ราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์ เป็นหนึ่งในราชวงศ์จำนวน 4 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์ที่สาม สี่ และห้า ที่ถูดจัดเป็นกลุ่มของราชวงศ์ที่ปกครองอยู่ในช่วงสมัยราชอาณาจักรเก่าของอียิปต์โบราณ รายพระนามฟาโรห์จากราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์ฟาโรห์ที่เป็นที่ทราบจากราชวงศ์ที่หกปรากฏอยู่ในตารางด้านล่าง[1] มาเนโธได้กำหนดให้ราชวงศ์ที่หกได้ปกครองอียิปต์ราว 203 ปี นั้บตั้งแต่จากรัชสมัยของฟาโรห์เตติถึงฟาโรห์นิโตคริส ขณะที่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินได้ระบุว่าราชวงศ์ที่หกได้ปกครองอียิปต์เป็นระยะเวลา 181 ปี แต่มีฟาโรห์เพิ่มอีกสามพระองค์ที่ประกอบด้วยอาบา (Aba) ซึ่งเป็นเป็นการลดช่วงปีการปกครองจากราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์ที่ถูกเพิ่มเข้ามา ทำให้ระยะเวลาของการปกครองของราชวงศ์ที่หกลดลงเหลือเพียง 155 ปี[2] โดยการประมาณดังกล่าวจะแตกต่างกันไประหว่างนักวิชาการและแหล่งข้อมูล[a]
ประวัติราชวงศ์ราชวงศ์ที่หกได้รับการพิจารณาจากนักวิชาการหลายคนว่าเป็นราชวงศ์สุดท้ายของช่วงสมัยราชอาณาจักรเก่า ถึงแม้ว่าประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณของอ็อกซ์ฟอร์ด[25] จะรวมราชวงศ์ที่เจ็ดและแปดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสมัยราชอาณาจักรเก่าด้วย แต่มาเนโธได้บันทึกว่าฟาโรห์จากราชวงศ์ที่หกทรงปกครองจากเมืองเมมฟิส เนื่องจากพีระมิดของพระองค์ถูกสร้างขึ้นที่ซักกอเราะฮ์ ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันมากนัก[26] เมื่อถึงสมัยราชวงศ์ที่ห้า สถาบันศาสนาได้ตั้งตนเป็นกำลังสำคัญในสังคม[27] มีแนวโน้มการเติบโตของระบบขุนนางและฐานะนักบวช และการลดลงของอำนาจของฟาโรห์ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของฟาโรห์เนเฟอร์อิร์คาเร คาคาอิ[28] ระหว่างการปกครองของฟาโรห์ดเจดคาเร อิเซซิ เหล่าขุนนางได้รับอำนาจมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากสุสานส่วนตัวอันโอ่อ่าที่สร้างขึ้น และในที่สุดก็นำไปสู่การสร้างระบบศักดินาที่มีผลตามมา[29] แนวโน้มที่จัดตั้งขึ้นเหล่านี้ ซึ่งเป็นการกระจายของอำนาจ ควบคู่ไปกับการเติบโตของระบบขุนนางนั้น ได้ทวีความเข้มข้นมากขึ้นในช่วงสามทศวรรษแห่งการปกครองของฟาโรห์ยูนัส ซึ่งทำให้ระบบเศรษฐกิจถดถอยเช่นกัน[30] ซึ่งการเติบโตดังกล่าวดำเนินต่อไปจนถึงราชวงศ์ที่หก ซึ่งนำไปสู่สมัยช่วงระหว่างกลางที่หนึ่ง[31] ฟาโรห์เตติฟาโรห์เตติได้รับการระบุว่าทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่หก[32][13] โดยมาเนโธ โดยหลังจากสิ้นสุดรัชสมัยของฟาโรห์ยูนัส[32] พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติในช่วงศตวรรษที่ 23 ก่อนคริสตกาล[33] มาเนโธได้ระบุว่าฟาโรห์เตติทรงครองราชย์เป็นระยะะเวลา 30 หรือ 33 ปี[34] ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ตราบเท่าที่ยังไม่มีหลักฐานการเฉลิมฉลองเทศกาลเซด และช่วงเวลาที่บันทึกไว้ตรงกับการนับจำนวนปศุสัตว์ครั้งที่หก คือ 12 หรือ 13 ปีในรัชรัชสมัยของพระองค์ ในบันทึกพระนามแห่งตูริน (อาร์ทีซี) ได้ระบุระยะเวลาแห่งการครองราชย์อยู่ที่ประมาณ 7 เดือน ซึ่งก็ไม่น่าจะเป็นไปได้อีก[11] ส่วนนักโบราณคดี ฮาร์ทวิก อัลเทินมุลเลอร์ ซึ่งได้พิจารณาระหว่างหลักฐานจากมาเนโธและและบันทึกการนับจำนวนปศุสัตว์ และเสนอระยะเวลาการครองราชย์ของพระองค์ประมาณ 23 ปี[34] ส่วนนักอียิปต์วิทยา ปีเตอร์ เคลย์ตัน และวิลเลียม สมิธ เสนอว่าพระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 12 ปี[35][36][b] ความสัมพันธ์ระหว่างฟาโรห์เตติกับผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์ที่ยังคงคลุมเครืออยู่ แต่พระนางอิพุต ซึ่งเป็นพระมเหสีของพรองค์ เชื่อว่าเป็นพระราชธิดาของฟาโรห์ยูนัส[32][36] ซึ่งหมายความว่า ฟาโรห์เตติทรงขึ้นครองบัลลังก์ในฐานะพระชามาดาของฟาโรห์ยูนัส[34] การขึ้นคริงราชย์ของพระองค์ได้แก้ไขวิกฤตการสืบสันตติวงศ์ที่อาจจะเกิดขึ้นจากฟาโรห์ยูนัสเสด็จสวรรคตโดยไม่มีองค์รัชทายาทบุรุษ[31] ฟาโรห์เตติทรงใช้พระนามฮอรัสว่า เซเฮเทปทาวี (หมายถึง "ผู้ทรงปลอบประโลมสองแผ่นดิน") เพื่อสถาปนารัชสมัยของพระองค์ให้เป็นหนึ่งในการฟื้นฟูเอกภาพทางการเมือง[35] และดูเหมือนจะเกิดขึ้นได้อย่างราบรื่น[36][13] ฟาโรห์เตติยังคงทรงรับขุนนางจากรัชสมัยผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์จากราชวงศ์ที่ห้าให้ทำงาให้กับราชสำนัก เช่น ราชมนตรีเมฮู และคาเกมนิ ผู้ซึ่งเริ่มรับราชการในช่วงรัชสมยัของฟาโรห์ดเจดคาเร อิเซซิ[34] อย่างไรก็ตาม บันทึกพระนามแห่งตูรินก็แทรกช่องว่างระหว่างรัชสมัยฟาโรห์ยูนัสกับฟาโรห์เตติเช่นกัน ซึ่งจาโรมีร์ มาเล็ก นักอียิปต์วิทยา เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับ "การย้ายที่ตั้งของเมืองหลวงและที่ประทับของพระราชวงศ์"[32] โดยเมืองหลวงย้ายจาก "เมืองกำแพงสีขาว (เมมฟิส)" ไปยังชานเมืองที่มีประชากรหนาแน่นทางใต้ไปยัง "ดเจด-อิสุต" ซึ่งได้มาจากชื่อพีระมิดของฟาโรห์เตติและเมืองพีระมิด และตั้งอยู่ทางตะวันออกของพีระมิด ที่ประทับของพระราชวงศ์อาจจะอยู่ไกลออกไปทางใต้ ในหุบเขาที่อยู่ห่างออกไปและข้ามทะเลสาบจากเมือง ทางตะวันออกของซักกอเราะฮ์ใต้ ซึ่งเป็นสถานที่สร้างพีระมิดของฟาโรห์ดเจดคาเร อิเซซิ และฟาโรห์เปปิที่ 1[39] ฟาโรห์เตติมีพระราชธิดาพระนามว่า เซเชสเชต ซึ่งทรงอภิเษกสมรสกับขุนนางคนหนึ่งของพระองค์และหัวหน้านักบวชในช่วงเวลาต่อมานามว่า เมอร์เออร์ยูคา จึงเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าพระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยที่จะทรงสนิทสนมกับชนชั้นสูง[40] โดยเมอร์เออร์ยูคาถูกฝังใกล้กับพีระมิดของฟาโรห์เตติ ในหลุมฝังศพที่หรูหราในซักกอเราะฮ์เหนือ[11][35] ส่วนหนึ่งของพระราชนโยบายที่นำมาสู่ความสงบสุขของฟาโรห์เตติ พระองค์ได้ทรงออกพระราชกฤษฎีกายกเว้นการเก็บภาษีวิหารที่อไบดอส พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์แรกที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลัทธิแห่งเทพีฮัตฮอร์ที่เดนเดรา[11] และในต่างดินแดน ฟาโรห์เตติทรงรักษาความสัมพันธ์ทางการค้ากับไบบลอสและนิวเบีย[35] ฟาโรห์เตติทรงโปรดให้สร้างพีระมิดที่ซักกอเราะฮ์เหนือ พีระมิดของพระองคืเป็นไปตามมาตรฐานของพีระมิดแห่งดเจดคาเร อิเซซิที่สร้างไว้ โดยมีความยาวฐาน 78.5 ม. (258 ฟุต) บรรจบกับยอดที่ทำมุม ~53° ที่ความสูงสูงสุด 52.5 ม. (172 ฟุต)[41] โครงสร้างพื้นฐานของพีระมิดนั้นคล้ายคลึงกับพีระมิกของฟาโรห์ยูนัสและดเจดคาเร อิเซซิมาก มีทางเดินลดหลั่นและทางเดินในแนวราบที่กั้นไว้ประมาณตรงกลางด้วยช่องหินแกรนิตสามช่อง นำไปสู่ห้องด้านหน้าที่ขนาบข้างไปทางทิศตะวันออกด้วยช่องแคบสามช่อง และทางทิศตะวันตกโดยห้องฝังศพที่มีโลงหิน[42] ผนังของห้องและส่วนของทางเดินแนวนอนถูกจารึกไว้ด้วยข้อความพีระมิด เช่นเดียวกับในพีระมิดแห่งยูนัส[43] วิหารบูชาพระบรมศพ ยกเว้นทางเข้า ก็สอดคล้องกับแผนพื้นฐานเช่นเดียวกับของผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์[43][44] กลุ่มพีระมิดบริวารตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของพีระมิดโดยมีความยาวฐาน 15.7 ม. (52 ฟุต)[45] ทางเดินที่เชื่อมไปยังวิหารบูชาพระบรมศพนั้นยังไม่ได้รับการขุดค้น[44] ในขณะที่วิหารที่รับรองพระบรมศพและเมืองพีระมิดนั้นหายไปทั้งหมด[43] พีระมิดของฟาโรห์เตติกลายเป็นที่ตั้งของสุสานขนาดใหญ่ และรวมถึงพีระมิดของพระมเหสีนิธและพระมเหสีอิพุต ซึ่งเป็นพระราชมารดาของฟาโรห์เปปิที่ 1 ด้วย[46][47] พระอัฐิสัณฐานของพระนางอิพุตถูกค้นพบโดยทรงถูกฝังอยู่ในพีระมิดของพระองค์ในโลงพระบรมศพไม้[46] มาเนโธอ้างว่าฟาโรห์เตติทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยมหาดเล็กประจำพระองค์ แต่ไม่มีแหล่งข้อมูลร่วมสมัยใดมายืนยันประเด็นดังกล่าว[35][48] หากเป็นเรื่องจริง อาจจะอธิบายและชี้ถึงฟาโรห์ที่ขึ้นมาครองราชย์เป็นระยะเวลาสั้น ๆ พระนามว่า ยูเซอร์คาเร ระหว่างรัชสมัยของฟาโรห์เตติและฟาโรห์เปปิที่ 1[35]พระนามของฟาโรห์ยูเซอร์คาเรปรากกอยู่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินและอไบดอสและถูกกล่าวถึงในหลักฐานทางโบราณคดีร่วมสมัยหลายฉบับ[11] ฟาโรห์เปปิที่ 1ในช่วงราชวงศ์ที่ห้าแห่งอียิปต์ คณะสำรวจถูกส่งไปยังวาดิ มาการาในคาบสมุทรไซนาย เพื่อขุดหาแร่เทอร์ควอยซ์และทองแดง เช่นเดียวกับเหมืองที่ฮัตนุบ และวาดิ ฮัมมามาต ซึ่งฟาโรห์ดเจดคาราได้ทรงส่งคณะสำรวจทางการค้าลงใต้ไปยังดินแดนพุนต์และขึ้นเหนือไปยังเมืองไบบลอส และฟาโรห์เปปิที่ 1 ไม่เพียงแต่ทรงส่งคณะสำรวจไปยังสถานที่ดังกล่าวนี้เท่านั้น แต่ยังทรงส่งไปไกลถึงเอบลาในซีเรียปัจจุบันด้วย ฟาโรห์เปปิที่ 2ทรงเป็นฟาโรห์ที่โดดเด่นที่สุดของราชวงศ์ที่ห้าคือ ฟาโรห์เปปิที่ 2 ซึ่งทรงครองราชย์ยาวนานถึง 94 ปี[49] พระนางนิติเกรตพระองค์ทรงเป็นที่ทราบกันในพระนามภาษากรีก คือ นิโตคริส ซึ่งเป็นสตรีที่ถูกเชื่อโดยนักวิชาการว่าพระองค์ไม่ได้ทรงเป็นฟาโรห์สตรีพระองค์แรกเท่านั้น แต่ยังทรงเป็นสมเด็จพระราชินีพระองค์แรกของโลกด้วย แม้ว่าในปัจจุบันจะเป็นที่ยอมรับกันว่าพระนามของพระองค์จะเป็นการอ่านพระนามที่ผิดพลาดของฟาโรห์นิตอิเกอร์ติ ซิพทาห์ ความเฟื่องฟูของขุนนางด้วยจำนวนจารึกชีวประวัติที่เพิ่มขึ้นในสุสานที่ไม่ใช่ของพระราชวงศ์[50] ทำให้ทราบเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ร่วมสมัยได้กว้างขึ้น[51] ตัวอย่างเช่น การที่ได้ทราบถึงแผนการที่ล้มเหลวในการต่อต้านฟาโรห์เปปิที่ 1[52] และทราบถึงอ่านจดหมายที่เขียนโดยยุวกษัตริย์เปปิที่ 2 ด้วยความตื่นเต้นที่หนึ่งในคณะสำรวจของพระองค์จะกลับมาพร้อมกับคนแคระเต้นรำจากดินแดนแห่งยัม ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของนิวเบีย[53] คำจารึกบนสุสานที่ไม่ใช่ของพระราชวงศ์เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของอำนาจที่เพิ่มขึ้นของขุนนาง ซึ่งทำให้การปกครองโดยสมบูรณ์ของฟาโรห์ได้อ่อนแอลงไปอีก ผลที่ตามมา คือ เป็นที่เชื่อกันว่าในการสวรรคตของฟาโรห์เปปิที่ 2 ที่ทรงมีพระชนมพรรษายืนมากนั้น ทำให้ข้าราชบริพารของพระองค์ตั้งมั่นมากพอที่จะต่อต้านพระราชอำนาจของผู้ปกครองที่ขึ้นมาปกครองต่อหลายพระองค์ของพระองค์ ซึ่งอาจจะมีส่วนทำให้ราชอาณาจักรเก่าเสื่อมอำนาจลงอย่างรวดเร็ว เชิงอรรถ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูล
|