Share to:

 

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมขุนนรานุชิต

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมขุนนรานุชิต
กรมขุนนรานุชิต
ประสูติ29 เมษายน พ.ศ. 2332
สิ้นพระชนม์17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2409
พระชันษา 77 ปี
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลสังขทัต
พระบิดาสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
พระมารดาเจ้าจอมมารดาฉิม

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมขุนนรานุชิต[1] (29 เมษายน พ.ศ. 2332 — 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2409) มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าสังกะทัต เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาฉิม

พระประวัติ

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมขุนนรานุชิต ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 6 ขึ้น 6 ค่ำ ปีระกา เอกศก จ.ศ. 1151 ตรงกับวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2332 ในรัชกาลที่ 3 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นนรานุชิต ถึงรัชกาลที่ 4 เลื่อนเป็นพระเจ้าราชวงศ์เธอ กรมขุนนรานุชิต สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 3 ขึ้น 13 ค่ำ ปีขาล อัฐศก จ.ศ. 1228 ตรงกับวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2409 พระชันษา 77 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2409

พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุลสังขทัต[2] มีพระโอรสและพระธิดา คือ

1.หม่อมเจ้าใหญ่ สังกะทัต (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2356)

2.หม่อมเจ้าหญิงเกษร สังขทัต

3.หม่อมเจ้าหญิงอำพร สังขทัต

4.หม่อมเจ้าหญิงประไพ สังขทัต

5.หม่อมเจ้าหญิงงิ้ว สังขทัต

6.หม่อมเจ้าหญิงนารี สังขทัต (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2377 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2419 สิริชนมายุ 53 ปี)

7.หม่อมเจ้าหญิงสุหร่าย สังขทัต (พระราชทานเพลิงเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2386)

8.หม่อมเจ้าอลงกรณ์ สังขทัต (พระราชทานเพลิง ณ วัดดุสิตาราม พ.ศ. 2408)

9.หม่อมเจ้าหญิงแช่มช้อย สังขทัต (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2395 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2428 สิริชนมายุ 34 ปี)

10.หม่อมเจ้าเผือก สังขทัต (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2402 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2457 สิริชนมายุ ปี)

พระกรณียกิจ

พระกรณีกิจของกรมขุนนรานุชิต มีปรากฏในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่อง "การประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการถวายชัยมงคล" ตอนหนึ่งว่า[3]

"เมื่อเฉลิมพระชนมพรรษาใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีชวด ฉศก ๑๒๒๖ นั้น เสด็จพระราชดำเนินออกบนพระที่นั่งเศวตฉัตร พระที่นั่งอนันตสมาคม อย่างแขกเมืองใหญ่ ฝ่ายพระบรมวงศานุวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนนรานุชิตเป็นผู้ทรงอ่านคำถวายชัยมงคล"

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสังกะทัต กรมขุนนรานุชิต ทรงมีส่วนร่วมในกองทัพของวังหน้าเพื่อต้านกบฏเจ้าอนุวงศ์ โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพพระราชบัณฑูรให้ พระองค์เจ้าสังกะทัต(พระองค์เจ้าสังข์ถัด) เป็นนายกองทัพปีกซ้าย[4]

อ้างอิง

  1. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 110. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2015-05-23.
  2. กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ วังหน้า-วังหลัง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2549. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-204-4
  3. "ตอนที่ 31 ?ถวายพระพร-ถวายชัยมงคล? - สถาพรบุ๊คส์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-23.
  4. "บันทึกลับ เจ้าพระยาบดินทร์เดชาฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-19. สืบค้นเมื่อ 2019-04-19.
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya