Share to:

 

ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 6

เซอังค์อิบเร อาเมนิ อันเตฟ อเมนเอมฮัตที่ 6 เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณในช่วงต้นการปกครองของราชวงศ์ที่สิบสามระหว่างช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 18 ก่อนคริสต์ศักราช[3] ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เรียกว่าช่วงปลายสมัยราชอาณาจักรกลางหรือต้นสมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง โดยฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 6 ทรงครองราชย์ได้เพียงระยะเวลาอันสั้นประมาณ 3 ปีหรือสั้นกว่านั้น พระองค์ถือเป็นฟาโรห์ที่มีหลักฐานยืนยันน้อยชิ้นและปรากฏพระนามบนบันทึกพระนามกษัตริย์จำนวนสองรายการที่แตกต่างกัน พระองค์อาจจะอยู่ในพระราชวงศ์ฟาโรห์ที่มีขนาดใหญ่กว่ารวมถึงฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 5, ฟาโรห์อเมนิ เกเมา, ฟาโรห์โฮเทปอิบเร เกเมา ซิฮาร์เนดจ์เฮริเตฟ และฟาโรห์อิยูฟนิ

หลักฐานรับรอง

ทางประวัติศาสตร์

พระนามของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 6 ได้ปรากฏอยู่ในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน ซึ่งเป็นบันทึกที่ได้บันทึกในช่วงต้นสมัยรามเสส และเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักที่เกี่ยวข้องกับสมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง ในการอ่านบันทึกพระนามแบบล่าสุดโดย คิม รีฮอล์ต นักไอยคุปต์วิทยาชาวเดนมาร์ก พระนามของพระองค์ปรากฏในคอลัมน์ที่ 7 บรรทัดที่ 10 ซึ่งปรากฏเป็นพระนามครองราชย์ที่ว่า "เซอังค์อิบเร"[3][4] ซึ่งสอดคล้องกับการอ่านบันทึกพระนามแบบอลัน การ์ดิเนอร์ และเยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราทที่พระนามของพระองค์ปรากฏอยู่ในคอลัมน์ที่ 6 บรรทัดที่ 10[5][6]

และพระองค์ยังได้ปรากฏพระนามอยู่ในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งคาร์นัก (ลำดับที่ 37) ด้วยเช่นกัน[7]

ทางโบราณคดี

ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 6 ได้รับการรับรองยืนยันจากวัตถุโบราณร่วมสมัยจำนวนสองสามชิ้น ซึ่งรวมถึงตราประทับกระบอกจำนวนสองชิ้นจากอัล-มะฮามิด อัล-กิบลิในอียิปต์บน[8] ซึ่งหนึ่งในนั้นได้อุทิศให้แด่ "เทพโซเบค เจ้าแห่งซูเมนู"[3][9][10] มีการค้นพบโต๊ะถวายเครื่องบูชาที่มีคาร์ทูชของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 6 ในเมืองคาร์นัก และขณะนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ (หมายเลข ซีจี 2340)[1][11] จารึกจากเมืองอไบดอสกล่าวถึงเจ้าพนักงานนามว่า เซอังค์อิบเร-เซเนบ-เซเนเฟนิ ซึ่งเป็นชื่อที่มีการรวมพระนามของฟาโรห์ไปด้วย ซึ่งสร้างอุทิศแด่ฟาโรห์เซอังค์อิบเร อเมนเอมฮัต ซุ้มประตูจากหลุมฝังศพของสุสานแห่งเฮลิโอโปลิสที่ปรากฏพระนามของพระองค์อยู่ภายในคาร์ทูช[4][12] อย่างไรก็ตาม การศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ระบุว่า อนุสาวรีย์ดังกล่าวอาจเป็นของฟาโรห์พระองค์อื่นที่มีพระนามคล้ายกันคือฟาโรห์เซอังค์อิบทาวี เซอังค์อิบรา

ลำดับตำแหน่งตามเวลา

ตำแหน่งตามลำดับเวลาสัมพัทธ์

ตำแหน่งตามลำดับเวลาสัมพัทธ์ของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 6 นั้นยังหลงเหลือของในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน โดยผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์คือฟาโรห์อิยูฟนิ ซึ่งเป็นฟาโรห์ที่เป็นที่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับพระองค์เพียงเล็กน้อย และผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์คือฟาโรห์เซเมนคาเร เนบนูนิ ซึ่งเป็นฟาโรห์ที่มีคลุมเครือไม่แพ้กัน[3][13]

ตำแหน่งตามลำดับที่แน่นอนและช่วงเวลา

ตำแหน่งตามลำดับเวลาที่แน่นอนของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 6 มีความคลุมเครือมาก เนื่องจากความคลุมเครือที่ส่งผลกระทบต่อฟาโรห์ที่ปกครองก่อนหน้าของราชวงศ์ ตามที่คิม รีฮอล์ต และดาร์เรล เบเกอร์ ได้ระบุว่า พระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์ที่แปดของราชวงศ์ ในขณะที่ธอมัส ชไนเดอร์, เดตเลฟ ฟรานเคอ และฟอน เบ็คเคอราท ได้มองว่า พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่เจ็ดแทน[12][6]

ระยะเวลาในการครองราชย์ของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 6 ได้สูญหายไป เนื่องจากสภาพที่ไม่ดีของบันทึกพระนามดังกล่าว และปรากฏเพียงจำนวนวันที่อ่านได้เป็น [... ] และ 23 วัน อย่างไรก็ตาม รีฮอล์ตได้กำหนดความยาวของรัชสมัยอย่างสั้นให้กับพระองค์เป็นระยะเวลาเพียง 3 ปี ซึ่งปกครองอยู่ช่วงระหว่าง 1788 ถึง 1785 ปีก่อนคริสตกาล[3]

พระราชอาณาเขต

ปรากฏความไม่ชัดเจนที่ว่า ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 6 ทรงได้ปกครองอียิปต์ทั้งหมดหรือไม่ พระองค์น่าจะมีอำนาจควบคุมเหนือดินแดนนิวเบียล่าง ซึ่งถูกยึดครองโดยราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ และยังมีอำนาจควบคุมบริเวณดังกล่าวไปอย่างน้อยอีก 60 ปี พระราชอำนาจของพระองค์เหนืออียิปต์ล่างเป็นที่ถกเถียงกัน โดยรีฮอล์ตเชื่อว่าราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์ของชาวคานาอัน ซึ่งปรากฏอยู่แล้วในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งสถาปนาขึ้นเป็นพระราชอาณาจักรอิสระที่มีอำนาจควบคุมพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันออกเป็นอย่างน้อย ในขณะที่นักวิชาการบางคนยอมรับการวิเคราะห์นี้ ซึ่งมีแก กัลเลนเดอร์, เจนีน บอร์เรียว และดาร์เรล เบเกอร์[4][14][15] และมีฝ่ายที่ออกมาปฏิเสธโดยมีนักวิชาการคนอื่น ๆ รวมถึงมันเฟรด เบียตัก, แดฟนา เบน-ทอร์, เจมส์ อัลเลน และซูซาน อัลเลน ซึ่งโต้แย้งว่า ราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์ไม่สามารถสถาปนาขึ้นมาได้ก่อนหน้ารัชสมัยของฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 แห่งราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์[16][17][18]

พระราชวงศ์

นักไอยคุปต์วิทยา คิม รีฮอล์ต ได้เสนอว่า ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 6 ทรงเป็นสมาชิกราชวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วยฟาโรห์เซเคมคาเร อเมนเอมฮัตที่ 5, ฟาโรห์อเมนิ เกมาอู, ฟาโรห์โฮเทปอิบเร เกมาอู ซิฮาร์เนดจ์เฮริเตฟ และฟาโรห์อิยูฟนิ เขาได้สรุปข้อสรุปนี้จากพระนามคู่ที่ฟาโรห์เหล่านี้ทรงใช้ ซึ่งเป็นพระนามที่ปรากฏพระนามของผู้ให้กำเนิดร่วมด้วย ดังนั้น อเมนิ ในพระนามของฟาโรห์อเมนิ เกมาอู สามารถระบุว่า พระองค์เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 5 จากนั้นก็ส่งต่อพระราชบัลลังก์ไปยังฟาโรห์โฮเทปอิบเร เกมาอู ซิฮาร์เนดจ์เฮริเตฟ ผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์เองมาที่ปรากฎคำว่า เกมาอู ในพระนามพระองค์ ในทำนองเดียวกัน "อเมนิ อันเตฟ อเมนเอมฮัต (ที่ 6)" จะเป็นพระนามจำนวนสามพระนามที่หมายถึง "อเมนเอมฮัต พระราชโอรสแห่งอันเตฟ ผู้เป็นพระราชโอรสแห่งอเมนิ" อาจเป็นเพราะพระราชบิดาของพระองค์เป็น "พระราชโอรสแห่งฟาโรห์อันเตฟ" ที่ปรากฏบนตราประทับสคารับ ซึ่งลงวันเวลาในช่วงราชวงศ์ที่สิบสาม และพระองค์ใดจะเป็นพระราชโอรสของอเมนเอมฮัตที่ 5 ส่วนฟาโรห์อิยูฟนิ ผู้เป็นผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ ก็ทรงเป็นส่วนหนึ่งของราชวงศ์ดังกล่าวด้วย ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์ที่แม่นยำของพระองค์กับเชื้อพระวงศ์พระองค์อื่น ๆ จะไม่สามารถหาข้อสรุปกันได้ เนื่องจากขาดหลักฐานและข้อมูลเกี่ยวกับการครองราชย์อันสั้นของพระองค์[3]

และระยะเวลาน้อยกว่า 10 ปี หลังการครองราชย์ของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 6 ฟาโรห์พระนามว่า เรนเซเนบ อเมนเอมฮัต ก็ทรงขึ้นครองบัลลังก์ ตามตรรกะเดียวกันนี้ พระองค์จะเป็นพระราชโอนสของฟาโรห์พระนามว่า อเมนเอมฮัต ซึ่งอาจจะเป็นฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 6 หรือฟาโรห์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งที่ปกครองระหว่างรัชสมัยของทั้งสองพระองค์[3] ซึ่งการวิเคราะห์ของรีฮอล์ตได้ถูกโต้แย้งโดยนักไอยคุปต์วิทยาบางคน เนื่องจากอาศัยสมมติฐานที่ไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าการที่ฟาโรห์ทรงมีพระนามคู่นั้นจำเป็นจะต้องเป็นพระนามที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้กำเนิดหรือ[19]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Ahmed Bey Kamal: Tables d'offrandes, vol. I, Le Caire, 1909, available online see item 23040 p. 31–37 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "kamal" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  2. Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen, Albatros 2002, ISBN 978-3491960534
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
  4. 4.0 4.1 4.2 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 33–34
  5. Alan Gardiner: The Royal Canon of Turin, Griffith Institute, new edition 1997, ISBN 978-0900416484
  6. 6.0 6.1 Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Münchner ägyptologische Studien, Heft 49, Mainz : Philip von Zabern, 1999, ISBN 3-8053-2591-6, see pp.90–91, king No 7.
  7. This corresponds to entry 34 in Ryholt and Baker's numbering of the king list.
  8. One of the two cylinder seals is housed in the Metropolitan Museum of Art, see online catalog
  9. William C. Hayes: The Scepter of Egypt: A Background for the Study of the Egyptian Antiquities in The Metropolitan Museum of Art. Vol. 1, From the Earliest Times to the End of the Middle Kingdom, MET Publications 1978, available online, see p. 342 fig. 226
  10. Jean Yoyotte: Le Soukhos de la Maréotide et d'autres cultes régionaux du Dieu-Crocodile d'après les cylindres du Moyen Empire, Bulletin de l'Institut Français d'Archeologie Orientale (BIFAO) 56, 1957, p. 81–95 available online เก็บถาวร 2014-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน see p. 88 2.cc
  11. Auguste Mariette-Bey: Karnak. Étude topographique et archéologique avec un appendice comprenant les principaux textes hiéroglyphiques découverts ou recueillis pendant les fouilles exécutées a Karnak, Leipzig, 1875, available online เก็บถาวร 2016-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน see p. 45–46 pl. 9–10.
  12. 12.0 12.1 Detlef Franke: Zur Chronologie des Mittleren Reiches (12.-18. Dynastie) Teil 1 : Die 12. Dynastie, in Orientalia 57 (1988) see p. 267–268 no. 57
  13. Thomas Schneider in Erik Hornung, Rolf Krauss, and David A. Warburton (editors): Ancient Egyptian Chronology, Handbook of Oriental Studies, available online, see p. 176 for the chronology.
  14. Gae Callender: The Middle Kingdom Renaissance (c. 2055–1650 BC) in Ian Shaw (editor): The Oxford History of Ancient Egypt, Oxford University Press (2004), ISBN 978-0192804587
  15. Janine Bourriau: The Second Intermediate Period (c.1650-1550 BC) in: Ian Shaw (editor): The Oxford History of Ancient Egypt, 2000, Oxford University Press, ISBN 0-19-815034-2
  16. Daphna Ben-Tor & James and Susan Allen: Seals and Kings, Bulletin of the American Schools of Oriental Research (BASOR) 315, 1999, pp.47-73.
  17. Manfred Bietak: Egypt and Canaan During the Middle Bronze Age, BASOR, 281 (1991), pp. 21-72, esp. p. 38, available online
  18. Daphna Ben-Tor: Scarabs, Chronology, and Interconnections: Egypt and Palestine in the Second Intermediate Period, Volume 27 of Orbis biblicus et orientalis / Series archaeologica: Series archaeologica, Academic Press Fribourg 2007, ISBN 978-3-7278-1593-5, excerpts available online
  19. For exampleː Julien Siesse: La XIIIe dynastie: histoire de la fin du Moyen Empire égyptien. Passé présent. Sorbonne Université, Paris 2019, ISBN 979-1-023-10567-4, 61-63
Kembali kehalaman sebelumnya