ฟาโรห์อินโยเตฟที่ 2
วาอังค์ อินเตฟที่ 2 (หรือ อินโยเตฟที่ 2 และอันเตฟที่ 2) เป็นผู้ปกครองพระองค์ที่สามจากราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ในช่วงระหว่างกลางที่ที่หนึ่ง พระองค์ทรงครองราชย์เป็นเวลาเกือบห้าสิบปี ตั้งแต่ 2112 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 2063 ปีก่อนคริสตกาล[3] เมืองหลวงของพระองค์ตั้งอยู่ที่ธีบส์ ในรัชสมัยของพระองค์ดินแดนอียิปต์ถูกแบ่งออกเป็นราชวงศ์ท้องถิ่นย่อยหลายแห่ง พระองค์ถูกฝังอยู่ในหลุมฝังพระศพที่เอล-ทารีฟ พระราชวงศ์พระราชบิดาและพระราชมารดาของพระองค์ คือ ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 1 และพระนางเนเฟรูที่ 1 ผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ อาจจะเป็นพระเชษฐาพระนามว่าฟาโรห์อินเตฟที่ 1 และฟาโรห์อินเตฟที่ 3 ซึ่งเป็นพระราชโอรสได้ขึ้นมาปกครองต่อจากพระองค์ รัชสมัยหลังจากการมรณกรรมของผู้ปกครองท้องถิ่นนามว่า อังค์ติฟิ ฟาโรห์อินเตฟก็สามารถรวบรวมเขตปกครองทางใต้ทั้งหมดลงไปถึงแก่งน้ำตกแรกของแม่น้ำไนล์ หลังจากนั้นพระองค์ได้ทำสงครามกับผู้ปกครองจากเฮราคลีโอโพลิส แมกนา เพื่อยึดปกครองอไบดอส ซึ่งเป็นเมืองที่ผ่านหลายขั้วอำนาจมาหลายครั้ง แต่ในที่สุดฟาโรห์อินโยเตฟที่ 2 ก็ได้รับชัยชนะ โดยขยายเขตการปกครองของพระองค์ไปทางเหนือจนถึงเขตปกครองที่สิบสามหรือเฮลิโอโพลิส หลังจากทำสงครามหลายครั้ง ได้มีการสร้างความสัมพันธ์อันดีมากขึ้นและระยะเวลาที่เหลือของรัชสมัยของพระองค์ก็เข้าสู่ความสงบสุข การค้นพบรูปสลักฟาโรห์อินเตฟที่ 2 ที่ห่อด้วยเสื้อคลุมสำหรับเทศกาลเซดในวิหารศักดิ์สิทธิ์ของเฮกาอิบบนเกาะแอลเลเฟนไทน์ แสดงให้เห็นว่าอำนาจของฟาโรห์พระองค์นี้ได้แผ่ขยายไปถึงภูมิภาคแก่งน้ำตกแรกของแม่น้ำไนล์ และบางทีอาจจะครอบคลุมบางส่วนของนิวเบียล่างในปีที่ 30 แห่งการครองราชย์ของพระองค์[4] ซึ่งจะได้รับการยืนยันโดยมีคณะเดินทางที่นำโดย ดเจมิ จากเมืองเกเบลีนไปยังดินแดนวาวัต (หรือ นิวเบีย) ขึ้นในรัชสมัยของพระองค์[4] ดังนั้น เมื่อฟาโรห์อินเตฟที่ 2 เสด็จสวรรคต พระองค์จึงได้ทิ้งรัฐบาลที่เข้มแข็งไว้ในเมืองธีบส์ ซึ่งสามารถควบคุมพื้นที่ทั้งหมดของอียิปต์ตอนบนและคงไว้ซึ่งพรมแดนทางใต้ของอัสยุต[4] หลักฐานที่ระบุเวลาที่เก่าสุดของเทพอามุนในคาร์นักเกิดขึ้นในช่วงรัชสมัยของพระองค์ ในส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่ของบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินในช่วงสมัยราขอาณาจักรกลางได้บันทึกไว้ว่า พระองค์ครองราชย์เป็นระยะเวลา 49 ปี[5][6] พระนามเห็นได้ชัดว่า ฟาโรห์อินเตฟที่ 3 ไม่เคยมีพระนามห้าพระนามของฟาโรห์ตามแบบสมัยราชอาณาจักรเก่า อย่างไรก็ตาม พระองค์ได้อ้างสิทธิ์ในความเป็นกษัตริย์ทั้งสองดินแดน nswt bity และตำแหน่ง s3-Re (พระโอรสแห่งรา) ซึ่งเน้นถึงลักษณะอันศักดิ์สิทธิ์ของความเป็นกษัตริย์[3] ในที่สุดจากการขึ้นครองบัลลังก์แห่งธีบส์ ฟาโรห์อินเตฟที่ 3 ได้ทรงมีพระนามอฮรัสว่า วาอังค์ ซึ่งมีความหมาย ความยืนยงแห่งชีวิต ให้กับพระนามประสูติของพระองค์ ข้าราชการในรัชสมัยปัจจุบันได้ทราบชื่อและการทำงานของข้าราชการบางคนที่ทำหน้าที่ภายใต้รัชสมัยของฟาโรห์อินเตฟที่ 2 :
อนุสรณ์วัตถุในจารึกพิธีพระศพของพระองค์ได้เน้นย้ำถึงพระราชกรณียกิจในการสร้างอนุสรณ์วัตถุของพระองค์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ชิ้นส่วนก่อสร้างของราชวงศ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ในคาร์นัก นั้นคือเสาแปดเหลี่ยมที่มีพระนามของฟาโรห์อินเตฟที่ 2 และพระองค์ยังเป็นผู้ปกครองพระองค์แรกที่สร้างวิหารถวายแด่เทพีซาเทตและเทพคนุมบนเกาะแอลเลเฟนไทน์[12] และอันที่จริงแล้ว ฟาโรห์อินเตฟที่ 2 ยังได้ได้เริ่มพระราชประเพณีในการสร้างวิหารประจำท้องถิ่นบริเวณอียิปต์บน ซึ่งกระทำอยู่ตลอดช่วงสมัยราชอาณาจักรกลาง หลุมฝังพระศพหลุมฝังพระศพของฟาโรห์อินเตฟที่ 2 ในเอล-ทารีฟที่ธีบส์ เป็นหลุมฝังพระศพแบบแถว (saff แปลว่า "แถว" ในภาษาอาหรับ) และยังหมายถึง แถวสองแถวของเสาและทางเข้าด้านหน้าลานสี่เหลี่ยมคางหมูใหญ่ขนาด 250 x 70 เมตร (820 ฟุต x 230 ฟุต) ที่ปลายด้านตะวันออกซึ่งเป็นวิหารสำหรับฝังพระศพ[13] วิหารแห่งนี้อาจมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในจุดประสงค์เดียวกับโถงวิหาร (Valley temple)[14] หลุมฝังพระศพของฟาโรห์อินเตฟที่ 2 ถูกตรวจสอบโดยพระราชโองการในรัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 9 ในช่วงปลายราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์ เนื่องจากสุสานของราชวงศ์หลายแห่งถูกปล้นไปในช่วงเวลานั้น[15] ตามรายงานในบันทึกปาปิรุสแห่งแอบบอต (Abbott Papyrus) ซึ่งระบุว่า: "สุสานพีระมิดของฟาโรห์ Si-Rêˁ In-ˁo (หรือ ฟาโรห์อินเตฟที่ 2) ซึ่งอยู่ทางเหนือของวังแห่งอเมนโฮทเปและลานหน้า ซึ่งมีพีระมิดทับอยู่ [ . . .]. ตรวจสอบวันนี้ ยังไม่บุบสลาย"[16] ยังไม่พบซากของพีระมิดนี้"[14] ตามประเพณีตามผู้ปกครองก่อนหน้า ฟาโรห์อินเตฟที่ 2 ได้สร้างจารึกบันทึกพระราชประวัติไว้ที่ทางเข้าหลุมฝังพระศพของพระองค์ ซึ่งบันทึกเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในรัชสมัยของพระองค์และระบุว่าพระองค์ครองเป็นเวลา 50 ปี[3][17] ในจารึกที่ตั้งอยู่หน้าหลุมฝังพระศพมีการกล่าวถึงสุนัขของฟาโรห์ และพบจารึกอีกชิ้นหนึ่งที่กล่าวถึงสุนัขชื่อว่า เบฮา แต่มันถูกพบอยู่ใกล้วิหารถวายเครื่องบูชา[13] อ้างอิง
|