Share to:

 

ฟาโรห์เฮดจู ฮอร์

เฮดจู ฮอร์ เป็นผู้ปกครองในทางตอนเหนือของอียิปต์ตั้งแต่สมัยยุคก่อนราชวงศ์[2][3] การมีอยู่ของพระองค์เป็นที่ถกเถียงกัน พระนาม เฮดจู-ฮอร์ แปลว่า คทาแห่งฮอรัส[4]

เชื่อกันว่า รัชสมัยของพระองค์อยู่ที่ราว 3250 ปีก่อนคริสตกาล แต่แทบไม่ทราบเกี่ยวกับรัชสมัยของพระองค์เลย เนื่องจากปรากฏจารึกที่พบในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์และเศษเครื่องปั้นดินเผาจากทูราเท่านั้น และมีการสันนิษฐานว่า พระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของอียิปต์ล่างหรือพระองค์สุดท้าย หรือว่าพระองค์ทรงเป็นสมาชิกของราชวงศ์ที่ศูนย์[ต้องการอ้างอิง]

ฟาโรห์เฮดจู ฮอร์ ทรงเป็นที่ทราบเหยือกดินสองใบที่พระนามเซเรคของพระองค์ปรากฏอยู่ คือ เหยือกใบหนึ่งจากทูรา[5] ซึ่งตั้งอยู่ในดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ทางตะวันออก และอีกใบจากอาบู ไซดาน ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์[6]

ว็อล์ฟกัง เฮ็ลท์ค นักไอยคุปต์วิทยา ถือว่า พระองค์ทรงเป็นฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่ศูนย์ และระบุว่าพระองค์คือฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์วาช ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ปกครองที่พ่ายแพ้ต่อฟาโรห์นาร์เมอร์ตามที่ปรากฏบนแผ่นศิลาแห่งนาร์เมอร์[7] และเป็นข้อคิดเห็นที่เอ็ดวิน ซี. เอ็ม. ฟาน เด็น บริงค์ เห็นด้วยในภายหลัง[8] ในทางตรงกันข้าม โทบี วิลกินสัน[9] และโจเชม คาห์ล ได้ต่างโต้แย้งว่าฟาโรห์เฮดจู ฮอร์ทรงไม่ใช่ฟาโรห์จากสมัยยุคก่อนราชวงศ์ แต่เป็นผู้ปกครองของสังคมก่อนรัฐขนาดเล็ก ๆ ในสมัยยุคก่อนราชวงศ์และมีตำแหน่งเป็นกษัตริย์แทน

ไม่ทราบหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์เฮดจู ฮอร์ และไม่ปรากฏข้อความใดบนศิลาแห่งปาแลร์โม ซึ่งเป็นบันทึกพระนามที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ทราบกัน[10] ทำให้การข้อสินนิษฐานว่าพระองค์ทรงเป็นฟาโรห์นั้นทั้งของเฮ็ลท์คและฟาน เด็น บริงค์ไม่น่าจะเป็นไปได้[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

  1. Henry Georg Fischer: Varia Aegyptiaca. In: Journal of the American Research Center in Egypt, Nr. 2. Eisenbrauns, Winona Lake 1963, S. 33, Abb. 1.
  2. Dr. Günther Eichhorn |title=Egypt - Protodynastic Period - 3200 to 3100 BCE.
  3. Ludwig David Morenz: Bild-Buchstaben und symbolische Zeichen. Die Herausbildung der Schrift der hohen Kultur Altägyptens (= Orbis Biblicus et Orientalis 205). Vandenhoeck & Ruprecht, Göttingen 2004; Academic Press, Fribourg 2004, ISBN 3-7278-1486-1.
  4. Leprohon, Ronald J (2013). The Great Name: Ancient Egyptian Royal Titulary. SBL Press. p. 23. ISBN 978-158-983-736-2.
  5. "Ancient Egypt - Dynasty 0". www.narmer.pl. สืบค้นเมื่อ 2019-10-06.
  6. Henry Georg Fischer: Varia Aegyptiaca . In: Journal of the American Research Center in Egypt, No. 2. Eisenbrauns, Winona Lake 1963, p. 44.
  7. Helck, Wolfgang (1987). Untersuchungen zur Thinitenzeit. Ägyptologische Abhandlungen 45. Wiesbaden., p.98
  8. van den Brink, Edwin (1996). "The Incised Serekh-signs of Dynasties 0–1, Part I: Complete Vessels". ใน Spencer, Alan J. (บ.ก.). Aspects of Early Egypt. London: British Museum Press. pp. 140–158. ISBN 0714109991., p.147
  9. Toby A.H. Wilkinson: Early Dynastic Egypt - Strategy, Security and Society. Routledge, London 1999, ISBN 0-415-18633-1. page 55-56.
  10. Hsu, Hsu, Shih-Wei (2010) The Palermo Stone: the Earliest Royal Inscription from Ancient Egypt, Altoriental. Forsch., Akademie Verlag, 37 (2010) 1, 68–89.
Kembali kehalaman sebelumnya