ฟาโรห์เนบิไรรอที่หนึ่ง
เซวัดจ์เอนเร เนบอิร์อาว (หรือเรียกอย่างอื่นว่า เนบอิร์อาอูที่ 1, เนบอิร์เอราเวทที่ 1) เป็นฟาโรห์แห่งอาณาจักรอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สิบหก ซึ่งปกครองอยู่ที่เมืองธีบส์ในอียิปต์บนในสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่สอง รัชกาลในบันทึกพระนามแห่งตูริน ได้บันทึกไว้ว่าพระองค์ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 26 ปีและผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ก็ใช้พระนามว่า เนบอิร์อาวที่ 2 ซึ่งสันนิษฐานได้อาจจะเป็นพระราชโอรสของพระองค์[3] ตราประทับที่เป็นของพระองค์ ส่วนใหญ่ทำมาจากดินเหนียวหรือฟริต (วัตถุที่ใช้ทำเครื่องเคลือบหรือกระจก) มากกว่าทำจากหินสบู่ ซึ่งหมายความว่าไม่มีการทำเหมืองแร่ในทะเลทรายตะวันออกของอียิปต์ในรัชสมัยของพระองค์[4] มีการพบตราประทับของพระองค์สองชิ้นอยู่ที่ลิชต์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นดินแดนส่วนหนึ่งชองชาวฮิกซอส การค้นพบนี้อาจจะแสดงให้เห็นถึงการติดต่อทางการทูตระหว่างฟาโรห์ชาวธีบส์ในอียิปต์บนและฟาโรห์ชาวฮิกซอสในอียิปต์ล่างในรัชสมัยของพระองค์ แม้ว่าจะไม่แน่นอนก็ตาม[5] หลักฐานยืนยันนอกเหนือจากการกล่าวถึงในบันทึกพระนามแห่งตูรินและตราประทับดังกล่าวแล้ว ฟาโรห์เนบอิร์อาวที่ 1 ยังเป็นที่ทราบมาจากศิลานิติศาสตร์ ซึ่งเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่รู้จักกันดี ซึ่งลงช่วงเวลาย้อนไปถึงในช่วงปีที่ 1 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ไคโร (JE 52453)[6] นอกจากนี้ ในกรุงไคโร (JE 33702) ยังมีกริชทองแดงที่มีพระนามครองพระราชบัลลังก์ของพระองค์ ซึ่งค้นพบโดยฟลินเดอร์ส เพตรีในสุสานที่เมืองฮูในช่วงปลายทศวรรษที่ 1890[7][8] พระองค์ยังปรากฎพร้อมกับเทพีมาอัตบนจารึกศิลาขนาดเล็ก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของของสะสมอียิปต์โบราณตั้งอยู่ในกรุงบอนน์[9] พระนามครองพระราชบัลลังก์ของพระองค์ คือ เซวัดจ์เอนเร (พร้อมด้วยกับพระนามสร้อยว่า "เทพเจ้าที่ดี" และ "ผู้ล่วงลับ") ปรากฏบนฐานของรูปหล่อทองสัมฤทธิ์เทพเจ้าฮาร์โปเครติส ซึ่งขณะนี้อยู่ในพิพธภัณฑ์ไคโร (JE 38189) พร้อมด้วยพระนามอื่นอื่น ๆ อีกสองพระนาม คือ อาโมส และบินปุ เห็นได้ชัดว่าเป็นพระนามของเจ้าชายแห่งราชวงศ์ที่สิบเจ็ด ซึ่งจะมาแทนที่ราชวงศ์ที่สิบหกหลังจากนั้นไม่นาน รูปหล่อดังกล่าวยังกล่าวถึง "เทพเจ้าเนเฟอร์คาเร ผู้ล่วงลับไปแล้ว" ซึ่งโดยทั่วไปเชื่อกันว่าเป็นพระนามครองพระราชบัลลังก์ของพระราชโอรสและผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์นามว่า เนบอิร์อาวที่ 2 อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดว่ารูปหล่อนี้ไม่ใช่สิ่งที่สร้างขึ้นร่วมสมัย ณ เวลานั้น เนื่องจากลัทธิการูชาเทพฮาร์โปเครตีสเพิ่งมาได้รับความนิยมในช่วงสมัยปโตเลมี คือประมาณ 1,500 ปีหลังจากนั้นที่บุคคลที่ปรากฏพระนามบนรูปหล่อมีพระชนม์ชีพอยู่[10] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ฟาโรห์เนบิไรรอที่หนึ่ง |