ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2
คาเคเปอร์เร เซนุสเรตที่ 2 เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์ที่สี่จากราชวงศ์ที่สิบสอง ทรงปกครองตั้งแต่ 1897 ถึง 1878 ปีก่อนคริสตกาล พีระมิดของพระองค์ถูกสร้างขึ้นที่เอล-ลาฮูน พระองค์ทรงให้ความสนใจอย่างมากในภูมิภาคโอเอซิสแห่งไฟยุม และทรงริเริ่มการก่อสร้างเกี่ยวกับระบบชลประทานที่กว้างขวางตั้งแต่บาหร์ ยูสเซฟ ไปจนถึงทะเลสาบโมเอริส ผ่านการก่อสร้างกำแพงกั้นน้ำที่เอล-ลาฮูนและการเพิ่มเครือข่ายคลองระบายน้ำ จุดประสงค์ของแผนการก่อสร้างนี้คือเพื่อเพิ่มจำนวนพื้นที่ทำการเกษตรในพื้นที่นั้น[11] ความสำคัญของแผนการก่อสร้างนี้ได้เน้นย้ำการตัดสินใจของพระองค์ในการย้ายสุสานหลวงจากดาห์ชูร์ไปยังเอล-ลาฮูน ซึ่งพระองค์ได้ทรงโปรดให้สร้างพีระมิดของพระองค์ ตำแหน่งนี้จะยังคงเป็นเมืองหลวงทางการเมืองสำหรับราชวงศ์ที่สิบสองและสิบสามแห่งอียิปต์ และพระองค์ยังทรงตั้งเขตคนงานแห่งแรกขึ้นใกล้กับเมืองเซนุสเรตโฮเทป (คาฮูน)[12] ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 นั้นต่างจากผู้สืบพระราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ โดยยังคงรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับราชวงศ์หรือผู้ปกครองท้องถิ่นต่างๆ ของอียิปต์ ซึ่งเกือบจะมีความมั่งคั่งพอ ๆ กับฟาโรห์[13] ในปีที่ 6 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ได้ปรากฏบนภาพวาดฝาผนังจากหลุมฝังศพของผู้ปกครองท้องถิ่นนามว่า คนุมโฮเทปที่ 2 ที่เบนิ ฮาซาน รัชสมัยการสำเร็จราชการร่วมการมีผู้สำเร็จราชการร่วมเป็นประเด็นสำคัญสำหรับความเข้าใจของนักไอยคุปต์วิทยาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในช่วงสมัยราชอาณาจักรกลางและราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์[14][15] คลอดด์ ออบซอเมอร์ นักไอยคุปต์วิทยาชาวเบลเยียมได้ปฏิเสธความเป็นไปได้ของการการมีผู้สำเร็จราชการร่วมในราชวงศ์ที่สิบสอง[16] โรเบิร์ต ดี. เดเลีย นักเขียน[17] และคาร์ล ยานเซน-วินเคล์น นักไอยคุปต์วิยาชาวเยอรมัน[18] ได้ตรวจสอบงานเขียนของออบซอเมอร์ และได้ข้อสรุปเพื่อสนับสนุนการมีผู้สำเร็จราชการร่วม[19] โดยยานเซน-วินเคล์นได้อ้างจากจารึกที่พบในโคนอสโซว่าเป็นหลักฐานที่หักล้างไม่ได้สำหรับการสนับสนุนการสำเร็จราชการร่วมกันระหว่างฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 และฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 และโดยการขยายการยืนยันการสำเร็จราชการร่วมในช่วงราชวงศ์ที่สิบสอง[20] วิลเลียม เจ. เมอร์เนน นักไอยคุปต์วิทยาชาวอเมริกันได้กล่าวว่า "ระบบการปกครองร่วมของช่วงเวลานั้นล้วนทราบกันดีอยู่แล้ว...จากเอกสารที่ระบุสองช่วงรัชสมัย"[21] ชไนเดอร์ นักไอยคุปต์วิทยาชาวเยอรมันได้สรุปว่า เอกสารและหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบเมื่อเร็ว ๆ นี้เป็นข้อยืนยันอย่างชัดเจนของการสำเร็จราชการร่วมในช่วงเวลานั้น[22] แหล่งข้อมูลบางแห่งระบุถึงช่วงเวลาของการการสำเร็จราชการร่วมของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 โดยที่ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 พระราชบิดาของพระองค์เป็นผู้สำเร็จราชการร่วม ปีเตอร์ เคลย์ตัน นักไอยคุปต์วิทยาชาวอังกฤษ ได้ระบุว่า พระองค์ได้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมอย่างน้อยสามปี[23] นิโกลา กริมาล นักอียิปต์วิทยาชาวฝรั่งเศสได้ระบุว่า พระองค์ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมเป็นเวลาเกือบ 5 ปี ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์เพียงพระองค์เดียว[24] ระยะเวลารัชสมัยระยะเวลารัชสมัยของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 และฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 เป็นหนึ่งในข้อพิจารณาหลักในการแยกแยะลำดับเหตุการณ์ของราชวงศ์ที่สิบสอง[15] เชื่อกันว่า บันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินได้ระบุว่า ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ครองราชย์เป็นเวลา 19 ปี และฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 เป็นระยะเวลา 30 ปี[25] ข้อสันนิษฐานเดิมนี้ถูกโต้แย้งในปี ค.ศ. 1972 เมื่อวิลเลียม เคลลี ซิมป์สัน นักไอยคุปต์วิทยาชาวอเมริกันได้ตั้งข้อสังเกตว่า ปีรัชสมัยที่ปรากฏครั้งสุดท้ายของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 อยู่ที่ปีที่ 7 แห่งการครองราชย์ และในทำนองเดียวของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 อยู่ที่ปีที่ 19 แห่งการครองราชย์[25] คิม รีฮอล์ต ศาสตราจารย์ด้านไอยคุปต์วิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ได้เสนอความเห็นถึงความเป็นไปได้ที่พระนามในบันทึกพระนามแห่งตูรินจะถูกจัดเรียงผิดและเสนอระยะเวลารัชสมัยที่เป็นไปได้สองช่วงสำหรับฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 คือ มากกว่า 10 ปี หรือ 19 ปี[26] นักไอยคุปต์วิทยาหลายคน เช่น ธอมัส ชไนเดอร์ ได้อ้างถึงบทความของมาร์ค ซี. สโตน ซึ่งตีพิมพ์ใน ก็อทติงเงอ มิสเซลเลิน (Göttinger Miszellen) ในปี ค.ศ. 1997 เนื่องจากระบุว่าปีรัชสมัยสูงสุดของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 อยู่ที่ปีที่ 8 แห่งการครองราชย์ โดยอ้างอิงจากจารึก ไคโร เจอี 59485[27] นักวิชาการบางคนได้กำหนดให้พระองค์ครองราชย์เพียงระยะเวลา 10 ปี และให้ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 ครองราชย์เป็นระยะเวลา 19 ปีแทน อย่างไรก็ตาม นักไอยคุปต์วิทยาคนอื่น ๆ เช่น เยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราธ และแฟรงค์ เยอร์โก ยังคงเชื่อข้อสันนิษฐานเดิมที่ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ทรงครองราชย์ระยะเวลายาวนานกว่า 19 ปี และเมื่อพิจารณาจากจำนวนพระราชกรณียกิจที่ฟาโรห์ทรงดำเนินการในรัชสมัยของพระองค์[ต้องการอ้างอิง] เยอร์โกได้ตั้งข้อสังเกตว่า การลดจำนวนปีในรัชสมัยเหลือเพียง 6 ปี จะส่งผลทำให้เกิดปัญหา เนื่องจาก[28]:
ในปัจจุบัน ข้อถกเถียงเกี่ยวกับระยะเวลาในการครองราชย์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 นั้นไม่ยังไม่เป็นที่สรุปได้ แต่นักไอยคุปต์วิทยาหลายคนในปัจจุบันมักที่จะกำหนดให้พระองค์ครองราชย์อยู่ที่ 9 หรือ 10 ปีเท่านั้น เนื่องจากไม่มีระยะเวลาที่มากกว่าที่ยืนยันถึงพระองค์ที่ครองราชย์เกินปีที่ 8 แห่งการครองของพระองค์ ประเด็นนี้จะนำมาซึ่งการแก้ไขระยะเวลาการครองที่ระบุในบันทึกพระนามแห่งตูรินไว้ที่ 19 ปี ให้เป็น 9 ปีแทน อย่างไรก็ตาม วันและเดือนของการครองราชย์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 สามารถตรวจสอบได้ ตามคำกล่าวของเยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราท บันทึกจากวิหารในเอล-ลาฮูนที่เมืองพีระมิดแห่งเซซอสทริส/เซนุสเรตที่ 2 ได้กล่าวถึงเทศกาล "การเสด็จขึ้นสู่สวรรค์" ซึ่งอาจจะเป็นวันสวรรคตของพระองค์[29] บันทึกนี้ระบุว่าเทศกาลนี้เกิดขึ้นในเดือนเพเรตที่ 4 วันที่ 14[30][31][32] เหตุการณ์ภายในพระราชอาณาจักรโอเอซิสแห่งไฟยุม ซึ่งเป็นภูมิภาคหนึ่งในอียิปต์ตอนกลางมีมนุษย์อาศัยอยู่มานานกว่า 8,000 ปี[33] มันกลายเป็นศูนย์กลางสำคัญในอียิปต์ระหว่างช่วงสมัยราชอาณาจักรกลาง[33] ตลอดระยะเวลานั้น ผู้ปกครองดำเนินแผนพัฒนาเพื่อเปลี่ยนไฟยุมให้กลายเป็นศูนย์กลางเกษตรกรรม ศาสนา และสถานตากอากาศ โดยโอเอซิสตั้งอยู่ 80 กม. (50 ไมล์) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเมมฟิส มีพื้นที่ทำการเกษตร[24] มีศูนย์กลางอยู่ที่ทะเลสาบโมเอริส ซึ่งเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติ[33] ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ทรงได้ริเริ่มแผนพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของพื้นที่แอ่งน้ำเพื่อการล่าสัตว์และตกปลา ซึ่งเป็นแผนพัฒนาที่ดำเนินต่อโดยผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองค์และ "พัฒนาเสร็จสมบูรณ์" ในรัชสมัยของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ผู้เป็นพระราชนัดดาของพระองค์ เพื่อการเริ่มต้นแผนพัฒนานี้ขึ้น พระองค์ได้ทรงโปรดให้พัฒนาระบบชลประทานที่มีกำแพงกั้นน้ำและเครือข่ายของคลองที่ผันจากทะเลสาบโมเอริส[14][24] พื้นที่ที่ถูกเวนคืนในแผนพัฒนานี้ก็ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่ทางการเกษตร[34] ลัทธิบูชาเทพแห่งจระเข้โซเบคได้รุ่งเรืองในช่วงเวลานั้น[33] เหตุการณ์ภายนอกพระราชอาณาจักรรัชสมัยของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 เป็นช่วงเวลาเข้าสู่ยุคแห่งสันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง โดยไม่มีการบันทึกการเคลื่อนไหวกิจกรรมทางการทหารและมีการขยับขยายการค้าขายระหว่างอียิปต์กับดินแดนตะวันออกใกล้[35] ในช่วงเวลาเดียวกัน กลุ่มชาวเอเชียตะวันตกที่มาขอเข้าเฝ้าฟาโรห์พร้อมของกำนัลต่าง ๆ ก็ถูกบันทึกไว้ เช่นเดียวกับในภาพวาดบนหลุมฝังศพของคนุมโฮเทปที่ 2 ซึ่งมีชีวิตและทำงานในช่วงรัชสมัยฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 จากราชวงศ์ที่สิบสอง ซึ่งเป็นภาพของชาวต่างชาติ ซึ่งอาจจะเป็นชาวคานาอันหรือชาวเบดูอิน ถูกเรียกว่าเป็นชาวอามู (ꜥꜣmw) รวมถึงหัวหน้าคณะที่มีตัวเลียงผานิวเบียที่เรียกว่า อาบิชา ชาวฮิกซอส (𓋾𓈎𓈉 ḥḳꜣ-ḫꜣsw, เฮกา-คาซุต สำหรับ "ชาวฮิกซอส") ซึ่งเป็นหลักฐานชิ้นแรกที่มีการปรากฏของ "ฮิกซอส"[36][37][38][39] การสืบสันตติวงศ์ไม่พบหลักฐานที่เกี่ยวกับการสำเร็จราชการร่วมกันระหว่างฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 กับฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3[44] เมอร์เนนได้ชี้แจงว่า หลักฐานหลักที่มีอยู่เพียงชิ้นเดียวสำหรับฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 และ 3 คือตราประทับสคารับที่ปรากฏพระนามของของทั้งสองพระองค์[45] ความเกี่ยวข้องกันนี้สามารถอธิบายได้ว่า เป็นผลมาจากบันทึกเวลาย้อนหลัง ซึ่งปีสุดท้ายของรัชสมัยของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 อาจถูกรวมเข้ากับปีแรกแห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 ซึ่งจะได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานร่วมสมัยจากบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน ซึ่งทำให้ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 มีระยะเวลาในการปกครองครบ 19 ปีเต็มและจารึกบางส่วน[46]อุทิศเพื่อเฉลิมฉลองการเริ่มต้นพิธีกรรมที่เริ่มโดยฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 และ 3 และบันทึกปาปิรัสที่มีบันทึกในช่วงปีที่ 19 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 และปีแรกของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 นั้นมีหลักฐานเพียงเล็กน้อยและไม่จำเป็นว่าจำเป็นต้องมีการสำเร็จราชการร่วม[45] และเมอร์เนนโต้แย้งว่าหากมีการสำเร็จราชการร่วมจริง ก็จะมีระยะเวลาเพียงไม่เกินสองสามเดือน[45] หลักฐานจากบันทึกปาปิรัสในตอนนี้ได้ถูกหักล้างจากข้อเท็จจริงที่ว่าบันทึกดังกล่าวได้รับลงระยะเวลาในปีที่ 19 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 และปีที่ 1 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3[ต้องการอ้างอิง] ปัจจุบันยังไม่มีการค้นพบบันทึกจากรัชสมัยฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ในเอล-ลาฮูน ราชธานีใหม่ของพระองค์ สมบัติในสถานที่ฝังพระศพในปี ค.ศ. 1889 ฟลินเดอร์ส เพทรี นักไอยคุปต์วิทยาชาวอังกฤษ ได้ค้นพบ "ทองคำอันมหัศจรรย์และยูเรอุสประดับด้วยทองคำ" ซึ่งแต่เดิมนั้นจะต้องประกอบเป็นชิ้นส่วนของอุปกรณ์ฝังพระศพที่ถูกขโมยไปของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ในห้องที่มีน้ำท่วมขัง[47] ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ไคโร หลุมฝังพระศพของเจ้าหญิงซิตฮาธอร์ยูเนต พระราชธิดาในฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ก็ถูกค้นพบโดยนักไอยคุปต์วิทยาในพื้นที่ฝังพระศพที่แยกต่างหาก พบเครื่องประดับหลายชิ้นจากหลุมฝังพระศพของพระองค์ รวมทั้งสร้อยประดับพระอุระ และมงกุฏหรือรัดเกล้าที่นั่น ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโพลิแทนแห่งนิวยอร์กหรือพิพิธภัณฑ์ไคโรในอียิปต์ ในปี ค.ศ. 2009 นักโบราณคดีชาวอียิปต์ประกาศผลการขุดค้นครั้งใหม่นำโดยนักอียิปต์โบราณ อับดุล เราะห์มาน อัล-อาเยดี พวกเขาเล่าถึงการขุดพบมัมมี่ยุคฟาโรห์ในโลงไม้สีสดใสใกล้กับพีระมิดแห่งลาฮูน มีรายงานว่ามัมมี่กลุ่มแรกที่พบในทะเลทรายที่ปกคลุมไปด้วยทรายรอบๆ พีระมิด[48] พีระมิดพีระมิดถูกสร้างขึ้นรอบ ๆ โครงของแขนรัศมีหินปูน คล้ายกับพีระมิดของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 แทนที่จะใช้หิน โคลน และปูน กลับใช้อิฐโคลนเป็นโครงสร้างภายในก่อนที่จะหุ้มพีระมิดด้วยชั้นของหินปูน แผ่นไม้อัด หินที่หุ้มชั้นนอกถูกล็อคเข้าด้วยกันโดยใช้ส่วนเสริมประกบ ซึ่งบางส่วนยังคงอยู่ มีการขุดคูน้ำรอบแกนกลางซึ่งเต็มไปด้วยหินเพื่อทำหน้าที่คล้ายท่อน้ำแบบฝรั่งเศส การหุ้มหินปูนอยู่ในท่อระบายน้ำนี้ แสดงว่าฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ทรงกังวลเกี่ยวกับความเสียหายจากน้ำ มีมาสตาบาจำนวนแปดหลังและพีระมิดขนาดเล็กอีกหนึ่งหลังอยู่ทางเหนือของสถานที่ฝังพระศพฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 และทั้งหมดอยู่ภายในกำแพงล้อมรอบ ผนังถูกหุ้มด้วยหินปูนที่ตกแต่งด้วยช่องต่างๆ บางทีอาจทำตามแบบสถานที่ฝังพระศพของฟาโรห์ดโจเซอร์ที่ซัคคารา มาสตาบาเหล่านั้นถมทึบและไม่พบห้องใดเลยภายในหรือด้านล่าง ซึ่งบ่งชี้ว่าพวกมันเป็นอนุสาวรีย์และอาจเป็นสัญลักษณ์ในธรรมชาติ และเพทรีได้สำรวจพีระมิดเสริมและไม่พบห้องใด ๆ อีก ทางเข้าห้องใต้ดินอยู่ทางด้านใต้ของพีระมิด ซึ่งทำให้เพทรีสับสนเป็นเวลาหลายเดือนขณะที่เขามองหาทางเข้าทางด้านเหนือแบบดั้งเดิม หลังจากการก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว ปล่องทางเข้าแนวตั้งก็ถูกเติมเข้าไปแล้ว และห้องนี้ก็ถูกทำให้ดูเหมือนห้องฝังพระศพ ไม่ต้องสงสัยเลยว่านี่เป็นความพยายามที่จะโน้มน้าวให้พวกโจรปล้นสุสานไม่ต้องมองหาที่ไหนอีกแล้ว ปล่องทางเข้ารองนำไปสู่ห้องโค้งและปล่องหลุมลึก นี่อาจเป็นแง่มุมหนึ่งของลัทธิบูชาโอซิริส ถึงแม้ว่ามันอาจจะเป็นการหาแหล่งน้ำก็ตาม มีทางเดินไปทางเหนือ ผ่านห้องด้านข้างอีกห้องหนึ่งแล้วเลี้ยวไปทางทิศตะวันตก สิ่งนี้นำไปสู่ห้องโถงและห้องฝังพระศพที่มีหลังคาโค้ง โดยมีห้องข้างทางทิศใต้ ห้องฝังพระศพถูกล้อมรอบด้วยทางเดินที่ไม่ซ้ำกันซึ่งอาจอ้างอิงถึงการเกิดของโอซิริส พบโลงพระศพขนาดใหญ่ภายในห้องฝังพระศพ มันใหญ่กว่าทางเข้าและอุโมงค์ แสดงว่ามันถูกวางในตำแหน่งเมื่อสร้างห้องและด้านบนเปิดโล่งสู่ท้องฟ้า เปลือกหุ้มหินปูนด้านนอกพีระมิดได้ถูกนำออกไปโดยฟาโรห์รามเสสที่ 2 เพื่อที่ให้พระองค์สามารถนำหินกลับมาใช้ใหม่นั่นเอง และพระองค์ได้ทรงทิ้งจารึกที่ทรงสั่งให้ทำไว้ หมายเหตุอ้างอิง
แหล่งที่มา
บทความอื่น
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 |