อเคเปอร์เร เซเทปเอนอามุน ปาเซบาคาเอนนิอุตที่ 1[ 1] , ซูเซนเนสที่ 1 หน้ากากพระบรมศพทองคำของ ฟาโรห์ซูเซนเนสที่ 1, ขุดพบในปี 1940 โดย
ปิแอร์ มอนเตส ภายในสุสานของพระองค์
ฟาโรห์ รัชกาล 1047–1001 ปีก่อนคริสตกาล ก่อนหน้า อเมนเอมนิซู ถัดไป อเมนเอมโอเป
พระนามฮอรัส
คานัคต์เอมอุยอามุน ยูเซอร์เอฟอาว เซแคเอมวาเซตK3-nḫt-m-3wj-Jmn-wsr-f3w-sḫˁj-m-W3st วัวตัวผู้ที่ทรงพลัง, ผู้ถูกโอบกอดโดย อามุน , ผู้ที่เต็มเปี่ยมด้วยพลัง, ผู้ที่เจิดจรัสในเมือง ทีบส์
พระนามเนบติ
เวอร์เมนู-เอม-อิเพตซุต เนบเพฮ์ติ วาฟทาวีวาฮ์เนสิตมิราเอมเพต Wr-mnw-m-Jptswt nb-pḥtj- wˁf-t3wj-w3ḥ-nsjt-mj-Rˁ-m-pt อนุสรณ์สถานอันยิ่งใหญ่ แห่ง อิเพตซุต , เจ้าผู้ทรงอำนาจ, เจ้าผู้พิทักษ์แห่ง สองปฐพี, เหมือนราที่ประทับอยู่เหนือนภากาศ
พระนามฮอรัสทองคำ
เซมาเคเปอร์อูเดอร์ เพดเจต-9 อิตีเอมเซเคมเอฟ ทาวเนบูsm3-ḫprw-dr-pḏt-9-jṯj-m-sḫm-f-t3w-nbw ฮอรัสทองคำที่รวมการสำแดงต่างๆ เข้าด้วยกัน, ผู้พิชิตคันธนูทั้งเก้า (ศัตรูของอียิปต์) และ พิชิตดินแดนทั้งหมดด้วยพละกำลัง
พระนามครองราชย์
อเคเปอร์เร เซเทปเอนอามุนˁ3-ḫpr-Rˁ-stp.n-Jmn การสำแดงที่ยิ่งใหญ่ของรา , ผู้ที่ถูกเลือกโดยอามุน "
พระนามประสูติ
ปาเซบาคาเอนนิอุต เมริอามุนḤr-p3-sb3-ḫˁj-n-njwt-mrj-Jmn Psusennes, litt. ดวงดาวที่ปรากฏ ในเมือง [ ทีบส์ ],ผู้เป็นที่รักแห่งอามุน
คู่เสกสมรส มุตเนดจ์เมต วิอัยพระราชบุตร อเมนเอมโอเป อังค์เคฟเอนมุต ไอซิสเอมเคบพระราชบิดา พิเนดเจมที่ 1 พระราชมารดา ดูอัตฮาร์ธอร์-เฮนุตทาวี สวรรคต 1001 ปีก่อนคริสตกาล สุสาน NRT III, สุสานหลวงทานิส อนุสรณ์สถาน มหาวิหารแห่งอามุน, ทานิส (ปัจจุบันเหลือเพียงซากปรักหักพัง) ราชวงศ์ ราชวงศ์ที่ 21
อเคเปอร์เร เซเทปเอนอามุน หรือมีพระนามเดิมว่า ปาเซบาคาเอนนิอุต หรือ ซูเซนเนส เป็นฟาโรห์ ชาวอียิปต์โบราณ แห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ เสวยราชสมบัติระหว่าง 1,047-1,001 ปีก่อนคริสตกาล
คำว่า ซูเซนเนส เป็นคำเรียกภาษากรีกซึ่งมาจากพระนามในภาษาอียิปต์ว่า ปาสิบคานู หรือ ปาเซบาคาเอนนิอุต แปลว่า "ดวงดาวที่ปรากฏในเมือง" ส่วนพระนามครองราชย์บัลลังก์ของพระองค์คือ อเคเปอร์เร เซเทปเอนอามุน แปลความได้ว่า "การสำแดงที่ยิ่งใหญ่ของรา , ผู้ที่ถูกเลือกโดยอามุน "[ 2]
พระองค์เป็นพระราชโอรสในนักบวชสูงสุดแห่งอามุนพิเนดเจมที่ 1 ประสูติแต่ พระนางดูอัตฮาธอร์-เฮนุตทาวี ซึ่งเป็นพระราชธิดาใน ฟาโรห์ราเมสเสสที่ 11 ที่ประสูติแต่ พระนางเทนต์อามุน ฟาโรห์ซูเซนเนสทรงอภิเษกสมรสกับราชินีมุตเนดจ์เมต ซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระองค์
รัชกาล
ระยะเวลาการครองราชย์ของพระองค์นั้นเป็นที่ไม่แน่นอน เนื่องจากบันทึกของ มาเนโธ บันทึกการครองราชย์ไว้ 41 หรือ 46 ปี นักอียิปต์วิทยาบางคนเสนอให้เพิ่มตัวเลข 41 เป็น 51 ปี เพื่อให้ใกล้เคียงกับปีที่ 48 และปีที่ 49 ซึ่งเป็นวันที่ตามอียิปต์ตอนบน อย่างไรก็ตาม นักอียิปต์วิทยาชาวเยอรมันนามว่า Karl Jansen-Winkeln ได้แนะนำว่าวันที่ทั้งหมดเหล่านี้ควรนำมาประกอบกับหลักฐานของ นักบวชสูงสุดแห่งอามุน เมนเคเปอร์เร ซึ่งมีการบันทึกวันที่ไว้อย่างชัดเจนคือปีที่ 48[ 3] Jansen-Winkeln สังเกตว่า "ในครึ่งแรกของ Dyn. 21 [ที่] HP เฮริฮอร์, พิเนดเจมที่ 1 และ เมนเคเปอร์เร มีลักษณะของราชวงศ์และตำแหน่ง [ฟาโรห์] ในระดับที่ต่างกัน" ในขณะที่กษัตริย์เมืองทานิส สามพระองค์แรก (สเมนเดส, อเมนเอมนิซู และ ซูเซนเนสที่ 1) ไม่เคยกล่าวถึงพระนามในอียิปต์ตอนบน ยกเว้นภาพฝาผนังและแผ่นหินของฟาโรห์สเมนเดส[ 4] ในทางตรงกันข้ามหลังรัชกาลของฟาโรห์ซูเซนเนสที่ 1 เช่น อเมนเอมโอเป , โอซอร์คอน ผู้อาวุโส และ ซิอามุน มักปรากฏหลักฐานในอียิปต์ตอนบน ขณะที่ นักบวชสูงสุดแห่งอามุน พิเนดเจมที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปกครองอียิปต์ตอนบนที่ร่วมสมัยของกษัตริย์สามพระองค์หลัง ไม่เคยใช้พระนามนำหน้าตำแหน่งแบบฟาโรห์เกินตำแหน่งของท่านเลย[ 5]
อ้างอิง
↑ Pasebakhaenniut
↑ Peter Clayton, Chronicle of the Pharaohs , Thames & Hudson Ltd, 1994., p.178
↑ Karl Jansen-Winkeln, "Das Ende des Neuen Reiches", Zeitschrift für ägyptische Sprache , 119 (1992), p.26
↑ Karl Jansen-Winkeln, "Dynasty 21" in Erik Hornung, Rolf Krauss, and David Warburton (editors), Handbook of Ancient Egyptian Chronology (Handbook of Oriental Studies), Brill: 2006, pp. 226-227, 229
↑ Hornung, Krauss & Warburton, p. 229
ยุค
ราชวงศ์
ฟาโรห์ (ชาย หญิง ) ไม่ทราบ
ยุคปลาย (664–332 ปีก่อน ค.ศ)
เฮลเลนิสต์ (332–30 ปีก่อน ค.ศ)
ยุค
ราชวงศ์
ฟาโรห์ (ชาย หญิง ) ไม่ทราบ
โรมัน (30 ปีก่อน ค.ศ.–ค.ศ. 313)