Share to:

 

ฟาโรห์บูล

บูล หรือ ทอรัส เป็นพระนามโดยสันนิษฐานของผู้ปกครองในสมัยยุคก่อนราชวงศ์แห่งอียิปต์ ซึ่งการมีอยู่ของพระองค์เป็นที่ถกเถียงกันอย่างมาก พระองค์ถือว่าเป็นผู้ปกครองของสมัยวัฒนธรรมนะกอดะฮ์ที่ 3 ซึ่งเป็นยุคแห่งเครื่องปั้นดินเผาตอนปลายของสมัยหินใหม่ทางตอนใต้ของอียิปต์

หาก "ฟาโรห์บูล" เป็นพระนามของผู้ปกครองจริงๆ แล้ว ส่วนใหญ่จะรู้จักจากแผ่นงาช้างจากสุสานอไบดอส ยู-เจ แห่งอุมมุลกะอับ และจากการแกะสลักหินบนภูเขาเกเบล ทจาอูติ

หลักฐานยืนยัน

กุนเตอร์ เดรเยอร์ นักไอยคุปต์วิทยาได้อนุมานการมีอยู่ของฟาโรห์ "ทอรัส" จากร่องรอยบนรูปสลักของเทพเจ้ามิน ซึ่งตีความว่าเป็นน่าจะอยู่ในช่วงการปกครองของพระองค์ โดยที่สงสัยว่าเครื่องเซ่นไหว้หลุมฝังพระบรมศพซึ่งมีไว้สำหรับฟาโรห์สกอร์เปียนที่ 1 มาจากสินค้าในอาณาเขตของอาณาจักรของฟาโรห์ "ทอรัส" ดังนั้นสัญลักษณ์รูปวัวจึงเป็นที่มาของพระนามของพระองค์[1][2]

การยืนยันเพิ่มเติมเกี่ยวกับการมีอยู่ของผู้ปกครองพระองค์นี้ คือ การตีความภาพวาดบนหินที่ค้นพบในปี ค.ศ. 2003 บนเกเบล ทจาฮูติในทะเลทรายทางตะวันตกของธีบส์ เห็นได้ชัดว่าเป็นการดำเนินการทหารที่ประสบความสำเร็จโดยฟาโรห์สกอร์เปียนที่ 1 ที่ทรงสู้รบกับฟาโรห์ทอรัส โดยการต่อสู้ครั้งนี้อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการรวมอาณาจักรอียิปต์ในช่วงก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ซึ่งฟาโรห์สกอร์เปียนที่ 1 ซึ่งทรงปกครองที่เมืองไธนิส ได้ทรงพิชิตอาณาจักรของฟาโรห์ทอรัสในพื้นที่นะกอดะฮ์[2][3]

ข้อสงสัย

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอักษรอียิปต์โบราณรูปวัวนั้นไม่ปรากฏร่วมสัญลักษณ์ของเหยี่ยวฮอรัสหรือดอกไม้สีทอง ซึ่งสัญลักษณ์ของผู้ปกครองในยุคก่อนราชวงศ์ มีนักวิจัยบางคนสงสัยว่าสัญลักษณ์นั้นจะสื่อถึงฟาโรห์ ตัวอย่างเช่น ลุดวิก เดวิด โมเรนซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนและนักไอยคุปต์วิทยา โจเชม คาห์ล ได้ชี้ให้เห็นว่าการเขียนอักษรอียิปต์โบราณยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาในช่วงสมัยก่อนราชวงศ์ และการกำหนดสัญลักษณ์รูปภาพแต่ละภาพนั้นไม่เป็นระบบมากนั้น เหตุผลดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ว่าในระยะเริ่มต้นของการพัฒนาการเขียนนี้ไม่มีปัจจัยกำหนดที่ตายตัวสำหรับ "ความเป็นท้องถิ่น" "เขตปกครอง" และ "ภูมิภาค" ที่มีอยู่ สัญลักษณ์ของรูปวัวนั้นสามารถเป็นภาพแทนของฟาโรห์ในฐานะกองกำลังโจมตี แต่ก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของชื่อสถานที่หรือเขตปกครองใดเขตปกครองหนึ่ง (เช่น เขตปกครองวัวภูเขา) นอกจากนี้ยังมีการแสดงภาพของวัวที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมโบราณ "การจับวัวป่า" ซึ่งจะพัฒนากลายมาเป็นพิธีการวิ่งพระโคอาพิสในช่วงเวลาภายหลัง ดังนั้น สัญลักษณ์ของวัวจึงไม่จำเป็นต้องสื่อถึงพระนามของฟาโรห์เสมอไป[2][4]

อ้างอิง

  1. Günter Dreyer: Umm el-Qaab I .: the predynastic royal tomb U-j and its early documents (= Umm el-Qaab, 1st volume). von Zabern, Mainz 1998, ISBN 3-8053-2486-3., pp. 87 & 176.
  2. 2.0 2.1 2.2 Ludwig David Morenz: picture letters and symbolic signs. The development of the writing of the high culture of ancient Egypt (= Orbis Biblicus et Orientalis 205). Friborg 2004, ISBN 3-7278-1486-1., pp. 130–134, 172, 190–193.
  3. Gregory Phillip Gilbert: Weapons, warriors and warfare in early Egypt. 2004, (= BAR international series. Volume 1208). Archaeopress, 2004, ISBN 1-84171-571-9. pp. 93 & 94.
  4. Wolfgang Helck: Studies on the Thinite period (= Egyptological treatises. (ÄA) Vol. 45). Harrassowitz, Wiesbaden 1987, ISBN 3-447-02677-4, (restricted online version), pp. 147 & 153.
Kembali kehalaman sebelumnya