Share to:

 

ฟาโรห์วาคาเร เคติ

วาคาเร เคติ เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่เก้าหรือสิบในสมัยช่วงระหว่างกลางที่ 1

การระบุตัวตน

การมีอยู่ของฟาโรห์วาคาเร เคติ นั้นยังคงโต้เถียงกัน ในขณะที่นักวิชาการบางคนเชื่อว่า พระองค์เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่เก้า[2] คนอื่น ๆ อีกหลายคนจัดให้พระองค์อยู่ในราชวงศ์ที่สิบแห่งอียิปต์[3][4][5][6]

ข้อสันนิษฐานหากพระองค์อยู่ในราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์

หากฟาโรห์วาคาเร เคติเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์ พระองค์อาจจะเป็นฟาโรห์อัคธอส์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์นี้ตามบันทึกของมาเนโท ที่ได้กล่าวว่า:

[ฟาโรห์] พระองค์แรกของราชวงศ์นี้คือ อัคธอส์ ซึ่งประพฤติตนโหดร้ายยิ่งกว่าผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ ผู้ก่อความวิบัติแก่ชาวอียิปต์ทั้งหลาย แต่ภายหลังพระองค์ถูกรุมเร้าด้วยความวิกลจริตและโดนจระเข้ปลงพระชนม์[1][7]

หากสมมติฐานนี้ถูกต้อง ฟาโรห์วาคาเร เคติ อาจจะเป็นผู้ปกครองท้องถิ่นเขตเฮราคลีโอโพลิส ซึ่งได้ใช้ประโยชน์จากความอ่อนแอของผู้ปกครองแห่งราชวงศ์ที่แปดที่ปกครอง ณ เมืองเมมฟิส เพื่อยึดบัลลังก์ของอียิปต์ตอนกลางและตอนล่างเมื่อประมาณ 2150 ปีก่อนคริสตกาล สมมติฐานนี้ได้รับการสนับสนุนโดยจารึกร่วมสมัยที่อ้างถึงแคว้นเฮราคลีโอโพลิสที่อยู่ทางเหนือในฐานะราชวงศ์ของเคติ[8] แม้ว่าจะพิสูจน์ได้เพียงว่าผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่เก้าจะมีพระนามว่า เคติ แต่ไม่จำเป็นว่าจะเป็นฟาโรห์วาคาเร เคติ

ข้อสันนิษฐานหากพระองค์อยู่ในราชวงศ์ที่สิบแห่งอียิปต์

นักวิชาการหลายคน เชื่อว่า ฟาโรห์วาคาเร เคติ เป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบแห่งอียิปต์แทน โดยให้พระองค์เป็นพระองค์เดียวกับ เคติ ซึ่งเป็นผู้ถูกสันนิษฐานว่าเป็นทรงนิพนธ์หนังสือการสอนที่มีชื่อเสียงของฟาโรห์เมริคาเร ทำให้พระองค์จะต้องขึ้นครองราชย์อยู่ระหว่างรัชสมัยของฟาโรห์เนเฟอร์คาเรที่ 8 และฟาโรห์เมริคาเร และฟาโรห์วาคาเร เคติ จะเป็นฟาโรห์แห่งเฮราคลีโอโพลิสพระองค์สุดท้ายที่ใช้พระนาม เคติ และผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์พระนามว่า อัคธอส์ ผู้เหี้ยมโหด จะกลายเป็นฟาโรห์เมริอิบเร เคติ และราชวงศ์แห่งเคติ ( House of Khety) จะอ้างถึงฟาโรห์เมริอิบเรแทนด้วย

เป็นที่ทราบกันว่า ฟาโรห์วาคาเร เคติได้เข้าเป็นพันธมิตรกับบรรดาผู้ปกครองท้องถิ่นอียิปต์ล่างที่สามารถขับไล่ "ชาวเอเชียเร่ร่อน" ที่เดินเตร่เร่ร่อนบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์มาหลายชั่วอายุคน ผู้ปกครองท้องถิ่นเหล่านั้น แม้จะรับรู้ถึงอำนาจของพระองค์ แต่ก็ยังปกครองโดยพฤตินัยอย่างอิสระไม่มากก็น้อย ซึ่งขับไล่ "ชาวเอเชีย" และอนุญาตให้มีการจัดตั้งการตั้งถิ่นฐานและสร้างแนวป้องกันใหม่บนพรมแดนตะวันออกเฉียงเหนือเช่นเดียวกับการค้าขายกับชายฝั่งเลวานไทน์[9] อย่างไรก็ตามพระองค์ยังเตือนฟาโรห์เมริคาเรว่า อย่าละเลยการปกป้องพรมแดนเหล่านี้ เนื่องจาก "ชาวเอเชีย" ยังคงถูกมองว่าเป็นอันตราย[10]

ในทางตอนใต้ พระองค์และผู้ปกครองท้องถิ่นแห่งอัสยุตผู้ซื่อสัตย์นามว่า เทฟิบิ ได้ยึดไทนิส ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกฟาโรห์แห่งธีบส์ นำโดยฟาโรห์อินโยเตฟที่ 2; อย่างไรก็ตาม กองทหารจากเฮราคลีโอโพลิสได้บุกรุกหลุมฝังศพอันศักดิ์สิทธิ์แห่งไทนิส ซึ่งเป็นความผิดร้ายแรงที่พระองค์ทราบด้วยพระองค์เอง การกระทำในครั้งนี้ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาทันทีฝ่ายธีบส์ ซึ่งต่อมาได้เข้ายึดไทนิสคืนได้ในที่สุด หลังจากเหตุการณ์นั้น ฟาโรห์วาคาเร เคติ ตัดสินพระทัยที่จะละทิ้งพระราโชบายที่รุนแรงนี้และเริ่มขั้นตอนของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับเขตปกครองทางใต้ ซึ่งคงอยู่จนกระทั่งช่วงหนึ่งของรัชสมัยของฟาโรห์เมริคาเร ซึ่งผู้ที่ขึ้นปกครองต่อจากพระองค์ ผู้ที่ครองราชย์ยาวนานถึงห้าทศวรรษ[11]

หลักฐานรับรอง

ไม่มีหลักฐานชั้นต้นร่วมสมัยที่มีพระนามของพระองค์ คาร์ทูธของฟาโรห์วาคาเรได้ปรากฏบนโลงศพไม้จากสมัยช่วงราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ ซึ่งจารึกด้วยข้อความโลงศพและเดิมสร้างขึ้นสำหรับข้าราชบริพารนามว่า เนฟริ ถูกค้นพบใน เดียร์ เอล-เบอร์ชา (Dier el-Bersha) และปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ในกรุงไคโร (ซีจี 28088)[12][13] บนนั้นพระนามของพระองค์ถูกแทนที่ด้วยนามของเนฟริเพียงที่เดียว แต่ไม่ทราบว่าข้อความเดิมถูกจารึกไว้สำหรับฟาโรห์หรือไม่หรือเพียงแค่คัดลอกมาจากที่อื่นก่อนหน้านี้[14] พระนามของฟาโรห์วาคาเร เคติ อาจจะบันทึกรวมอยู่ในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินด้วย[14]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 William Gillian Waddell: Manetho (= The Loeb classical library. Bd. 350). Harvard University Press, Cambridge (Mass.) 2004 (Reprint), ISBN 0-674-99385-3, p. 61.
  2. Jürgen von Beckerath, Handbuch der Ägyptischen Königsnamen, 2nd edition, Mainz, 1999, p. 74.
  3. William C. Hayes, in The Cambridge Ancient History, vol 1, part 2, 1971 (2008), Cambridge University Press, ISBN 0-521-077915, p. 996.
  4. Nicolas Grimal, A History of Ancient Egypt, Oxford, Blackwell Books, 1992, p. 144–47.
  5. Michael Rice, Who is who in Ancient Egypt, 1999 (2004), Routledge, London, ISBN 0-203-44328-4, p. 7.
  6. Margaret Bunson, Encyclopedia of Ancient Egypt. Infobase Publishing, 2009, ISBN 1438109970, p. 202.
  7. Margaret Bunson, op. cit., p. 355.
  8. Stephan Seidlmayer, Ian Shaw, The Oxford History of Ancient Egypt, ISBN 978-0-19-280458-7, p. 128.
  9. William C. Hayes, op. cit., p. 466.
  10. William C. Hayes, op. cit., p. 237.
  11. William C. Hayes, op. cit., pp. 466–67.
  12. Pierre Lacau, Sarcophages antérieurs au Nouvel Empire, tome II, Cairo, 1903, pp. 10–20.
  13. Alan Gardiner, Egypt of the Pharaohs, an introduction. Oxford University Press 1961, p. 112
  14. 14.0 14.1 Thomas Schneider, Lexikon der Pharaonen. Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3, p. 172.

อ่านเพิ่ม


Kembali kehalaman sebelumnya