Share to:

 

ฟาโรห์คาบาช

คาบาช หรือ คาบาบาช หรือ คาบบาช ทรงพำนักอยู่ที่เมืองซาอิสในเขตปกครองท้องถิ่นลำดับที่ห้าของอียิปต์ล่างในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ระหว่างการยึดครองอียิปต์ครั้งที่สองของเปอร์เซีย (ระหว่าง 343–332 ปีก่อนคริสตกาล) พระองค์ทรงได้นำการปฏิวัติต่อต้านการปกครองของเปอร์เซียร่วมกับพระราชโอรสพระองค์โตของพระองค์ในช่วงระหว่าง 338 ถึง 335 ปีก่อนคริสตกาล ไม่กี่ปีก่อนการพิชิตอียิปต์โดยกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช[4] กล่าวกันว่าฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปกครองอียิปต์พระองค์สุดท้ายที่ถูกเนรเทศอาจจะทรงให้ความช่วยเหลือในการก่อกบฏดังกล่าว แต่พระองค์อาจจะทรงความล้มเหลวในการก่อกบฏ[ต้องการอ้างอิง]

ไม่ค่อยทราบเกี่ยวกับข้อมูลของฟาโรห์คาบาช พระองค์ทรงได้รับการขนานพระนามว่าเป็น "เจ้าแห่งดินแดนทั้งสอง"[5] คือ กษัตริย์แห่งอียิปต์บนและล่าง และในพระนาม "บุตรแห่งรา" อีกพระนามหนึ่งของฟาโรห์ และทรงมีพระนามครองราชย์ว่า เซเนน-เซเทป-เอน-พทาห์ ในบันทึกคำสั่งโดยทอเลมี ลากิเดส[6] ซึ่งทรงขึ้นเป็นฟาโรห์ปโตเลมีที่ 1 โซเตอร์ เมื่อ 305 ปีก่อนคริสตกาล

ในช่วงทศวรรษที่ 330 ก่อนคริสตกาล ผู้ปกครองชาวอียิปต์พระนามว่า คามบาซุตเอน ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในพระนาม คาบาช ได้ทรงนำการรุกรานเข้าสู่ราชอาณาจักรคุช ซึ่งถูกกษัตริย์นาสตาเซนทรงสามารถเอาชนะได้ตามที่บันทึกไว้ในจารึก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์เบอร์ลิน โลงพระศพของพระโคอาพิสที่ปรากฏพระนามของพระองค์ถูกพบในวิหารเซราพิสแห่งซักกอเราะฮ์[7] ซึ่งสามารถย้อนหลังไปถึงปีที่ 2 แห่งการครองราชย์ของพระองค์[8]

อ้างอิง

  1. Gauthier, Henri (1916). Le Livre des rois d'Égypte IV. MIFAO. Vol. 20. Cairo. p. 139. OCLC 473879272 (here misinterpreted as Cambyses II).
  2. Henri Gauthier, op. cit., p. 196.
  3. จัดอยู่ในราชวงศ์นี้ด้วยเหตุผลตามลำดับเวลาเท่านั้น เนื่องจากพระองค์ไม่มีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์อะคีเมนิด
  4. Vasunia, Phiroze (2001). The Gift of the Nile: Hellenizing Egypt from Aeschylus to Alexander. University of California Press. p. 266. ISBN 0-520-22820-0.
  5. Records of the Past Being English Translations of the Assyrian and Egyptian Monuments. Adamant Media. 2001. p. 73.
  6. "The decree of Ptolemy Lagides". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-04. สืบค้นเมื่อ 2007-06-18.
  7. Baedeker, Karl (2000) [1898]. Egypt. Adamant Media. p. 130. ISBN 1-4021-9705-5.
  8. Birch, Samuel (1883). Egypt from the earliest times to B.C. 300. Ancient history from the monuments. Society for Promoting Christian Knowledge. p. 189. OCLC 82441982.
Kembali kehalaman sebelumnya