Share to:

 

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา

พระราชวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา
พระราชวรวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นโท
เลขานุการหอพระสมุดวชิรญาณ
ประสูติ25 กันยายน พ.ศ. 2414
สิ้นพระชนม์18 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 (55 ปี)
พระบุตร7 พระองค์
ราชสกุลกัลยาณวงศ์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
พระมารดาจอมมารดาเลี่ยมใหญ่

มหาอำมาตย์ตรี พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา (25 กันยายน พ.ศ. 2414 - 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2470)[1] เป็นพระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญกับจอมมารดาเลี่ยมใหญ่

พระกรณียกิจ

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา มีพระนามเดิมว่า พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณประวัติ ทรงรับราชการในรัชกาลที่ 5 ทรงเข้ารับราชการในกรมยุทธนาธิการ ตำแหน่งเสมียนฝึกหัด จนได้เลื่อนเป็นนายร้อยเอก ต่อมาในปี พ.ศ. 2435 ย้ายมารับราชการในกระทรวงมหาดไทย เป็นพนักงานหนังสือลับ[2] จากนั้นในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2444 โปรดเกล้าฯ ให้เป็น ปลัดบัญชี กระทรวงมหาดไทย[3] และได้เป็น ข้าหลวงตรวจการกรมสรรพากรนอก เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2451 ต่อมาได้เลื่อนเป็นเจ้ากรมมหาดไทย ในรัชกาลที่ 6 เป็นเลขานุการหอพระสมุดวชิรญาณ ถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 โปรดให้สถาปนาเป็น พระราชวรวงษ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา ทรงศักดินา 11000[4] ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรี[5] และทรงพระราชทานยศนายกองตรีเสือป่า

สิ้นพระชนม์

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา ประชวรพระวาโย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 เวลา 23:30 น. พระชันษา 56 ปี วันต่อมาเวลา 16:30 น. เจ้าพนักงานสรงพระศพ แล้วเชิญพระศพลงพระหีบลอง ตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดส้มเกลี้ยง[6]

วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 เวลา 17:30 น. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานเพลิงพระศพพร้อมกับพระศพพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิไลยวรวิลาส ณ พระเมรุ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เช้าวันต่อมาพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เสด็จมาบำเพ็ญกุศลสามหาบ แล้วเจ้าพนักงานเชิญพระอัฐิไปประดิษฐานในพระอุโบสถวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร[1] เป็นต้นราชสกุลกัลยาณะวงศ์

พระโอรสธิดา

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา เป็นต้นราชสกุลกัลยาณวงศ์ มีหม่อมหลายคน เช่น หม่อมผิน หม่อมช้อย มีพระโอรสธิดา 7 องค์[7] ดังนี้

  1. หม่อมเจ้าปรีชา กัลยาณวงศ์ ประสูติแต่หม่อมผิน มีโอรส คือ หม่อมราชวงศ์จุลปรีชา กัลยาณวงศ์
  2. หม่อมเจ้าวรพุฒิพิไลย กัลยาณวงศ์ (12 มิถุนายน พ.ศ. 2461 – 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539) ประสูติแต่หม่อมผิน เสกสมรสกับหม่อมสมถวิล กัลยาณวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม พงษ์สุวรรณ) มีโอรสธิดา 11 คน
    1. หม่อมราชวงศ์ลัดดาวัลย์ นามอำนาจ
    2. หม่อมราชวงศ์ทรงศรี ราชพิตร
    3. หม่อมราชวงศ์เรวดี สงวนศิษย์
    4. หม่อมราชวงศ์พิไลยวรรณ กัลยาณวงศ์
    5. หม่อมราชวงศ์วรพจน์ กัลยาณวงศ์
    6. หม่อมราชวงศ์ศิริพิไลย กัลยาณวงศ์
    7. หม่อมราชวงศ์วรพงษ์ กัลยาณวงศ์
    8. หม่อมราชวงศ์นิวัติ กัลยาณวงศ์
    9. หม่อมราชวงศ์วราภรณ์ กัลยาณวงศ์
    10. หม่อมราชวงศ์พิพัฒน์ กัลยาณวงศ์
    11. หม่อมราชวงศ์วีรพงษ์ กัลยาณวงศ์
  3. หม่อมเจ้าอำไพพิลาศ กัลยาณวงศ์ (? – ก่อน พ.ศ. 2540) ประสูติแต่หม่อมผิน
  4. หม่อมเจ้าพิศวาสกวี กัลยาณวงศ์ (27 ตุลาคม พ.ศ. 2464 – พ.ศ. 2553) ประสูติแต่หม่อมผิน
  5. หม่อมเจ้าพงศ์กวี สีขาว (22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – ก่อน พ.ศ. 2540) ประสูติแต่หม่อมผิน
  6. หม่อมเจ้ากัลยาณบุตร กัลยาณวงศ์
  7. หม่อมเจ้าชาย ไม่ปรากฏพระนาม (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2456 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2457)

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณประวัติ (25 กันยายน พ.ศ. 2414 - 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454)
  • พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณประวัติ (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456)
  • พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 - ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ตำแหน่ง

  • 13 เมษายน พ.ศ. 2444 ปลัดบัญชีกระทรวงมหาดไทย
  • 15 สิงหาคม พ.ศ. 2451 ข้าหลวงตรวจการกรมสรรพากรนอก[13]
  • 29 พฤศจิกายน 2459 – เลขานุการวรรณคดีสโมสร[14]

พระยศ

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกระทรวงกลาโหม
กองเสือป่า
ชั้นยศ ร้อยเอก
นายกองตรี

พระยศพลเรือน

  • 20 มิถุนายน พ.ศ. 2459 - อำมาตย์เอก[15]
  • 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 - มหาอำมาตย์ตรี[16]

พระยศทหาร

  • นายร้อยตรี[17]
  • นายร้อยเอก[18]

พระยศเสือป่า

  • 8 ธันวาคม พ.ศ. 2460 - นายกองตรี[19]

พงศาวลี

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 "หมายกำหนดการ ที่ 3/2473 พระราชทานเพลิงพระศพและศพ ที่เมรุวัดเบญจมบพิตดุสิตวนาราม พุทธศักราช 2473" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47 (0 ง): 553–554. 18 พฤษภาคม 2473. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ตำแหน่งข้าราชการในกระทรวงมหาดไทย
  3. พระราชทานสัญญาบัตร์ตำแหน่งหน้าที่ราชการ
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้า และตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (ก): 337–339. 11 พฤศจิกายน 2456. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/114.PDF
  6. "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (ง): 625–627. 29 พฤษภาคม 2470. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี, หน้า 271
  8. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๖๕, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๕๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖๑, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๗๕๗, ๒๗ กันยายน ๑๒๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๖๗, ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๙
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๕๐, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๕๖
  13. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  14. แจ้งความวรรณคดีสโมสร
  15. พระราชทานยศ
  16. พระราชทานยศ (หน้า ๒๓๓๓)
  17. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  18. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/A/329.PDF
  19. พระราชทานยศเสือป่า
บรรณานุกรม
  • ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า 271. ISBN 974-221-818-8
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 139-140. ISBN 978-974-417-594-6
Kembali kehalaman sebelumnya