชย์ในเดือนที่ 3 ของฤดูร้อน วันที่ 20 (3 šmw 20)[6] จึงเป็นไปตามโดยอัตโนมัติว่าฟาโรห์รามเสสที่ 10 จะต้องมีพระชนม์ชีพอยู่ในปีที่ 4 ซึ่งยังไม่ปรากฏหลักฐานตรวจสอบ ข้อสันนิษฐานดังกล่าวเป็นการนำเรื่องเกี่ยวกับดาราศาสตร์มาอธิบายโดยริชาร์ด ปาร์คเกอร์ว่าฟาโรห์รามเสสที่ 10 อาจจะทรงครองราชย์เป็นเวลา 9 ปี แต่ก็เหตุการณ์ช่วงเวลาที่เหลือก็ได้สูญหายไปตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[7] ในทำนองเดียวกัน จารึกแห่งธีบส์ หมายเลข 1860 เอ ได้กล่าวถึงปีที่ 8 อันสมมติ แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์รามเสสที่ 10[8][9] ซึ่งไม่ได้นำมาเป็นหลักฐานสนับสนุนอีกต่อไป[10]

ไอแดน ด็อดสัน นักไอยยคุปต์วิทยาชาวอังกฤษได้เขียนไว้ในหนังสือปี ค.ศ. 2004 ว่า

ไม่ปรากฏหลักฐานใดที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างฟาโรห์พระองค์สุดท้ายอย่างฟาโรห์รามเสสที่ 9 , 10 และ 10 หากเป็นการสืบราชสันตติวงศ์แบบบิดา-บุตร พระนางติติ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นพระราชธิดาแห่งกษัตริย์ พระมเหสีแห่งกษัตริย์ และพระราชมารดาแห่งกษัตริย์ ดูเหมือนจะ [เป็น] บุคคลที่เป็นได้ว่าจะทรงเป็นพระมเหสีในฟาโรห์รามเสสที่ 10 แต่ก็สามารถทราบข้อมูลอย่างอื่นได้[11]

ตราประทับสคารับของฟาโรห์รามเสสที่ 10 ในโบโลญญา

อย่างไรก็ตาม ข้อสมมติฐานของด็อดสันเกี่ยวกับตำแหน่งของพระนางติติก็ต้องถูกล้มล้างไป เนื่องจากมีการพิสูจน์ในปี ค.ศ. 2010 ว่า พระนางติติน่าจะเป็นสมเด็จพระราชินีของฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบก่อนหน้าช่วงเวลาดังกล่าวแทน และพระองค์ถูกกล่าวถึงในบันทึกปาปิรุสแฮร์ริสที่เสียหายเป็นบางส่วนว่า พระองค์เป็นพระมเหสีของฟาโรห​์รามเสสที่ 3 ดังที่ด็อดสันเองก็รับทราบ[12]

ฟาโรห์รามเสสที่ 10 เป็นฟาโรห์ที่ปรากฏหลักฐานยืนยันน้อยมาก ในปีที่ 2 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ได้ปรากฏในบันทึกปาปิรุสแห่งตูริน หมายเลข 1932 และ 1939 ในขณะที่ปีที่สาม 3 แห่งการครองราชย์ได้รับการบันทึกไว้ในบันทึกสุสานคนงานแห่งเดียร์ อัล-เมดินา[13] ซึ่งบันทึกประจำวันดังกล่าวได้กล่าวถึงความเกียจคร้านโดยทั่วไปของคนงานในสุสาน อย่างน้อยส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากภัยคุกคามจากกลุ่มโจรชาวลิเบียในหุบเขากษัตริย์ โดยบันทึกว่าคนงานแห่งเดียร์ อัล-เมดินาได้ขาดงานในปีที่ 3 เดือนเพเรต (หรือ ฤดูหนาว) วันที่ 6, 9, 11, 12, 18, 21 และ 24 เพราะกลัว "ชาวทะเลทราย" (คือ ชาวลิเบียหรือเมชเวส) ซึ่งเห็นได้ชัดว่าได้ท่องไปในอียิปต์บนและธีบส์อย่างตามอำเภอใจ[14] ส่วนหนึ่งเป็นภาพสะท้อนของการไหลเข้าของชาวลิเบียจำนวนมหาศาลสู่ภูมิภาคดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ตะวันตกของอียิปต์ล่างในช่วงเวลาดังกล่าว ฟาโรห์รามเสสที่ 10 ยังเป็นฟาโรห์แห่งราชอาณาจักรใหม่พระองค์สุดท้ายที่ปกครองนิวเบีย ซึ่งได้รับการยืนยันจากคำจารึกที่อานิบา[15]

หลุมฝังศพ เควี 18 ของพระองค์ในหุบเขากษัตริย์ยังเสร็จไม่แล้วเสร็จ ซึ่งไม่แน่ใจว่าพระองค์ทรงเคยถูกฝังพระบรมศพไว้ที่นั่นหรือไม่ เนื่องจากไม่พบพระบรมศพหรือชิ้นส่วนของวัตถุที่ใช้ทำพระบรมศพภายในนั้น

อ้างอิง

  1. R. Krauss & D.A. Warburton "Chronological Table for the Dynastic Period" in Erik Hornung, Rolf Krauss & David Warburton (editors), Ancient Egyptian Chronology (Handbook of Oriental Studies), Brill, 2006. p.493
  2. Peter Clayton, Chronicle of the Pharaohs, Thames & Hudson Ltd., 2006 paperback, p.167
  3. J. von Beckerath, GM 79 (1984), 8-9
  4. Botti & Peet, Il Giornale della Necropoli, 55
  5. Botti & Peet, Il Giornale della Necropoli, 55, txt d
  6. K. Ohlhafer, GM 135 (1993), 59ff
  7. R.A. Parker, The Length of the Reign of Ramesses X, RdÉ 11 (1951), 163-164
  8. M. Bierbrier, JEA 58 (1972), 195-199
  9. M. Bierbrier, JEA 61 (1975), 251
  10. L.D. Bell, "Only one High Priest Ramessesnakht and the Second Prophet Nesamun his younger Son, Serapis 6 (1980), 7-27
  11. Aidan Dodson & Dyan Hilton: The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson, 2004, ISBN 0-500-05128-3, p.191
  12. Mark Collier, Aidan Dodson, & Gottfried Hamernik, P. BM 10052, Anthony Harris and Queen Tyti, JEA 96 (2010), pp.242-247
  13. E.F. Wente & C.C. Van Siclen, "A Chronology of the New Kingdom" in Studies in Honor of George R. Hughes, (SAOC 39) 1976, p.261
  14. J. Cerny, "Egypt from the Death of Ramesses III" in Cambridge Archaeological History (CAH), 'The Middle East and the Aegean Region c.1380-1000 BC', 1975, p.618
  15. Nicolas Grimal, A History of Ancient Egypt, (Blackwell Books: 1992), p.291
Kembali kehalaman sebelumnya