Share to:

 

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติ17 พฤษภาคม พ.ศ. 2384
สิ้นพระชนม์20 มิถุนายน พ.ศ. 2449 (65 ปี)
พระบุตร25 องค์
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลวรรัตน์
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาเกต

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ (17 พฤษภาคม พ.ศ. 2384 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2449) มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรัตน์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 12 ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเกต ขณะประสูติ พระบิดายังไม่ได้บวรราชาภิเษก ในราชสำนักนิยมออกพระนามว่า พระองค์โตใหญ่ ทรงได้รับสถาปนาเป็น กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ ในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ 2424

พระองค์เป็นต้นราชสกุล “วรรัตน์” มีพระโอรสและพระธิดา ดังนี้

  1. หม่อมเจ้าสุวรรณ วรรัตน์ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2446 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2446)
  2. หม่อมเจ้ากันแสง วรรัตน์ (พระราชทานเพลิง ณ วัดเสด็จ พ.ศ. 2446)
  3. หม่อมเจ้าขจรประวัติวงศ์ วรรัตน์ (ประสูติ พ.ศ. 2410 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2462 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 39 มกราคม พ.ศ. 2471)
  4. หม่อมเจ้าหญิงเจิม วรรัตน์ (ประสูติ พ.ศ. 2411 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2472)
  5. หม่อมเจ้าเปลื้อง วรรัตน์ (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2446)
  6. หม่อมเจ้าฟุ้ง วรรัตน์ (พระราชทานเพลิง ณ วัดสังเวชวิศยาราม เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2470)
  7. หม่อมเจ้าเนื่อง วรรัตน์ (ประสูติเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2415 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2472 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2474)
  8. หม่อมเจ้าเฟื่อง วรรัตน์ (ประสูติ พ.ศ. 2419)
  9. หม่อมเจ้าหญิงวิไลยลักษณ์ วรรัตน์ หรือ หม่อมเจ้าหญิงโฉมวิไลลักษณ์ วรรัตน์ (ประสูติ พ.ศ. 2419 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2455 พระราชทานเพลิง ณ วัดสังเวชวิศยาราม)
  10. หม่อมเจ้าขาว วรรัตน์ (ประสูติ พ.ศ. 2419)
  11. หม่อมเจ้าหญิงสร้อย วรรัตน์ บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าหญิงพวงสร้อยเพชร (ประสูติ พ.ศ. 2421 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2456)
  12. หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม (ประสูติ พ.ศ. 2423)
  13. หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม (ประสูติ พ.ศ. 2423)
  14. หม่อมเจ้าจันทร์ วรรัตน์ บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าแสงจันทร์ (ประสูติ พ.ศ. 2429)
  15. หม่อมเจ้าอำไพพรรณ วรรัตน์ (ประสูติ พ.ศ. 2430)
  16. หม่อมเจ้าหญิงรัษฐา วรรัตน์ (ประสูติ พ.ศ. 2430)
  17. หม่อมเจ้าหญิงวรพันธุ์ วรรัตน์ บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าหญิงวรพันธุ์ศรีรัตนา (ประสูติ พ.ศ. 2432)
  18. หม่อมเจ้าหญิงฉัตรมณี วรรัตน์ (ประสูติ พ.ศ. 2434 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2470 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2471)
  19. หม่อมเจ้าหญิงขำ วรรัตน์ (ประสูติ พ.ศ. 2435)
  20. หม่อมเจ้าหญิงบัวพันธ์ วรรัตน์
  21. หม่อมเจ้าหญิงเริ่ม วรรัตน์
  22. หม่อมเจ้าวร วรรัตน์ บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าศักดิ์บวร บางแห่งก็ว่าชื่อหม่อมเจ้าบวรศักดิ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2440)
  23. หม่อมเจ้าสุบิน วรรัตน์
  24. หม่อมเจ้าอัมพร วรรัตน์
  25. หม่อมเจ้าหญิงวงศ์ วรรัตน์ บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าหญิงรัตนวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย 28 มี.ค. 2444 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2446)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมโยธาธิการจัดสร้างตำหนักพระราชทานแก่ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ ซึ่งเป็นพระบรมวงษานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายพระราชวังบวร ที่วังเดิม ณ ตำบลหลัง ถนนราชดำเนินกลาง เข้ามาทางริมคลองวัดบุญศิริ แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2445 ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพิธีเสด็จขึ้นตำหนักใหม่ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445 เป็นศุภฤกษ์ และในเวลาค่ำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปปรับทับ ณ ตำหนักใหม่ พระราชทานน้ำสังข์ และทรงเจิมพระราชทานพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์[1]

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ สิ้นพระชนม์ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2449 สิริพระชันษา 65 ปี นับเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีพระชันษาสูงที่สุด ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานนำหลวงสรงพระศพ ทรงสวมพระชฎาพระราชทานตามพระเกียรติยศแล้ว เจ้าพนักงานได้เชิญพระลองขึ้นประดิษฐานบนแว่นฟ้า 2 ชั้น ประกอบพระโกศไม้สิบสอง มีเครื่องสูง 3 ชั้น แวดล้อมตามพระเกียรติยศ[2] และเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพระศพ ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450 พร้อมกับพระศพพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหารโดยภายหลังมีคนที่ชื่อว่า ก้องเกียรติ วรรัตน์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. การขึ้นตำหนักใหม่ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2445/037/725_1.PDF
  2. ข่าวสิ้นพระชนม์ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2449/014/270.PDF
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์
  4. "บัญชีพระราชทานเครื่องราชอิศริยยศ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-08-21.
  5. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-12-15.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-10. สืบค้นเมื่อ 2020-10-06.
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya