Share to:

 

ฟาโรห์รุดอามุน

รุดอามุน เป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ยี่สิบสามแห่งอียิปต์ พระนามของพระองค์คือ อูเซอร์มาอัตเร เซเทปเอนอามุน, รุดอามุน เมิอามุน และทรงไม่มีพระนามตามที่พระราชบิดาและพระบรมเชษฐาธิราชว่า ซิ-เอเซ และเนทเจอร์-เฮกาวาเซต ตามลำดับ

พระราชประวัติ

พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กของฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 3 และเป็นพระอนุชาของฟาโรห์ทาเคลอตที่ 3 พระองค์เป็นฟาโรห์ที่ปรากฏหลักฐานยืนยันน้อยของราชวงศ์นี้ ตามที่เคนเนธ คิทเชน ผู้ที่เสนอว่าพระองค์ทรงครองราชย์อยู่เป็นระยะเวลาอันสั้น ประมาณสองถึงสามปี เนื่องจากปรากฏเอกสารร่วมสมัยไม่กี่ฉบับที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ รวมถึงงานตกแต่งเล็กน้อยในวิหารแห่งโอซิริส เฮกาดเจต บล็อกหินหลายก้อนจากเมดิเนต ฮาบู และแจกัน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการค้นพบชิ้นส่วนรูปปั้นเคลือบดินเผาสองชิ้นที่ปรากฏพระนาม รุดอามุน จากเฮอร์โมโพลิส[2] การค้นพบครั้งล่าสุดดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าฟาโรห์รุดอามุนทรงสามารถรักษาเอกภาพของราชอาณาจักรขนาดใหญ่ของพระราชบิดาในอียิปต์บนได้ ตั้งแต่เมืองเฮราคลีโอโพลิส มักนาไปจนถึงธีบส์เป็นอย่างน้อยในช่วงรัชสมัยสั้นๆ ของพระองค์

นักไอยคุปต์วิทยาบางคน เช่น เดวิด แอสตัน ได้โต้แย้งว่า ฟาโรห์รุดอามุนเป็นมีปรากฏหลักฐานในปีที่ 19 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์ไม่ทราบพระนาม ซึ่งค้นพบที่วาดิ กาซุสอย่างไรก็ตาม หลักฐานใหม่เกี่ยวกับภาพวาดที่วาด กาซุสที่ตีพิมพ์โดยคลอส เจอร์แมนในปี ค.ศ. 2006 ได้ตีพิมพ์ว่าเป็นภาพวาดในช่วงสมัยราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าของชาวนิวเบียทั้งหมด (แทนที่จะเป็นสมัยการปกครองของชาวลิเบีย) และแสดงให้เห็นว่าภาพวาดเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับอเมนอิร์ดิสที่ 1 และเชปเอนอูเพตที่ 2 โดยอ้างอิงจากการอ่านตัวอักษรโบราณ และหลักฐานอื่นๆ ที่คาร์นัก ซึ่งน่าจะไม่เกี่ยวข้องกับเชปเอนอูเพตที่ 1 ซึ่งมีเชื้อสายของชาวลิเบียและอเมนอิร์ดิสที่ 1 ซึ่งเป็นชาวนิวเบีย[3] เจอร์แมนได้ตั้งข้อสังเกตว่าไม่ปรากฏหลักฐานสำคัญจากวิหารแห่งโอซิริส เฮกาดเจต หรือที่คาร์นักที่แสดงภาพเชปเอนอูเพตที่ 1 ที่เกี่ยวข้องกับอเมนอิร์ดิสที่ 1 ซึ่งเป็นพระราชธิดาของฟาโรห์ปิเย[4] อีกข้อสังเกตหนึ่งที่ผู้ปกครองที่กล่าวถึงปีที่ 19 บนหลักฐานที่ค้นพบในวาดิ กาซุส คือ ฟาโรห์โชเชงค์ที่ 7 ซึ่งทรงเป็นผู้ปกครองคนที่ยังทราบข้อมูลเพียงเล็กน้อย ถูกเสนอโดย จี. โบรคแมน ในบันทึกระดับแม่น้ำไนล์หมายเลข 3 ซึ่งลงช่วงเวลาในปีที่ 5 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์จากธีบส์หลังรัชสมัยของฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 3[5] อย่างไรก็ตาม มีข้อกังขาอย่างมากในหมู่นักวิชาการว่า บันทึกระดับแม่น้ำไนล์หมายเลข 3 ปรากฏพระนามที่น่าจะเป็นพระนามโชเชงค์มากกว่าทาเคลอตหรือไม่ ฌอร์ฌ เลอแยง ผู้ซึ่งมีโอกาสศึกษาบันทึกระดับแม่น้ำไนล์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1898 เลอแยงก็ไม่ได้อ่านเป็นพระนามใด ๆ ในบันทึกดังกล่าว เนื่องจากหินได้สึกกร่อนไปมากแล้ว ก้อนหินอยู่ในสภาพที่แย่ยิ่งกว่าเดิมเมื่อฟ็อน เบ็คเคอราธได้ตรวจสอบในปี ค.ศ. 1953 และสันนิษฐานว่าร่องรอยที่หลงเหลืออยู่ในบันทึกระดับแม่น้ำไนล์หมายเลข 3 ไดอ้างถึงฟาโรห์โชเชงค์แทนที่จะเป็นฟาโรห์ทาเคลอต[6]

ไม่นานหลังจากฟาโรห์รุดอามุนเสด็จสวรรคต ราชอาณาจักรของพระองค์ก็แยกออกเป็นเขตปกครองเล็กๆ หลายแห่งอย่างรวดเร็วภายใต้การควบคุมของผู้ปกครองท้องถิ่นต่างๆ เช่น เพฟทจาอูบาสต์ที่เฮราคลีโอโพลิส มักนา, นิมลอตที่เฮอร์โมโพลิส และอินิที่ธีบส์ โดยเพฟทจาอูบาสต์ได้อภิเษกสมรสแต่งงานกับเจ้าหญิงอิร์บาสต์อูดจาเนฟู ซึ่งเป็นพระราชธิดาของฟาโรห์รุดอามุน ดังนั้นจึงเป็นพระชามาดาของฟาโรห์รุดอามุน[5] ไม่ทรายเกี่ยวกับสถานที่ฝังพระบรมศพสุดท้ายของพระองค์ ข้อมูลร่วมสมัยที่หลงเหลือจากรัชสมัยของพระองค์ชี้ให้เห็นว่าพระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลาสั้น ๆ

อ้างอิง

  1. Clayton, Peter A. Chronicle of the Pharaohs: The Reign-by-Reign Record of the Rulers and Dynasties of Ancient Egypt. Thames & Hudson. p.188. 2006. ISBN 0-500-28628-0
  2. Perdu, Olivier; "Le Roi Roudamon en personne!" ("King Rudamun in Person!"), RdE 53 (2002), pp.151-178.
  3. Claus Jurman, Die Namen des Rudjamun in der Kapelle des Osiris-Hekadjet. Bemerkungen der 3. Zwischenzeit un dem Wadi Gasus-Graffito, GM 210 (2006), pp.69-91
  4. Jurman, GM 210, pp.68-91
  5. 5.0 5.1 Broekman, Gerard, "The Chronological Position of King Shoshenq Mentioned in Nile Level Record No. 3 on the Quay Wall of the Great Temple of Amun at Karnak", SAK 33 (2005)
  6. http://disc.server.com/discussion.cgi?disc=177754;article=4534;title=The%20Ancient%20Near%20Eastern%20Chronology%20Forum เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Ancient Near Eastern Chronology Forum, accessed September 3, 2007

บรรณานุกรม

  • Kitchen, K.A.; The Third Intermediate Period in Egypt (1100–650 BC) 2nd edition( 1986), Warminster: Aris & Phillips Limited, p. 360.
  • Payraudeau, Frédéric; 'Le règne de Takélot III et les débuts de la domination Koushite,' ("The reign of Takelot III and the beginning of Kushite control") GM 198(2004), pp. 79–90.[1]
  • Perdu, Olivier; "Le Roi Roudamon en personne!" (King Rudamun in Person), RdE 53(2002), pp. 151–178
  • Olaf Kaper and Robert Demarée, "A Donation Stela in the Name of Takeloth III from Amheida, Dakhleh Oasis," JEOL (Jaarbericht Ex Oriente Lux) 39 [2005], pp. 19–37 [2]
Kembali kehalaman sebelumnya